Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,580
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,989
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,778
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,464
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,348
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,448
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,511
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,130
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,519
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,376
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,440
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,949
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,383
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,292
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,478
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,329
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,211
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,133
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,067
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,443
04/10/2552 14:20 น. , อ่าน 46,051 ครั้ง
Bookmark and Share
วิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering )
โดย : Admin

       

    
      วิศวกรรมนั้นเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ
, การผลิต, การก่อสร้าง และการบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์, ระบบ, และโครงสร้างต่าง ๆ ในวิศวกรรมขั้นสูงแบ่ง วิศวกรรม 2 ประเภท: วิศวกรรมก้าวหน้าและวิศวกรรมย้อนกลับ

      วิศวกรรมก้าวหน้าเป็นกระบวนการที่ทำตามแบบแผน จากทฤษฎีพื้นฐาน และการออกแบบตามหลักการ ไปสู่ การผลิตและสร้างผลงานจริงจากการออกแบบ ให้มีความถูกต้อง ในบางสถานการณ์, อาจมีชิ้นส่วนบางอันที่ไม่มีรายละเอียดทางด้านเทคนิค, เช่น drawings, รายการของวัตถุ, หรือไม่มีข้อมูลทางวิศวกรรม, เช่นคุณสมบัติทางด้านความร้อนและไฟฟ้า

      กระบวนการที่จะสร้างซ้ำชิ้นส่วนที่มีอยู่ นั้น ๆ โดยปราศจาก Drawings, เอกสารประกอบ, หรือข้อมูลโมเดลในคอมพิวเตอร์ กระบวนการนี้เรียกว่า วิศวกรรมที่ย้อนกลับ

  

       วิศวกรรมย้อนกลับ เป็นวิธีที่ทำกัน ในสาขาต่าง ๆ ที่ ทำงานในลักษณะย้อนกลับ เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์, วงการบันเทิง, ยานยนต์, สินค้าอุปโภคบริโภค, ไมโครชิป, เคมี, อิเล็กทรอนิกส์, และการออกแบบเครื่องกล ตัวอย่างเช่น , เมื่อมีเครื่องจักรรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด, บางครั้งผู้ผลิตรายที่เป็นคู่แข่ง ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่นั้น ไปเรียนรู้การทำงาน ซึ่งบางครั้งต้องแยกเป็นชิ้น ๆ เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการประกอบ บริษัททางด้านเคมีบางครั้งใช้วิศกรรมย้อนกลับเพื่อค้นหากระบวนการผลิตของบริษัทคู่แข่ง ในส่วนของวิศวกรรมโยธา, การออกแบบตึกและสะพาน เป็นการทำลอกเอาจากสิ่งที่เคยทำสำเร็จมาแล้วในอดีต ซึ่งจะมีโอกาสผิดพลาดน้อย ในวิศวกรรมที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์, source code ที่ดี คือการนำเอา source code อื่นมาปรับปรุง

       ในบางสถานการณ์, นักออกแบบสร้างรูปทรงตามจินตนาการของพวกเขา โดยใช้ดินเหนียว , ปูนปลาสเตอร์, ไม้, หรือ ยาง, แต่ยังคงมีความต้องการ โมเดล CAD ในคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปสร้างจริง ยิ่งรูปทรงผลิตภัณฑ์ดูมี ชึวิตมากเท่าไร การออกแบบด้วย CAD ต้องใช้ความท้าทายมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย สิ่งนี้ไม่รับประกันว่าโมเดล CADจะใกล้เคียงกับโมเดลตามจินตนาการหรือไม่ วิศวกรรมย้อนกลับมีทางออก สำหรับปัญหานี้เพราะว่าลักษณะทางกายภาพของโมเดลคือ ต้นกำเนิดข้อมูล สำหรับโมเดล CAD นั่นเอง



        เหตุผลอื่น ๆ ที่ต้องใช้วิศวกรรมย้อนกลับ คือ เวลาที่จำกัดสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดทั่วโลก, ผู้ผลิตจำต้องหาทางเลือกใหม่อยู่เสมอ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วที่สุด Rapid product development (RPD) กล่าวถึง เทคโนโลยีล่าสุดที่ได้รับการพัฒนา ขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ผลิตและนักออกแบบให้บรรลุความต้องการที่จะลดเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น , บริษัททำแม่พิมพ์ฉีด จะต้องลดเวลาในการพัฒนา tool และ die ให้ได้มากที่สุด โดยการใช้วิศวกรรมย้อนกลับ, ชิ้นงาน 3 มิติจริงจากลูกค้า จะถูกก๊อปปี้ ให้ได้เป็น ข้อมูลดิจิตอล เพื่อ สร้างโมเดลซ้ำ จากเครื่องสร้างต้นแบบอย่างเร็ว rapid prototyping

 

เหตุผลที่วิศวกรรมย้อนกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ:
      
            ผู้ผลิตเดิม ยกเลิกการผลิตไปแล้วมีเอกสารการออกแบบดั้งเดิม ไม่เพียงพอผู้ผลิต เลิกกิจการไป, แต่ลูกค้ายังต้องการผลิตภัณฑ์เอกสารการออกแบบ หายหรือไม่มี บางส่วนที่ไม่ดีของผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องปรับปรุง เพื่อสนับสนุนฟีเจอร์ที่ดีของการผลิตในเทอมการใช้ที่ยาวของการผลิต เพื่อการวิเคราะห์ส่วนที่ดีและไม่ดีของผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง เพื่อค้นหาทางใหม่ในการปรับปรุงระบบการผลิต เพื่อเพิ่มวิธีการแข่งขันในตลาดเพื่อเข้าใจถึงการผลิตของผู้แข่งขันและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าโมเดล CAD ที่มีอยู่เดิม ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงหรือวิธีการผลิตปัจจุบันผู้ขายไม่ยอมขายให้ วิศวกรรมย้อนกลับ สามารถทำการก๊อปปี้ ชิ้นงานที่มี ให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลทางกายภาพ คือ ขนาดต่าง ๆ , รูปทรง และ ข้อมูลวัสดุ ก่อนที่จะทำวิศวกรรมย้อนกลับ จะต้องมีการวางแผนและวิเคราะห์ เกี่ยวกับ ระยะเวลาและค่าใช้จ่าย อย่างดี วิศวกรรมย้อนกลับเป็นวิธีที่ให้ผลคุ้มค่า กับการนำข้อมูล ชิ้นส่วนนั้นไปผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมาก ๆ 

     วิศวกรรมย้อนกลับของ ชิ้นส่วน เครื่องกล คือการได้มาของข้อมูลตำแหน่ง 3 มิติใน กลุ่มข้อมูลจุด (point cloud) ที่ได้จากการใช้วิธี laser scanners หรือ computed tomography (CT)


     ส่วนของ ชิ้นงานที่ได้ คือจุดบนผิวของงาน ( Surface points) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในสร้างผิวแบบพาราเมตริก คล้ายโครงตาข่าย (polymesh) ซึ่งโครงตาข่าย ที่ดีจะได้จากการคำนวนหาจุดจาก กลุ่มข้อมูลจุด (point cloud) โดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับวิศวกรรมย้อนกลับ โครงตาข่าย (polymesh) ที่ปรับปรุง แล้ว , NURBS (Non-uniform rational B-spline) curves, หรือ NURBS surfaces สามารถบันทึกเพื่อส่งให้ ซอฟต์แวร์ ทางด้าน CAD เพื่อ ทำนำไป วิเคราะห์, สร้างแนวกัดสำหรับทูลด้วยซอฟท์แวร์ CAM ซึ่งสุดท้ายจะได้งานจริงอีกชิ้นหนึ่งที่เหมือนของเดิม


    กล่าวได้ว่าวิศวกรรมย้อนกลับ เริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงาน และการทำงานมาสู่ กระบวนการออกแบบย้อนกลับมา จนถึง ข้อมูลการออกแบบที่อยู่ใน drawing


       การทำวิศวกรรมย้อนรอยหรือวิศวกรรมย้อนกลับตามแนวปฏิบัติแบบบูรณาการ คือการลอกแบบและพัฒนาอย่างครบวงจร ครบทุกส่วนและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ การย้อนรอยวิศวกรรมเครื่องจักรที่เน้นเพื่อการออกแบบใหม่ให้สามารถทดแทนการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมบางประเภทที่มีปริมาณนำเข้ามูลค่าสูงจากต่างประเทศ การประยุกต์รายละเอียดเพื่อสอดคล้องต่อการไม่เกิดกรณีปัญหาทางสิทธิบัติคือหนทางที่เหมาะสม รวมถึงการปรับปรุงรายละเอียดการใช้งานให้สมบูรณ์แบบกับความต้องการของโอกาสและสถานที่ที่เปลี่ยนไปของเครื่องจักรคือหัวใจที่สำคัญที่สุดในการยกระดับการผลิตตามแบบวิศวกรรมย้อนรอย แต่หลักคิดที่ดีที่นำไปสู่การทำวิศวกรรมย้อนรอยที่ประสบผลสำเร็จ และเทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติดังกล่าว การสร้างองค์ประกอบทางวิศวกรรมย้อนรอยในแนวคิดที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมไทยสำหรับผู้สนใจและอุตสาหกรรมที่ต้องการทำวิศวกรรมย้อนรอยประกอบด้วยอะไรบ้าง องค์กรที่มีบทบาททางด้านวิศวกรรมย้อนรอยทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนผลักดันมีศักยภาพในระดับใดบ้าง

 

 

 

ที่มา :  www.mtec.or.th & www.cadcamcaecenter.com/article/detial/re.pdf


 

========================================================