Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,787
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,467
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,820
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,357
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,515
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,380
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,626
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,450
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,687
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,387
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,903
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,218
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,632
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
17/01/2553 15:10 น. , อ่าน 7,087 ครั้ง
Bookmark and Share
การตั้งค่าชุดควบคุมคาปาซิเตอร์แบบเชิงเส้น (Linear) และแบบเชิงเส้น (Circular)
โดย : Admin

  การตั้งค่าชุดควบคุมคาปาซิเตอร์
แบบเชิงเส้น (Linear) และแบบเชิงเส้น (Circular)


               การตั้งค่าลำดับการทำงาน (Sequence) ในการตัดต่อคาปาซิเตอร์แบ่งออก 2 ประเภทหลักๆ คือ

                1. แบบเชิงเส้น (Linear)
                    คือ การที่ชุดควบคุมคาปาซิเตอร์ (PF Controlller) จะเริ่มสั่งงานให้ต่อคาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่ 1 ก่อนเสมอ ถ้าค่า PF
                 ยังไม่พอจะสั่งต่อตำแหน่งที่ 2,3,4 ไปเรื่อยๆจนมีค่า PF ดีพอ ในกรณีมีค่า PF เกินหรือสูงเกินความต้องการจะสั่งปลด
                 คาปาซิเตอร์ตำแหน่งสุดท้ายออกก่อนเสมอ ถ้าค่า PF ยังสูงเกินอยู่ก็จะปลดตำแหน่งถัดมา 4,3,2,1 เรียงกันอย่างนี้

             


ตัวอย่างคาปาซิเตอร์แบงค์ขนาด 6 x 50 kvar
ค่า PF
คาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่
รวมโหลด
Kvar
1
2
3
4
5
6
ต่ำ
/
 
       
50
ต่ำ
/
/
       
100
ต่ำ
/
/
/
     
150
ต่ำ
/
/
/
/
   
200
เกิน
/
/
/
     
150
เกิน
/
/
       
100
เกิน
/
         
50
การตั้งค่าชุดควบคุมแบบเชิงเส้น (Linear)หรือ Last-in,First-out
            
                 2. แบบวนรอบ (Circular)
                     การตั้งค่าแบบนี้ชุดควบคุมคาปาซิตอร์ไม่จำเป็นต้องเริ่มสั่งงานในตำแหน่งที่ 1 เสมอไป ตัวอย่างเช่น  อาจเริ่มทำงาน
                  จากตำแหน่งที่ 5 ก่อน ถ้า PF ยังไม่พอที่สั่งต่อตำแหน่งถัดมาคือ ตำแหน่งที่ 6,1,2 ไปเรื่อยๆ จนมีค่า PF ดีพอ ในกรณี
                  ที่ค่า PF เกินความต้องการจะสั่งปลดคาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่เริ่มทำงานก่อนหรือตำแหน่งที่ทำงานมาแล้วนานที่สุดก่อน
                  หรือตำแหน่งที่ทำงานมาแล้วนานที่สุดก่อนคือ ตำแหน่งที่ 5 ถ้าค่า PF ยังสูงเกินอยู่ก็จะปลดตำแหน่งถัดมาคือ 6,1,2 วน
                  รอบกันอย่างนี้

ตัวอย่างคาปาซิเตอร์แบงค์ขนาด 6 x 50 kvar
ค่า PF
คาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่
รวมโหลด
Kvar
1
2
3
4
5
6
ต่ำ
 
 
   
/
 
50
ต่ำ
 
 
   
/
/
100
ต่ำ
/
 
 
 
/
/
150
ต่ำ
/
/
 
 
/
/
200
เกิน
/
/
 
 
 
/
150
เกิน
/
/
       
100
เกิน
 
/
       
50
การตั้งค่าชุดควบคุมแบบเชิงเส้น (Circular)หรือ First-in,First-out

                      ในแง่ของการปฏิบัติงานและซ่อมบำรุงข้อดีของการตั้งค่าลำดับการทำงานแบบวนรอบ  (Circular)  จะดีกว่าแบบ
                    เชิงเส้น (Linear) คือทำให้ภาวะการทำงานของคาปาซิเตอร์ ทุกตำแหน่งกระจายอย่างทั่วถึง      โดยไม่จำกัดอยู่ที่
                    ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะทำให้อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์ทุกๆตัวสูงขึ้น และยังสามารถช่วยลด
                    เวลาในการตัดต่อคาปาซิเตอร์ เนื่องจากคาปาซิเตอร์ตัวที่เพิ่งถูกปลดออกจะไมาสามารถต่อเข้ามาได้ทันทีเพราะ
                    ต้องรอการคายประจุก่อน (Discharge)


                       อย่างไรก็ตามการตั้งลำดับการทำงานแบบเชิงเส้นก้ยังมีข้อดีที่ว่า การออกแบบจะประหยัดขนาดอุปกรณ์ตัดต่อใน
                    ตำแหน่งแรกๆลงได้ ตัวอย่างเช่นการออกแบบคอนแทคเตอร์ในสเตปแรกๆ กระแส Inrush สูงๆ จะต้องเลือกขนาด
                    ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งต่างกับลำดับการทำงานแบบวนรอบ    ซึ่งต้องเลือกขนาดอุปกรณ์ให้มีขนาดใหญ่เท่ากันหมด
                    เพราะคาปาซิเตอร์ทุกตำแหน่งมีโอกาสตัดต่อตัวท้ายๆ ที่กระแส Inrush สงด้วยกันทุกตัว


  เอกสารอ้างอิง
               วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol 9 / Jan - March 2002 ; ABB LIMITED

             (ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer  คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่)

========================================================