Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,988
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,511
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,362
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,590
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,132
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,523
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,624
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,446
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,800
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,480
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,304
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,216
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
08/01/2553 09:48 น. , อ่าน 22,373 ครั้ง
Bookmark and Share
ความรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
โดย : Admin

ที่มา: http://maemoh.egat.com



 

 

 

โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง ด้วยการแปรสภาพพลังงานสะสมของถ่านลิกไนต์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้น้ำเป็นตัวกลาง
กระบวนการแปรสภาพพลังงานดังกล่าว มีขั้นตอนดังนี้
1.       เปลี่ยนพลังงานสะสมในถ่านลิกไนต์ให้เป็นพลังงานความร้อน โดยการเผาใหม้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการสันดาป (Combustion or Oxidation)
2.       พลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ถูกส่งผ่านไปให้กับน้ำทำให้น้ำกลายเป็นไปน้ำ อุณหภูมิและความดันสูง
3.       เปลี่ยนพลังงานความร้อนของไอน้ำให้เป็นพลังงานกล โดยใช้ไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำ
4.       เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยให้กังหันไอน้ำไปหมุุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นการสิ้นสุดขั้นตอนการแปรสภาพพลังงาน
 
การทำงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
การทำงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทั่วไป โดยใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง อุปกรณ์ของโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย
·         เครื่องอุ่นอากาศ(Air Heater) เป็นอุปกรณ์เพิ่มอุณหภูมิแก่อากาศก่อนที่จะเข้าไปช่วยในการเผาไหม้เชื้อเพลิง เครื่องอุ่นอากาศนี้ทำงานโดยรับความร้อนจากก๊าซร้อนที่ออกจากหม้อน้ำ และถ่ายความร้อนดังกล่าวให้กับอากาศ
·         แผงท่อรับความร้อน(Economizer) คือแผงท่อน้ำซึ่งทำให้น้ำที่เข้าไปในหม้อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง แผงนี้จะติดตั้งอยู่บริเวณช่วงสุดท้ายก่อนที่ก๊าซร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้จะออกจากตัวหม้อน้ำ เพื่อรับความร้อนจากก๊าซร้อนและถ่ายเทให้แก่น้ำที่เข้าหม้อน้ำ
·         เครื่องแยกไอน้ำ( Boiler Drum) ลักษณะเป็นเหล็กหนารูปแคปซูลที่สามารถทนความดันและอุณหภูมิสูง ภายในเครื่องแยกไอน้ำมีอุปกรณ์ Cyclone Separator และ Steam Scrubber ทำหน้าที่แยกไอน้ำออกจากน้ำ โดยอาศัยหลักของแรงหนีศูนย์กลางและการเปลี่ยนทิศทางการไหล

·         หม้อน้ำ(Boiler) คือตัวเตาซึ่งมีท่อเหล็กทนต่อความดันและอุณหภูมิสูงประกอบกันเป็นผนัง 4 ด้านของเตา ภายในท่อเหล่านจะมีน้ำไหลวนอยู่ ส่วนบนของตัวเตามีแผงท่อไอน้ำแขวนลอย เป็นท่อรับไอน้ำที่ออกจากเครื่องแยกไอน้ำ(Boiler Steam Drum) มารับความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงอีกครั้งเพื่อเพิ่มอุณหภูมิแก่ไอน้ำให้สูงขึ้นและส่งไอน้ำอุณหภูมิสูงนี้ออกจากหม้อน้ำไปยังท่อนำไอน้ำเพื่อไปหมุนเครื่องกังหันไอน้ำ

การทำงานของระบบหม้อน้ำ
ขั้นแรก น้ำบริสุทธิ์ปราศจากแร่ธาตุ (Demineralizer Water) จะถูกสูบเข้าไปสู่หม้อน้ำในระดับที่เหมาะสม จากนั้นจะจุดเชื้อเพลิงภายในเตา ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงส่งผ่านไปยังน้ำในท่อผนังเตา ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นและเกิดการไหลเวียน น้ำที่มีอุณหภูมิสูงจนกลายเป็นไอน้ำและมีความดันสูงขึ้น จะไหลเข้าสู่เครื่องแยกไอน้ำเพื่อแยกไอน้ำออก ไอน้ำจะไหลเข้าสู่แผงท่อไอน้ำเพื่อรับความร้อนจากก๊าซร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงอีกครั้งหนึ่ง จนมีอุณหภูมิสูงขึ้นพอเหมาะที่จะไหลออกจากหม้อน้ำ ผ่านไปยังท่อนำไอน้ำเพื่อไปหมุนเครื่องกังหันไอน้ำต่อไป
 
การทำงานของเครื่องกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)
เครื่องกังหันไอน้ำ ใช้เปลี่ยนพลังงานความร้อนของไอน้ำให้เป็นพลังงานกล มีส่วนประกอบสำคัญคือ ระบบควบคุม (Governor System) เพลาหมุนและใบพัด (Roter & Moving Blade) ตัวถังและใบพัด ( Casing & Stationary Blade) และเครื่องควบแน่น(Condenser)
ไอน้ำอุณหภูมิและความดันสูงจากท่อนำไอน้ำจะไหลผ่านวาล์วของระบบควบคุม (Governing Control System)ซึ่งจะควบคุมการไหลของไอน้ำให้อยู่ในภาวะที่ต้องการเข้าสู่เครื่องกังหันไอน้ำ ซึ่งประกอบด้วยตัวถังมีเพลาหมุนและใบพัดติดตั้งอยู่ภายใน เมื่อไอน้ำไหลเข้าไปในตัวกังหัน ความดันของไอน้ำจะลดลงและเกิดการขยายตัวทำให้ปริมาตรของไอน้ำเพิ่มขึ้น มีผลให้ความเร็วในการไหลของไอน้ำสูงขึ้น เมื่อไอน้ำความเร็วสูงนี้ไปปะทะกับใบพัด (Moving Blade) จำนวนหลายชุดที่ติดอยู่กับเพลา ก็จะผลักดันให้เพลาของกังหันหมุนก่อกำเนิดพลังงานกล
เมื่อไอน้ำผ่านชุดของใบพัดจนครบ ความดันและอุณหภูมิจะลดลง ไอน้ำจะไหลออกจากกังหัน เข้าสู่เครื่องควบแน่นซึ่งมีท่อโลหะสอดขวางอยู่เป็นจำนวนมากภาย ในท่อมีน้ำเพื่อใช้ระบายความร้อนไหลอยู่ เมื่อไอน้ำไหลเข้าสู่เครื่องควบแน่นไอน้ำจะถ่ายเทความร้อนให้น้ำไนท่อ ส่วนตัวไอน้ำเองจะควบแน่นและเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง และถูกสูบวนกลับเข้าหม้อน้ำอีก
การทำงานของระบบกังหันที่กล่าวมานี้เป็นเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น ในการทำงานจริงจะมีระบบอื่น ๆ เสริม เช่น เครื่องอุ่นน้ำ ปั๊มน้ำมันความดันสูง เครื่องดูดอากาศ เป็นต้น เพือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินระบบเครื่องกังหันไอน้ำ


เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าติดตั้งอยู่ในแนวระดบเดียวกับเครื่องกังหันไอน้ำ โดยเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต่อโดยตรงเข้ากับเพลาของเครื่องกังหันไอน้ำ เมื่อเพลาเครื่องกังหันไอน้ำหมุนก็จะทำให้เพลาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนไปด้วย ที่เพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีตัวนำพันอยู่กับแกนเหล็ก ไฟฟ้ากระแสดตรงจะถูกจ่ายห้กับตัวนำนี้ ดังนั้นจะเกิดสนามแม่เมหล็กขึ้นที่เพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุุน สนามแม่เหล็กก็หมุนไปด้วย สนามแม่เหล็กนี้จะเหใุนไปตัดกับตัวนำอีกชุดหนึ่งซึ่งพันอยู่กับแกนเหล็กที่ติดอยู่รอบตัวถังของเครื่องกำเนิกไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำและเกิดกระแสไฟ้าไหลในตัวนำที่ติดอยู่กับตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ กระสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะส่งเข้าไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันสูงเพื่อจ่ายใ้ห้กับสายส่งแรงสูงต่อไป
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ายังประกอบด้วยระบบอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ระบบระบายความร้อน ระบบควบคุม ฯลฯ


ขั้นตอนการใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง
ถ่านลิกไนต์ที่ขุดจากเหมืองแม่เมาะ ถูกส่งเข้ามาบดในเครื่องย่อยถ่านชุดแรกและผ่านออกมาในขนาดไม่โตกว่า 30 ลบ.ซม. จากนั้นจะใช้สายพานลำเลียงมากองไว้ยังบานกองย่อย ถ่านจากลานกองจะถูกส่งขึ้นมายังโรงย่อยถ่าน โดยมีระบบแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบตรวจสอบโลหะ เพื่อแยกโลหะไม่พึงประสงค์ออก ก่อนนจะผ่านไปยังเครื่องย่อยถ่านชุดที่สอง ซึ่งจะย่อยถ่านให้มีขนาดไม่โตกว่าา 3 ลบ.ซม. และส่งไปเก็บไว้ในยุ้งถ่าน (Coal Bunker) ในตัวโรงไฟฟ้าเพื่อเตรียมใช้งานต่อไป
ถ่านลิกไนต์ติดไฟค่อนข้างยาก ในช่วงแรกของการจุดเตาจึงต้องใช้ Light Oil จุดนำก่อน โดยใช้หัวฉีดน้ำมัน ฉีด Light Oil ให้กระจายเป็นฝอยเข้าไปในตัวเตาใช้ระบบจุดระเบิดโดยการ Sprak ของไฟฟ้าแรงสูง ทำให้ Light Oil ลุกไหม้ภายในเตา เมื่อการเผาไหม้ Light Oil อยู่ในสภาวะคงที่ (Stable) และอุณภูมิภายในเตาสูงพอ จึงจะเริ่มเผาถ่านลิกไนต์
ถ่านลิกไนต์จากยุ้งเก็บถ่านถูกป้อนเข้าโม่บดดดยเครื่องป้อนถ่าน (Coal Feeder) ซึ่งเป็นตัวควบคุมปริมาณถ่านที่จะเผา ในโม่บดถ่านจะมีลมร้อนจากเครื่องอุ่นอากาศเป่าเข้าไปในโม่ ถ่านจะถูกบดโดยมีลมร้อนเป็นตัวกวนให้การบดมีประสิทธิภาพดีและไล่ความชื้นออกจากถ่าน
ถ่านที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 75/1000 มิลลิเมตร และอุณภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ถูกลมร้อนพาขึ้นไปตามท่อส่งถ่านไปยังหัวฉีดถ่าน (Coal Burner) หัวฉีดถ่านจะทำหน้าที่ควบคุมให้ถ่านกระจายเข้าไปในเตาอย่างมีระเบียบ เมื่อผงถ่านปะทะกับ Light Oil ที่กำลังลุกไหม้และมีอุณภูมิสูง ผงถ่านจะติดไฟและเกิดการเผาไหม้ขึ้น ในช่วงนี้ก็จะหยุดใช้ Light Oil และใช้ถ่านเพียงอย่างเดียวได้
การเผาถ่านจะทำให้เกิดขึ้เถ้า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
·         ขี้เถ้าหนัก (Wet Ash) จะตกลงสู่ก้นเตาและถูกลำเลียงออกจากเตาโดยระบบสายพานเหล็ก (Scrapper Conveyor)
·         ขี้เถ้าเบา (Fly Ash or Dry Ash) จะปนไปกับก๊าซร้อน ปริมาณขี้เถ้าเบาที่เกิดขึ้นมีปริมาณร้อยละ 80-95 ของขี้เถ้าที่เกิดขึ้นทั้งหมด จึงต้องมีการติดตั้งเครื่องดักจับฝุ่นไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เพื่อแยกฝุ่นออกจากก๊าซร้อน ก่อนจะปล่อยก๊าซออกทางปล่องควัน

การทำงานของเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8-13
เครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue gas desulfurization) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า FGD นั้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แยกก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกจากก๊าซไอเสียที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกัมมะถันปนอยู่ในเชื้อเพลิง FGD ที่ใช้สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8-13 เป็น FGD ชนิดเปียก (Wet type FGD) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สูงถึง 92-95 % ใน FGD ระบบนี้จะใช้หินปูน (Calsium Carbonate, CaCO3) เป็นตัวดูดซับ (Absorbant) และจะได้ยิบซั่ม (Gypsum, CaSO4 2H2O) เป็นผลผลิต (By product)
เราสามารถอธิบายการทำงานของ FGD โรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8-13 ได้พอสังเขปโดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1.       ระบบเตรียมน้ำหินปูน(Slurry Preparation system)
หินปูนจะถูกส่งโดยรถบรรทุกมายังบริเวณ FGD หินปูนดังกล่าวจะถูกชั่งน้ำหนัก และลำเลียงเข้าไปเก็บไว้ในยุ้งเก็บหินปูน (Lime Stone Silo) หินปูนจากยุ้งเก็บจะถูกป้อนเข้าสู่โม่บดหินปูน ผ่านทางสายพาน (Lime Stone Feeder) หินปูนจะถูกบดผสมกับน้ำด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมภายในโม่บดหินปูนจนเป็นของเหลว และไหลลงสู่ถังพัก (Mill recycle tank) น้ำหินปูนเหลวจะถูกปั๊มจากถังพักไปยังชุดแยกขนาด (Hydro cyclone) โดยหินปูนเหลวที่ถูกบดได้ขนาดแล้วจะผ่านชุดแยกขนาดไปเก็บไว้ในถังป้อนน้ำหินปูน (Reagent feed tank) ส่วนหินปูนที่ยังไม่ได้ขนาดจะไหลกลับไปยังโม่บดเพื่อบดอีกครั้งจนได้ขนาด ที่ถังป้อนน้ำหินปูนจะมีปั๊ม Reagent feed pump ติดตั้งเพื่อปั๊มน้ำหินปูนไปใช้ในระบบอื่น ๆ ต่อไป และระบบดังกล่าวยังถูกออกแบบให้มีการไหลวน (Recirculate) ของน้ำหินปูนด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันน้ำหินปูนอุดตันภายในท่อ นอกจากนี้ยังมีชุดใบพายกวน (Agitator) ติดตั้งอยู่ที่ถังป้อนน้ำหินปูน เพื่อกวนไม่ให้น้ำหินปูนตกตะกอนด้วย

2.                               ระบบจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(Absorber system)
อุปกรณ์ที่ใช้จับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Absorber) จะมีลักษณะคล้ายหอคอย (Tower) โดยภายในจะฉาบ (Liner) ด้วยสารทนกรด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกัดกร่อน ที่ส่วนบนของ Absorber จะมีชุดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Gas to gas heater) ติดตั้งอยู่ทั้งทางด้านเข้าและออกจาก Absorber อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนนี้มีลักษณะเป็นท่อคล้ายหม้อน้ำรถยนต์ ดังนั้นเมื่อก๊าซไอเสียที่มีอุณหภูมิสูงผ่านเข้ามา ก็จะถ่ายเทความร้อนให้น้ำภายในท่อร้อนขึ้น และก๊าซไอเสียที่ออกจากอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนจะมีอุณหภูมิต่ำลง ส่วนน้ำในท่อที่ร้อนขึ้นก็จะไหลเวียนไปยังชุดถ่ายเทความร้อนชุดที่ติดตั้งอยู่ทางด้านออกของ Absorber เพื่อถ่ายเทความร้อนให้ก๊าซไอเสียที่จะออกจาก Absorber ให้ร้อนขึ้นต่อไป

ที่ส่วนล่างของ Absorber จะมีลักษณะเป็นอ่าง (Sump) และมีน้ำผสมน้ำหินปูนบรรจุอยู่ และมีอุปกรณ์ที่สำคัญติดตั้งอยู่ คือ
recirculating pump เป็นปั๊มจำนวน 4 ตัว (ปกติเดิน 3 ตัว Stand-by 1 ตัว) มีหน้าที่ปั๊มน้ำผสมน้ำหินปูน จากส่วนล่างขึ้นไปยังชุดหัวฉีดที่ติดตั้งอยู่บริเวณส่วนกลางของ Absorber
Absorber bleed pump เป็นปั๊มจำนวน 2 ตัว (ปกติเดิน 1 ตัว Stand-by 1 ตัว) มีหน้าที่ปั๊มน้ำผสมยิบซั่มจากอ่าง Absorber ไปยังระบบแยกน้ำออกจากยิบซั่ม
Oxidation air blower เป็นอุปกรณ์อัดอากาศจำนวน 3 ตัว (ปกติเดิน 2 ตัว Stand-by 1 ตัว) ทำหน้าที่อัดอากาศเข้าไปในอ่างของ Absorber เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเติมออกซิเจน (Oxidation) ในขบวนการผลิตยิบซั่ม
Absorber sump agitator เป็นอุปกรณ์ลักษณะคล้ายใบพาย เพื่อใช้กวนเพื่อให้สารละลายเข้ากันในอ่าง Absorber
ที่ส่วนกลางของ Absorber จะมีชุดหัวฉีด (nozzle) ที่รับน้ำผสมน้ำหินปูนจากชุด Recirculating pump ติดตั้งอยู่ เพื่อทำให้เกิดการพ่นกระจาย (Spray) ของน้ำผสมน้ำหินปูนใน Absorber ถัดจากชุดหัวฉีดลงมาจะมีชุดตะแกรง (grid pack) เพื่อให้ละอองน้ำผสมน้ำหินปูนที่ฉีดจากหัวฉีดผสมกับก๊าซไอเสียได้ดียิ่งขึ้น และระหว่างชุดหัวฉีดทางด้านออกของ Absorber กับชุดแลกเปลี่ยนความร้อน จะมีตะแกรงดักละอองน้ำ (Misteliminator) ติดตั้งอยู่ เพื่อดักไม่ให้ละอองน้ำปะปนออกไปกับก๊าซไอเสียที่ถูกแยกก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกไปแล้ว
การทำงานของระบบจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะเริ่มต้นที่ เมื่อก๊าซไอเสียจากหม้อน้ำ (Boiler) ผ่านเครื่องจับฝุ่น (Electrostatic Precipitator) แล้ว และมีอุณหภูมิประมาณ 163 ํ C ไหลผ่านชุดแลกเปลี่ยนความร้อนเข้ามาใน absorber อุณหภูมิของก๊าซไอเสียจะลดลงเหลือ 145 ํ C ก๊าซไอเสียดังกล่าวก็จะปะทะและคลุกเคล้ากับน้ำผสมน้ำหินปูนที่ถูกฉีดออกจากหัวฉีดใน absorber น้ำส่วนหนึ่งจะระเหยกลายเป็นไอปนไปกับก๊าซไอเสีย และอุณหภูมิของก๊าซไอเสียใน absorber ก็จะเย็นลงถึงอุณหภูมิอิ่มตัว (Saturated Temperature) ที่ประมาณ 62 ํC

แต่เนื่องจากปริมาณน้ำที่พ่นกระจายออกจากหัวฉีดได้ถูกออกแบบไว้ให้มีปริมาณสูงกว่าอัตราการระเหยมาก จึงทำให้มีน้ำผสมน้ำหินปูนบางส่วนตกกลับลงมายังอ่างด้านล่างของ absorber และน้ำผสมน้ำหินปูนเหล่านี้เอง จะละลายเอาก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกจากก๊าซไอเสีย โดยมีการเติมอากาศเข้ามาใน absorber จาก Oxidation blower ดังนั้นจึงเกิดปฏิกิริยาเติมออกซิเจน (Oxidation) ขึ้นในขบวนการจนได้เป็นยิบซั่ม (CaSO4 2H2O) ออกมา ดังสมการ
  CaCO3 + SO2 + 1/2O2 + 2H2 O ----> CaSO4 .2H2 O + CO2


จากปฏิกิริยาดังกล่าว ก๊าซไอเสียที่ไหลออกจาก
absorber จะมีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปนอยู่น้อยมาก ก่อนที่ก๊าซไอเสียดังกล่าวจะออกจาก absorber ก๊าซไอเสียดังกล่าวจะผ่านตะแกรงเพื่อดักเอาละอองน้ำออก และผ่านไปยังอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นประมาณ 80 ํ C แล้วจึงไหลออกจาก absorber ระหว่าง absorber กับปล่องควันจะมีพัดลมช่วย (Booster fan) เป็นตัวดูดเอาก๊าซไอเสียไปยังปล่องควัน และปล่อยออกสู่บรรยากาศภายนอกต่อไป ส่วนยิบซั่มที่เกิดขึ้นเป็นผลึกปนอยู่กับสารละลายในอ่าง absorber และจะถูก Absorber bleed pump ปั๊มส่งไปยังระบบแยกน้ำออกจากยิบซั่มต่อไป
จะเห็นว่าระบบจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกจากก๊าซไอเสียนั้น สามารถจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ปริมาณที่สูงมาก คือ
ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนเข้า absorber ประมาณ 17 ตัน/ชม.
ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ภายหลังผ่าน absorber ประมาณ 0.8-0.9 ตัน/ชม.

3.                               ระบบแยกน้ำออกจากยิบซั่ม(Gypsum dewatering system)
ยิบซั่มเหลวผสมน้ำจาก Absorber bleed pump จะถูกส่งไปยังเครื่องแยกน้ำที่มีลักษณะเป็นสายพานที่มีรูพรุน และมีส่วนใต้ของสายพานจะติดอยู่กับระบบปั๊มสูญญากาศ (Vacuum pump) เพื่อดูดน้ำให้แยกออกจากยิบซั่ม น้ำดังกล่าวจะไปรวมเก็บไว้ในถัง Reclaimed water tank เพื่อเตรียมนำกลับไปใช้ในระบบอื่น ๆ ส่วนผลึกยิบซั่มจะไปกับสายพาน และไหลลงสู่สายพานส่งเส้นต่อไปเพื่อนำไปทิ้งหรือใช้งานอื่น ๆ ต่อไป

จะเห็นว่าขบวนการในการแยกก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกจากก๊าซไอเสีย จนเกิดเป็นยิบซั่ม มีสิ่งที่ต้องใช้ในขบวนการ 3 อย่าง คือ
 
หน่วยที่ 12-13
หน่วยที่ 8-11
หน่วย
หินปูน ใช้ประมาณ (คิดที่ 100% CaCO3 ในหินปูน)
12.2
17
ตัน/ช.ม.
(คิดที่ 80% CaCO3 ในหินปูน)
15
21
ตัน/ช.ม.
น้ำ ใช้ประมาณ (ซึ่งน้ำที่ใช้จะเป็นน้ำที่ทิ้งจากระบ อื่น ๆ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า)  
70
72
ตัน/ช.ม.
พลังงาน ใช้ประมาณ (ใช้ในการขับปั๊ม พัดลม และอุปกรณ์อื่น ๆ)
4,800
6,000
ตัน/ช.ม.
 
จากที่กล่าวมาเป็นเพียงการทำงานพอสังเขปของ FGD เท่านั้น เพราะในระบบทำงานจริงมีรายละเอียดในการทำงานมากมาย เช่น จะต้องควบคุมความเป็นกรด ด่าง ระดับของของเหลว อุณหภูมิ ฯลฯ ซึ่งใช้ระบบควบคุมด้วย Computer ที่ทันสมัย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่สูงสุด ดังนั้น ราคาจึงค่อนข้างสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการลดมลภาวะแล้วก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง
 
 
 
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล

 

========================================================