Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 174,379
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,024
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,401
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 171,993
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 169,951
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,010
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,011
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,195
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 159,543
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 157,902
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 157,798
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 156,978
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 66,911
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 61,501
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 49,407
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,059
17 Industrial Provision co., ltd 38,715
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 37,831
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 35,778
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 33,761
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 32,951
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,303
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 30,652
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,316
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,097
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 25,983
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,439
28 AVERA CO., LTD. 22,095
29 เลิศบุศย์ 21,272
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 19,839
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 19,735
32 แมชชีนเทค 19,411
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,235
34 มากิโน (ประเทศไทย) 18,668
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 18,658
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,262
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,090
38 SAMWHA THAILAND 17,790
39 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 16,951
40 วอยก้า จำกัด 16,883
41 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 16,822
42 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 16,809
43 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 16,669
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 16,602
45 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 16,568
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 16,372
47 Systems integrator 16,148
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,055
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 15,880
50 Advanced Technology Equipment 15,874
14/04/2553 16:56 น. , อ่าน 18,991 ครั้ง
Bookmark and Share
Sheet Metal Layout For Auto Shear Machine
โดย : Admin

 

โดย..อ.บรรจบ      พลับจุ้ย

 

 

 

   การทำงานของเครื่องตัดอัตโนมัติ
 

        ม้วนเหล็ก ( COIL ) จะถูกดึงผ่านลูกล้อตัดแบ่ง (Slitting )ตามแนวยาวของม้วนเหล็ก ตามรูปที่1 ซึ่งสามารถตั้งระยะห่างระหว่างลูกล้อได้ โดยตัดได้ไม่เกิน 5 แถบความกว้าง เมื่อม้วนเหล็กถูกตัดแบ่งก็จะไหลออกมาทางด้านหลัง ตามรูปที่ 2 แล้วถูกตัดด้วยใบมีด (Shearing) ตลอดความกว้างของหน้าม้วนเหล็ก จากนั้นจึงนำแผ่นเหล็กที่ได้ไปตัดแบ่งเพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการต่อไป 

 

 


รูปที่1


รูปที่ 2

 

    ลักษณะของการทำงานแบบเดิม

      เมื่อพนักงานได้รับคำสั่งตัดจากแผนกวางแผนแล้วจึงนำมาวางแผนการตัดโลหะ เช่น ได้รับคำสั่งให้ตัดเหล็กแผ่น ขนาด  

486*1020 = 2000 แผ่น 726*815 = 2000 แผ่น
244*368= 2000 แผ่น      587*1125=1000 แผ่น
867*867=1000 แผ่น   683*690=1100 แผ่น
317.5*885=3000 แผ่น  320*886=3000 แผ่น
525*690=2000 แผ่น  351*690=1000 แผ่น
874.5*683=900 แผ่น  525*869.3=1000 แผ่น 
891.5*1148=1000 แผ่น 407*1529=1200 แผ่น
176*1477=1200 แผ่น     

 

    แล้วพนักงานต้องจัดวาง เพื่อให้เหลือพื้นที่เศษ (ส่วนที่แรเงา) น้อยที่สุด ดังภาพ   



.



 

            เห็นได้ว่าการจัดเรียงจากชิ้นงาน 15 รูปแบบแม้นำมาจัดเรียงเพียง 2 รูปแบบก็สามารถจัดเรียงได้หลายวิธีในการตัดตลอดแนวความกว้างม้วนเหล็ก

      ตัวอย่างในรูปสุดท้ายไดิ้นงานในการตัดตลอดแนวความกว้างแต่ละครั้งดังนี้

           244*368 จำนวน 9 ชิ้น
                  486*1020 จำนวน 1 ชิ้น

        คังนั้นจึงต้องตัดทั้งหมด 233 ครั้ง จึงจะได้ชิ้นงาน ขนาด 244*368 ครบ 2,007 แผ่น ส่วนอีก 1 ขนาด จะได้ชิ้นงานไม่ครบ และต้องนำไปรวมกับชิ้นงานชิ้นอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ตัด เพื่อวางแผนให้ประหยัดต่อไป

  • ปัญหาของโรงงาน / พนักงาน

    1. เป็นเรื่องยากที่จะนำชิ้นงานทั้ง 15 ชิ้น (30 ด้าน) มาจัดเรียงทั้งความกว้างและความยาวของชิ้นงานให้สัมพันธ์กับความกว้างของหน้าม้วนเหล็กและความยาวในการตัดแต่ครั้งได้

    • ยากที่จะนำความยาวทั้ง 30 ด้าน มาจัดเรียงแบบไหนก็ได้ เพื่อให้เหลือขอบน้อยที่สุด
    • ยากที่จะคำนวณว่า ต้องเรียงซ้อนกันดไปกี่ชั้นจึงจะเหลือขอบที่ปลายน้อยที่สุ

           2. ไม่สามารถมั่นใจว่า วิธีที่วางแผนตัดนั้น เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด
      3. พนักงานเสียเวลาในการวางแผนมาก โดยต้องคำนวณใหม่ทุกครั้งที่ตัดแผ่นโลหะชิ้นใดชิ้นหนึ่งครบจำนวน

 

        ลักษณะของโปรแกรมวางแผนตัดโลหะแผ่น   (TGI SHEET METAL LAYOUT FOR AUTO SHEAR MACHINE)
     สามารถคำนวณหาวิธีการจัดเรียงแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาดต่างๆ ลงบนพื้นที่ที่กำหนด ให้เหลือเศษน้อยที่สุด โดยมีขีดความสามารถดังนี้
    1. สามารถหาวิธีการจัดเรียงที่ดีที่สุดได้ โดยการคำนวณจากแผ่นเหล็กที่ต้องการตัด ที่มีขนาดแตกต่างกันได้ถึง 15 ขนาด (30 ด้าน) หรือมากกว่านี้ แต่จะทำให้โปรแกรมประมวลผลช้าลง
    2.ผู้ใช้สามารถกำหนดความกว้างและความยาวสูงสุดของม้วนเหล็กที่นำมาตัดเป็นแผ่นเหล็กขนาดต่างๆได้
    3.ในการจัดเรียง จะเรียงเป็นแถวตามแนวยาวของม้วนเหล็ก ซึ่งเรียงสูงสุดได้ไม่เกิน 5 แถว (หรือมากกว่านี้ แต่จะทำให้โปรแกรมประมวลผลช้าลง) ซึ่งในแต่ละแถวเป็นเหล็กแผ่นที่มีขนาดเดียวกัน
    4.โปรแกรมแสดงผลการจัดเรียงแต่ละครั้ง ดังนี้

          -  วัน เวลา ที่ประมวลผล ข้อมูลทั้งหมดที่กรอกลงไป
       - จำนวนแถวที่จัดเรียงและขนาดของด้าน ในแต่ละแถว
       - จำนวนแผ่นที่นำมาเรียงต่อกันในแนวยาว
       - ค่าประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดเรียง
       - ข้อมูลที่ถูกใช้ไปในการประมวลผล

       5.โปรแกรมไม่คำนวณจำนวนแผ่นของชิ้นงานที่ทำการตัด โดยผู้ใช้ต้องบันทึกเองว่า ในการตัดแต่ละครั้งได้ชิ้นงานขนาดใดบ้างและเป็นจำนวนเท่าใด ต้องตัดกี่ครั้งจึงจะได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ


ตัวอย่างการแสดงผล

        ลักษณะของโปรแกรมในอนาคต

             -   ยังคงแสดงผลตามที่กล่าวมาข้างต้น
             -  
โปรแกรมจะทำงานใน Graphic Mode ไม่ใช่ทำงานใน Text Mode (MS Dos Prompt) อย่างปัจจุบัน
            
มี Dialog box เหมือนใน Window
            
-  สามารถเขียนรูปแบบการ Layout บน CAD ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้มองเห็นแนวเส้นในการตัดอย่างชัดเจน

 

    ข้อด้อยของโปรแกรมวางแผนตัดโลหะแผ่น

       - ไม่คำนวณ จำนวนแผ่นที่ต้องการตัด
    - โรงงานต้องมี Lead Time ในการตัดโลหะแผ่นมากขึ้น เพื่อให้มีชิ้นงานหลากหลายแล้วโปรแกรมจะวางแผนได้ประหยัดที่สุด  
      -  ประสิทธิภาพในการตัดจะลดลง เมื่อมีความหลากหลายของขนาดชิ้นงานมาก (ตัวเลือกน้อย) ก็เลือกชิ้นงานได้ไม่มาก

 

      การนำไปใช้งาน

       -  สำหรับโรงงานที่ต้องตัดโลหะแผ่นจำนวนมากๆ และมีรูปแบบของชิ้นงานหลากหลาย เช่น โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศ โรงงานผลิตตู้เก็บเอกสาร, ตู้เก็บของ โรงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดโลหะแผ่น
        - 
ชิ้นงานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
     - ใช้เครื่องตัดอัตโนมัติที่สามารถแบ่งความกว้างหน้า Coil เหล็กได้ และตัดแต่ละครั้งเต็มหน้า

    

   การประยุกต์ใช้งาน

     -  โรงงานที่มีการตัดโลหะแผ่นจำนวนมากๆ และมีรูปแบบของชิ้นงานหลากหลาย
  ชิ้นงานเหล็กแผ่น 4 ฟุต ´ 8 ฟุต  
     -  ชิ้นงานที่ต้องการตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
  
     -  ทำการตัดแต่ละครั้งตลอดความกว้าง หรือตลอดความยาวของแผ่นเหล็ก

 



ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

 

 


 

 



นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล


 ลิงค์ช่องยูทุปของ 9engineer.com => คลิก=> technology talk
 
ขอกำลังใจจากเพื่อนๆสมาชิกช่วยสนับสนุนด้วยการกดซับสไคร์ กดกระดิ่งติดตาม กดไลค์และกดแชร์ด้วยครับ