Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,548
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,974
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,299
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,229
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,776
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,895
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,860
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,127
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,810
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,700
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,630
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,842
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,106
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,510
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,023
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,910
17 Industrial Provision co., ltd 39,579
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,653
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,562
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,904
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,848
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,199
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,608
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,305
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,838
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,836
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,210
28 AVERA CO., LTD. 22,904
29 เลิศบุศย์ 21,921
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,692
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,586
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,189
33 แมชชีนเทค 20,188
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,447
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,402
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,148
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,838
38 SAMWHA THAILAND 18,603
39 วอยก้า จำกัด 18,229
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,827
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,684
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,605
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,600
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,521
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,462
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,452
47 Systems integrator 17,030
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,975
49 Advanced Technology Equipment 16,790
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,757
08/09/2552 21:02 น. , อ่าน 35,954 ครั้ง
Bookmark and Share
การบำรุงรักษาอินเวอร์เตอร์ (Basic VFD Maintenance)
โดย : Admin

 
โดย สุชิน เสือช้อย
Webmaster (at) 9engineer.com
 
 
 
 
            การบำรุงรักษาอินเวอร์เป็นอะไรที่ไม่ยากอย่างที่คิด   วิธีการก็เพียงแค่เพิ่มเติมขั้นตอนง่ายๆที่สมเหตุสมผลเข้าไปในตารางโปรแกรมบำรุงรักษาเชิงป้องกันเครื่องจักรเท่านั้น (Preventive Maintenance) ก็จะทำอินเวอร์เตอร์สามารถใช้งานได้ต่อไปอีกหลายปีโดยไม่ทำให้เกิดปัญหาจุกจิกตามมา 

 
       อินเวอร์เตอร์คืออะไร
     อินเวอร์เตอร์คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมความเร็ว (Speed)  แรงบิด (Torque) และทิศทางการหมุน (Direction) ของมอเตอร์เหนี่ยวนำไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Induction motor) โดยรับแรงดันและความถี่คงที่จากแหล่งจ่ายและแปลงฝันแรงดันและความถี่ด้านเอาท์พุทให้สามารถเปลี่ยแปลงได้ตามต้องการเพื่อใช้ควบคุมสมรรถนะของมอเตอร์ดังที่กล่าวมา ( ส่วนหลักการการทำงานอินเวอร์เตอร์ก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความเก่าเรื่อง อินเวอร์เตอร์คืออะไร ที่ผมได้เคยเขียนไว้เมื่อก่อนหน้านี้)
 

           
โดยพื้นฐานของอินเวอร์เตอร์ ก็คล้ายกับพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (
computer) และ แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (power supply) ดังนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อควรระวัง การใช้งานและการบำรุงรักษา ก็คล้ายๆกับระบบคอมพิวเตอร์หรือแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าดังที่กล่าวมา ซึ่งจะต้องได้รับการดูและและบำรุงรักษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อยสามประการดังนี้
·         ต้องดูแลและรักษาให้สะอาด (keep it clean)
·         ต้องดูแลสภาพแวดล้อมที่แห้งและปราศจากความชื้น (keep it dry)
·         และต้องตรวจสอบรอยต่อให้แน่น (keep the connections tight)

 
 
 
·         การดูแลรักษาให้สะอาด  


รูปแสดงตัวอย่างอินเวอร์เตอร์ที่ได้รับความเสียหายผุ่นที่พัดลมระบายความร้อนที่เป่าเข้ามา
         อินเวอร์เตอร์ส่วนใหญ่ออกแบบมาให้อยู่ในมาตรฐาน NEMA 1 (side vents for cooling airflow = มาตรฐานเกี่ยวกับการระบายอากาศด้านข้างสำหรับให้อากาศไหลเข้าออก) หรือไม่ก็ NEMA 12 (sealed, dust-tight enclosure = มาตรฐานเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง)  
สำหรับอินเวอร์เตอร์ที่ออกแบบตามมาตรฐาน NEMA 1 มักจะมีข้อเสียเรื่องการสะสมฝุ่นละออง ซึ่งทำให้อากาศไหลผ่านได้ไม่ดี (lack of airflow) ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผ่นระบายความร้อน (heat sink) และพัดลมระบายความร้อน (circulating fan) ลดลง
 


          
ฝุ่นละอองจะเป็นตัวดูดความซื้น   ดังนั้นหากเมื่อมีฝุ่นละอองเข้าไปปะปนกับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ จะทำให้อุปกรณ์หรือระบบควบคุมทำงานผิดพลาด หรือไม่ทำงาน หรือทำให้เกิดการเสียหายได้ ดังนั้นช่วงการทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (
Preventive Maintenance) โดยใช้ลมอัดเป่าผ่านพัดลมระบายความร้อนเข้าไปถือเป็นมาตรการที่ดี   แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องไม่ลืมก็คือวิธีนี้ตะใช้ได้ผลเฉพาะบางสถานที่หรือบางสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เนื่องจากลมอัดของบางสถานประกอบการจะมีละะอองน้ำและน้ำมันปะปน   ดังนั้นการจะใช้ลมเป่าเข้าไปจะต้องแน่ใจว่าลมที่ใช้จะต้องเป็นลมอัดที่แห้ง สะอาดไม่มีน้ำและน้ำมันปะปน มิิฉนั้นอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรือผลเสียต่อินเวอร์เตอร์มากกว่าผลดี นอกจากนั้นลมอัดยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าสถิตย์อีกด้วย    ดังนั้นลมอัดที่ใช้จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ซึ่งต้องมั่นใจว่ามาจากแหล่งจ่ายลมพิเศษที่มีคุณภาพดี และไม่ทำเกิดไฟฟ้าสถิต (ESD). 
การใช้ลมอัดที่ไม่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์หรือวิธี Reverse-operated ESD vacuum จะช่วยลดการเกิดปัญหาได้ โดยทั่วไปแล้วพลาสติกจะเป็นอุปกรณ์หลักที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ ดังนั้นวัสดุที่ใช้ทำกล่อง ESD vacuum และพัดลมจะต้องมาจากวัสดุเฉพาะซึ่งไม่เป็นตัวทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์   ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปจากบริษัทที่มีความชำนาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าสถิต(Static-control equipment)


·         จะต้องดูแลให้อินเวอร์เตอร์แห้งและปราศจากความชื่น



รูป แสดงให้เห็นถึงการกัดกร่อนบนแผงวงจรอันเนื่องจากความซื้น
   
       ความชื้นถือเป็นศัตรูและเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆไป รวมถึงอินเวอร์เตอร์ ดังนั้นหากต้องการให้อินเวอร์เตอร์มีอายุการใช้งานนานๆท่านจะต้องแน่ใจว่าสถานที่สำหรับติดตั้งนั้นจะต้องอยู่ในที่แห้ง ปราศจากไอน้ำ ความชื้น และ ผุ่นละออง   นอกจากนั้นหลังจากติดตั้งไปแล้วจะต้องติดตามผลเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดสภาพแวดดังกล่าว เนื่องจากไอน้ำจากความชื้นจะเป็นเหตุทำให้เกิดการเสียหายแก่อินเวอร์เตอร์ได้ค่อนข้างรุนแรง เช่นอาจทำให้เกิดการลัดวงจร หรือทำให้เกิดการกัดกร่อนและผุกร่อนของแผงวงจรได้หากมีการสะสมเป็นเวลานาน ตามตัวอย่างดังรูป
 

 
การป้องกันหยดน้ำจากการควบแน่นของไอน้ำ
          ถึงแม้ช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตอินเวอเตอร์ บางรายได้เพิ่มเติมส่วนของการป้องกันการควบแน่นไอน้ำจำหน่าย (condensation protection) โดยใช้ซอฟแวท์เป็นตัวสั่งการป้องกันไม่ให้อินเวอเตอร์ทำการสตาร์ทเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 32 องศาฟาเรนไฮน์   แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในปัจจุบัน เนื่องจากสภาพโดยปกติเมื่อมีการใช้งานอินเวอเตอร์ทุกๆวันตลอดเวลา ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแผ่นระบายความร้อน (heat sink ) ก็จะเป็นตัวช่วยป้องกัน   นอกเสียจากบางยูนิดที่ไม่ได้มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำได้ง่าย ท่านก็ควรจะเลือกใช้อินเวอเตอร์ที่มี NEMA 12 enclosure และ VFD ที่มีฮีตเตอร์ช่วยทำให้แห้งอยู่เสมอ ซึ่งจะสามารถช่วยไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
·       

 
ตรวจสอบรอยต่อไห้แน่น


ภาพแสดงตัวอย่าง ผลการเกิดการอาร์ค เนื่องจากหน้าสัมพัสด้านอินพุทหลวม ซึ่งทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
   หัวข้อนี้ดูฟังดูเหมือนเป็นอะไรที่เป็นพื้นฐานฐาน แต่กลับเป็นอะไรที่หลายๆคนมักจะลืมหรือทำไม่ถูกต้อง   การตรวจเช็คและขันน๊อตหรือสกรูที่ขั้วต่อสายให้แน่นอยู่เสมอเป็นอะไรที่ต้องทำอยู่เสมอถึงแม้ว่าอินเวอร์เตอร์  จะติดตั้งอยู่ในห้องหรือสภาพแวดล้อมที่สะอาดก็ตาม   เนื่องจากการสั่นสะเทือนและวัฏจักรความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะใ้ช้งานอาจเป็นเหตุทำให้ขั้วต่อเกิดการหลวมและต่ำกว่าเกณท์มาตรฐาน
รอยต่อที่ไม่ดีหรือขันไม่แน่น (Bad connections) จะนำไปสู่การเกิดการอาร์ค (Arcing)   ซึ่งหากเกิดที่ด้านอินพุตของอินเวอร์เตอร์ก็จะทำให้เกิดแรงดันเกิน (over voltage faults) ซึ่งจะทำให้ฟิวส์ขาดและอุปกรณ์ป้องกันเสียหายได้ หรือหากเกิดที่เอาท์พุตก็จะทำให้เกิดกระแสเกิน (over-current faults) และอาจทำใ้ห้เกิดการเสียหายของวงจรกำลังได้ ดังดัวอย่างดังรูป


ภาพตัวอย่าง ผลของการเกิดการอาร์ค เนื่องจากหน้าสัมผัสทางด้านเอาท์พุตหลวม
         ในส่วนของวงจรควบคุมก็เช่นเดียวกัน สายคอนโทรลทีหลวมจะทำให้เกิดผิดพลาดของการทำงาน เช่นหากเกิดการหลวมของสายคอนโทรลที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาญควบคุมการสตาร์ทหรือการหยุด (Start/Stop) ก็จะทำให้ไม่สามารถหยุดอินเวอเตอร์ได้อย่างแม่นยำ   หรือหากเกิดการหลวมที่สายคอนโทรลที่ทำหน้าที่ควบคุมความเร็ว( speed reference ) ก็จะทำให้ความเร็วเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและไม่คงที่ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียหายต่อกระบวนการผลิดที่ต้องการความเร็วคงที่สม่ำเสมอ   หรืออาจทำให้เครื่องจักรเิกิดการเสียหายเร็วขึ้น หรืออาจทำให้บุคคลได้รับอันตรายได้การบาดเจ็บจากการทำงานผิดพลาดได้
 


 
 
 
 
ตรวจสอบส่วนอื่นๆ  (Additional Steps)
 นอกเหนือจากที่กล่าวมาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลรักษาอินเวอร์เตอร์แล้ว ก็ยังมีส่วนอื่นๆที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยอีกดังนี้


ตัวอย่างพัดลมระยายความร้อนในตัวอินเวอร์เตอร์ที่ขาดการดูแลรักษา
·         ตรวจสอบสภาพทางกล ให้พิจารณาตรวจสอบส่วนประกอบอื่นๆที่อยู่ในอินเวอร์เตอร์ เช่นพัดลมระบายความร้อน ให้ทำการเช็คดูสภาพพัดลมและฟังเสียงผิดปกติของลูกปืนมอเตอร์ แกนของพัดลมว่ามีการหลวมคอนหรือไม่ รวมถึงส่วนจับยึดและสกรูว่ามี่การคลายตัวหรือไม่
·         ตรวจสอบตัวเก็บประจุ : ให้ทำการตรวจสอบตัวเก็บประจุที่ใช้กับกรองดันที่ดีซีบัสว่า ว่ามีลักษณะบวมโป่งพอง หรือมีสารละลายใดๆ รั่วซึมออกมาหรือไม่ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้จะสังเกตได้ร่องรอยความเครียดทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้น         (เก็บประจุ ซึ่งหน้าที่อย่างหนึ่งของตัวเก็บประจุคือ ทำหน้าที่เป็นตัวกรองกระแสที่ออกมาจากวงจรเรกติไฟเออร์ให้เรียบ แรงดันกระแสสลับที่ผิดปกติที่เกิดบนบัสของแรงดันกระแสตรงเป็นตัวบอกว่าตัวเก็บประจุมีปัญหาเกิดขึ้น)
 

 
 
·         ให้ใช้มิเตอร์วัดตรวจสอบระัดับแรงดันที่ดีซีบัส : หากผลของระดับแรงดันดีซี ที่ดีซีบัส (DC bus ) มีการกระเพืือมหรือไม่คงที่ก็สามารถบอกถึงการเสื่อมสภาพของแคปปาซ ิเตอร์ (DC bus capacitors) เนื่องจากแคปปาซิเตอร์ในวงจรดีซีบัสจะทำหน้าที่กรองแรงดันจากวงจรเรกติไฟเออร์ให้เรียบ ดังนั้นถ้าหากแรงดันที่วัดได้ไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอหรือไม่เรียบก็สามารถบ่งบอกได้ว่าแคปปาซิเตอร์ใช้งานอยู่่กำลังจะเป็นปัญหาหรือเสื่อมสภาพ
 
 



ภาพแสดงตัวอย่างแคปปาซิเตอร์ที่เสียแล้ว
·         ส่วนการเก็บรักษาอะไหล่ต่างๆ   จะต้องเก็บให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดและแห้ง  สำหรับยูนิตที่เตรียมไว้เพื่อเป็นอะไหล่ ก็ควรแทรกรายการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) เข้าไปในตารางซ่อมบำรุงด้วย เพื่อทำการทดสอบทุกๆ  6 เดือน โดยป้อนแรงดันไฟฟ้าตามพิกัดเพื่อรักษาสภาพแคปปาซิเตอร์ไม่ให้เสื่อมสภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่่อนำไปใช้งาน มิฉะนั้นความสามารถในการชาร์จประจุจะลดลง   (แคปปาซิเตอร์ จะมีคล้ายกับแบตเตอรี่ ซึ่งควรใช้งานให้เร็วที่สุดหลังจากทำการสั้งซื้อมา มิฉนั้นจะสูญเสียอายุการใชงาน)
·         การติดตามดูอุณหภูมิของแผ่นระบายความร้อน : โดยทั้วไปอินเวอร์เตอร์เกือบทั้งหมดจะมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิจากแผ่นระบายความร้อน และส่งข้อมูลที่วัดได้มาแสดงที่หน้าจอแสดงผล หรือไม่ก็สามารถอ่านได้จากพารามิเตอร์ ดังนั้นเมื่ออินเวอร์เตอร์ใช้งานควรมีการติดตามดูอุณหภูมิทุกๆสัปดาห์หรือทุกๆเดือนเพื่อดูประสิทธิภาพของการระบายความร้อน

 

สงวนลิขสิทธิ์ © ห้ามลอกเลียนแบบไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความฉบับนี้ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักณ์อักษร 
 

========================================================