Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,364
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,516
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,933
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,687
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,412
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,490
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,455
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,251
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,386
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,305
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,449
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,489
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,420
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,161
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,383
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,799
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,889
28 AVERA CO., LTD. 22,534
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,835
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,549
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,139
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,005
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,382
18/09/2552 14:46 น. , อ่าน 12,092 ครั้ง
Bookmark and Share
ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยี CAD/CAM
โดย : Admin

 

ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยี CAD/CAM

 


                การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบและเขียนแบบ เกิดขึ้นกลางทศวรรษที่ 1950 เมื่อกองทัพอากาศสหรัฐฯ เริ่มต้นนำการแสดงผลแบบรูปภาพ(Graphic) มาใช้กับระบบ SAGE (Semi Automatic Ground Environment) ซึ่งเป็นการแสดงผลของเรดาร์ตรวจจับ โดยใช้จอภาพหลอดรังสีคาโทด ระบบนี้ได้รับการพัฒนาโดยห้องแลบลินคอร์น ณ สถาบันเทคโนโลยี MIT

                หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1960 Ivan Sutherland ใช้คอมพิวเตอร์รุ่น TX-2 ที่ห้องแลบลินคอร์น ณ สถาบันเทคโนโลยี MIT เพื่อสร้างโครงการ SKETCHPAD ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของวงการ CAD ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาเกิดขึ้นที่ ITEK และ General Motors โครงการที่ ITEK มีชื่อว่า The Electronic Drafting Machine (เครื่องทำ drawing อิเล็กทรอนิกส์) โดยใช้คอมพิวเตอร์ PDP-1 ของ Digital Equipment Corp. ซึ่งมีการแสดงผลแบบเวคเตอร์(การเก็บข้อมูลกราฟฟิกโดยเก็บข้อมูลพิกัด) โดยใช้หน่วยความจำแบบดิสก์ขนาดใหญ่เพื่อทำการรีเฟรชภาพ และใช้ปากกาแสงเพื่อป้อนข้อมูล ซอฟต์แวร์ CAD ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความเร็ว มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ CAD ในปัจจุบัน ทำงานเขียนแบบและออกแบบ ได้ง่าย และรวดเร็ว

               ซอฟต์แวร์ CAD มีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ไม่ว่าจะทำงานอยู่ในวงการใด ๆ เทคโนโลยีของซอฟต์แวร์ CAD ได้ถูกพัฒนาเริ่มจากการเป็นซอฟต์แวร์ช่วยเขียนแบบ 2 มิติ(Drawing) เสมือนเป็นกระดานเขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีคำสั่งในการใช้งานซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้คำสั่ง โดยการใช้เมาส์เลือกที่เมนูบนจอภาพ หรือการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์ ซอฟต์แวร์ CAD  มีหลายกลุ่มคำสั่ง ได้แก่ คำสั่งในการวาดองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ เส้นตรง(Line), ส่วนโค้ง(Arc), วงกลม(Circle),วงรี(Ellipse), รูปเหลี่ยม(Polygon) เช่น สามเหลี่ยม, สี่เหลี่ยม และยังมีคำสั่งในการช่วยวาดองค์ประกอบเพิ่มเติม เช่น การสะท้อนให้เกิดภาพ (Mirror), การสำเนาองค์ประกอบที่มีอยู่(Copy) นอกจากนี้ยังมีคำสั่งในการแก้ไขสิ่งที่ได้วาดลงไปแล้ว ได้แก่ คำสั่งลบออก(Erase), ตัดบางส่วน (Trim), เคลื่อนย้าย(Move), หมุนภาพ(Rotate)

                การจัดองค์ประกอบต่างๆจำแนกอยู่ในชั้นต่างๆ(Layer) เพื่อความสะดวกในการทำงานเสมือน มี แบบหลายๆ แผ่นมาซ้อนทับกันอยู่ เช่น ในอาคารหนึ่งหลังจะมีทั้งแบบโครงสร้างแบบไฟฟ้า, แบบผนัง ฯลฯ ซึ่งเป็นกระดาษไข เมื่อต้องการใช้ก็จะนำมาทาบกับคำสั่งดังกล่าวที่ซอฟต์แวร์ CAD 2 มิติ มีให้นั้น ทำให้ผู้ใช้สะดวกและประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย คือเขียนแบบให้เสร็จในคอมพิวเตอร์ จากนั้นค่อยพลอตออกทางเครื่องพลอต(Plotter) ทำให้ประหยัดกระดาษ, ประหยัดเวลาที่จะต้องเขียนแบบใหม่หมดหากเกิดข้อผิดพลาด, ไม่ต้องใช้ใบมีดขูดแบบเพื่อลบเส้นที่ผิด แต่ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ CAD ที่เป็น 2 มิติ นี้ ผู้ใช้ยังคงต้องใช้จินตนาการและประสบการณ์ เพื่อวาดให้ได้แบบที่ถูกต้อง เช่น การวาดรูปด้านข้างของอาคารหรือของชิ้นส่วนที่มีความโค้งมน เหล่านี้ อาจทำให้แบบที่ออกมามีความผิดพลาดไป



 

ขอขอบคุณสำหรับที่มาจากทุกๆแหล่งข่าว

 

========================================================