Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,548
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,974
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,299
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,229
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,776
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,895
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,859
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,126
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,810
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,700
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,630
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,841
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,104
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,510
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,023
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,910
17 Industrial Provision co., ltd 39,578
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,652
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,562
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,903
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,847
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,199
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,607
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,304
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,837
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,836
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,209
28 AVERA CO., LTD. 22,904
29 เลิศบุศย์ 21,921
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,692
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,586
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,188
33 แมชชีนเทค 20,187
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,447
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,402
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,148
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,838
38 SAMWHA THAILAND 18,603
39 วอยก้า จำกัด 18,229
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,827
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,683
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,605
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,600
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,520
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,462
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,451
47 Systems integrator 17,030
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,974
49 Advanced Technology Equipment 16,790
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,757
07/12/2552 13:00 น. , อ่าน 10,723 ครั้ง
Bookmark and Share
การดูแลและบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ ตอนที่ 1
โดย : Admin
 

การดูแลและบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก


    ข้อแนะนำที่จะปรากฏต่อไปนี้ในบทความจะเป็นแนวทางการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) สำหรับหม้อไอน้ำที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ 

 บทนำ

        บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำ  อนึ่งผู้ที่จะทำงานเกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประกอบด้วย กล่าวคือ

     * ได้รับการอบรมอย่างเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงานกับหม้อไอน้ำ
     * มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหม้อไอน้ำเป็นอย่างดี
     * มีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ต่างๆ
     * มีความขยันหมั่นเพียรที่จะปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี  

 


  1)  การทำงานกับหม้อไอน้ำ

    1.1) การดูแลรักษาหม้อไอน้ำ
 

1.
มีความรู้ที่ดีพอสำหรับหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆที่ทำงานสนับสนุนหม้อไอน้ำ ควรขอ manual, drawing และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆจากผู้ผลิต หรือผู้ติดตั้งเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในสถานที่ที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวกฝึกอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำและควรฝึกให้เปิด manual ทุกครั้งที่เกิดปัญหาขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานกับหม้อไอน้ำ
2.
บันทึกข้อมูลต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและควรจำแนกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการการบำรุงรักษาออกมาเป็นหัวข้ออาจจะเขียนใน Index card หรือเก็บไว้ในฐานข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือกล่าวง่ายๆก็คือควรทำประวัติเครื่องจักรอย่างละเอียดนั่นเอง
3.
ควรสร้างแผนการดูแลแผนการบำรุงรักษาในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่ การบำรุงรักษารายวัน, สัปดาห์, เดือน, ครึ่งปี และ 1 ปี ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ควรจำแนกออกมาให้ชัดเจน
 
4.
ควรออกแบบ log sheet หรือ check sheet  ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการตรวจสอบหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ประกอบในแต่ละช่วงเวลาตามที่ได้เขียนแผนเอาไว้แล้วว่าจะทำอะไรบ้าง อนึ่ง log sheet ที่จะออกแบบนี้จะต้องสื่อให้เห็นถึงข้อมูลที่สำคัญที่เกี่ยวกับการทำงานของหม้อไอน้ำหลังจากออกแบบ และนำไปใช้จริงแล้ว ควรปรับปรุงเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถใช้งานได้ง่ายและสามารถเก็บบันทึกข้อมูลที่สำคัญๆได้ครบถ้วนตามที่ต้องการ
5.
ควรเขียน คู่มือการทำงาน (อาจจะเรียกว่า work instruction: WI) ต่างๆ ที่สำคัญสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำเช่นคู่มือการเริ่มทำงานสำหรับหม้อไอน้ำเป็นต้น คู่มือการทำงานที่ได้เขียนขึ้นทั้งหมดจะทำให้การทำงานเกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำของฝ่ายต่างๆ มีความเป็นมาตรฐานเดียวกันและช่วยให้ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์หรือไม่มีความรู้ในการทำงานกับหม้อไอน้ำสามารถอ่านทำความเข้าใจเพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
6.
การทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบหม้อไอน้ำจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอและอย่างเข้มแข็ง เพื่อทำให้การซ่อมบำรุงและการบำรุงรักษาหม้อไอน้ำเป็นไปด้วยดีและอย่างมีคุณภาพ
7.
ทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่าให้มีฝุ่นเกาะเพราะจะส่งผลต่อการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้น ให้ทำงานผิดพลาดได้
8.
ต้องมั่นใจว่ามีอากาศสะอาดเพียงพอสำหรับห้องหม้อไอน้ำเพราะอากาศเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการเผาไหม้เชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำตัวกรองอากาศต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด ในฤดูฝนที่อากาศเย็นอาจจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องให้ความร้อน เพื่อทำให้อากาศมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้องปกติ (ประมาณ 30 .C)
9.
บันทึกข้อมูลการใช้เชื้อเพลิงอย่างรัดกุมซึ่งข้อมูลนี้จะแสดงให้เห็นอาการผิดปกติของหม้อไอน้ำได้เมื่ออัตราการใช้เชื้อเพลิงเปลี่ยนแปลงไปจากปกติทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
10.
ในขณะที่หม้อไอน้ำหยุดการทำงานหรืออยู่ในช่วงที่ไม่ได้ใช้งาน ควรปฏิบัติตามเทคนิควิธีที่ปลอดภัยดังต่อไปนี้คือปิดการเชื่อมต่อของแหล่งจ่ายพลังงานต่างๆ ที่เข้าสู่หม้อไอน้ำ และปิดสวิตช์ต่างๆไปยังตำแหน่ง off หากมีหม้อไอน้ำมากกว่าหนึ่งลูกที่ต่ออยู่กับ header ให้ปิดวาล์วทางเข้าของไอน้ำจากหม้อไอน้ำลูกนั้นๆอาจจะเพื่อทำการตรวจเช็คหรือเพื่อการซ่อมบำรุงก็ตาม ควรปิด damper ทางออกของแก๊สไอเสียทุกจุด และควรปฏิบัติตาม manual ของหม้อไอน้ำอย่างเคร่งครัด

 

   1.2)  ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องบันทึก   

         
ข้อมูลพื้นฐานของหม้อไอน้ำที่ควรทำการบันทึกเพื่อสะดวกต่อการเรียกหาใช้งานและเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบ Log sheet แบ่งออกกว้างๆ ได้ดังนี้

 1. Name plate
ของหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ทุกตัวที่ทำงานร่วมกับหม้อไอน้ำรวมถึงข้อมูลดังต่อไปนี้คือ หมายเลขแสดงรุ่นของหม้อไอน้ำหรืออุปกรณ์ต่างๆ, serial number, ชนิดของเชื้อเพลิง, ความดันที่หม้อไอน้ำสามารถทำได้และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือกล่าวง่ายๆ ว่าเป็นข้อมูลจำเพาะของหม้อไอน้ำนั่นเอง

 2. 
ชื่อ ที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์, โทรสารของผู้ผลิต จำหน่าย ติดตั้งหม้อไอน้ำและของผู้จำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งผู้จำหน่ายเชื้อเพลิงเพื่อสามารถจะสอบถามปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
 
2. การดูแลรักษาหม้อไอน้ำ

 
  2.1 การบำรุงรักษาทุกวัน 
1.
เช็คระดับน้ำใน Gauge glass หากพบว่าระดับน้ำไม่คงที่สามารถจะเกิดจากปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น การปนเปื้อนของน้ำมัน, การทำงานเกินตัว (overload) , การทำงานผิดพลาดของระบบควบคุมการจ่ายน้ำเป็นต้น นอกเหนือจากเช็คระดับน้ำแล้ว จะต้องมั่นใจว่ามีน้ำอยู่ใน gauge glass ทุกครั้งที่ทำการตรวจเช็ค  
2.
ทำการ blow down หม้อไอน้ำโดยจะต้องเป็นไปตามคำแนะนำของที่ปรึกษาทางด้านระบบน้ำป้อน ทุกครั้งที่ทำการ blow down จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำและส่วนประกอบทางเคมีด้วย
3.
ตรวจสอบการเผาไหม้ด้วยสายตาโดยการดูลักษณะของเปลวไฟ หากลักษณะของเปลวไฟเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่าต้องมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว จะต้องทำการสืบหาต้นเหตุของปัญหาต่อไป
 
4.
ปรับสภาพน้ำให้เป็นไปตามโปรแกรมที่ตั้งเอาไว้และต้องมีการสุ่มตรวจเช็คทุกวัน
5.
บันทึกความดันหรืออุณหภูมิของน้ำในหม้อไอน้ำ (อาจจะบันทึกมากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งวัน)เพราะค่าทั้งสองหากเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหรือค่าที่ตั้งเอาไว้แสดงว่าต้องเกิดความผิดปกติกับหม้อไอน้ำ
 
6.
บันทึกอุณหภูมิและความดันของน้ำป้อนหากอุณหภูมิและความดันมีค่าเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นในกระบวนการทำงาน เช่น ปั๊มน้ำป้อน เป็นต้น
7.
บันทึกอุณหภูมิของปล่องไอเสียหากอุณหภูมิของปล่องไอเสียเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่าปล่องไอเสียมีเขม่าจับเยอะ, มีหินปูนเกาะภายในหม้อไอน้ำ, เกิดปัญหากับอิฐทนไฟหุ้มหม้อไอน้ำเป็นต้น
8.
บันทึกอุณหภูมิและความดันของน้ำมันเชื้อเพลิง (หม้อไอน้ำที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง)การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความดัน จะส่งผลต่อการเผาไหม้ โดยปัญหาอาจจะเกิดจาก oil heater หรือ oil regulator
9.
บันทึกความดันของ oil atomizer เพราะการเปลี่ยนแปลงของความดันจะส่งผลกระทบต่อการเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ
10.
บันทึกค่าความดันของแก๊ส (หม้อไอน้ำที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง) การเปลี่ยนแปลงของความดันจะส่งผลต่อการเผาไหม้ โดยปัญหาอาจจะเกิดจากระบบการจ่ายแก๊ส
11.
เช็คการทำงานโดยทั่วๆไปของหม้อไอน้ำและระบบการเผาไหม้พยายามให้การทำงานอยู่ที่ระดับประสิทธิภาพสูงสุดอยู่เสมอ หากมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติต้องตอบให้ได้ว่าเพราะอะไร และจะส่งผลต่ออะไรบ้าง
12.
บันทึกอุณหภูมิของไอน้ำที่ผลิตได้และน้ำที่กลับสู่หม้อไอน้ำเพื่อเป็นการเผ้าระวังการทำงานของหม้อไอน้ำ
13.
บันทึกปริมาณการเติมน้ำเข้าสู่หม้อไอน้ำหากปริมาณการเติมน้ำมากเกินไป แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นภายในระบบต้องรีบหาต้นตอของปัญหาและรีบแก้ไข
14.
เช็คการทำงานของอุปกรณ์เสริมต่างๆให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น (หมายถึงว่าจะต้องทำงานได้ตาม Spec ที่อุปกรณ์นั้นๆ ถูกตั้งค่าเอาไว้)เพราะการทำงานที่ผิดปกติของอุปกรณ์เสริมอื่นๆสามารถทำให้หม้อไอน้ำเกิดปัญหาขึ้นได้
  
2.2 การบำรุงรักษาทุกสัปดาห์
 
1. ตรวจสอบว่าวาล์วของท่อจ่ายเชื้อเพลิงแน่นสนิทดีหรือไม่ตรวจสอบเพื่อความมั่นใจว่าหากหม้อไอน้ำหยุดการใช้งานจะไม่มีเชื้อเพลิงรั่วไหลจากวาล์วได้
2. ตรวจสอบรอยต่อ หรือ หน้าแปลนที่ยึดท่อต่างๆ ให้มั่นใจได้ว่าสกรูขันแน่นสนิทดีไม่มีการรั่วไหลของเชื้อเพลิงหรืออากาศออกมาตามหน้าแปลนเหล่านั้น
3. ตรวจสอบการทำงานของไฟส่องสว่างฉุกเฉินและสัญญาณเตือนในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในห้องหม้อไอน้ำว่ายังทำงานปกติดีอยู่หรือไม่ ตรวจสอบไฟสัญญาณทุกหลอดและสัญญาณเตือนอื่นๆที่จะต้องทำงานสัมพันธ์กับหม้อไอน้ำว่ายังทำงานปกติดีอยู่หรือไม่
4. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมว่ายังทำงานตามค่า set point ที่ได้ตั้งเอาไว้หรือไม่และควรทวนสอบการทำงานของเกจวัดความดันและอุณหภูมิของหม้อไอน้ำว่ายังแสดงค่าที่ถูกต้องอยู่หรือไม่
 

5.
ตรวจสอบอุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยและ Interlock เพื่อความแน่ใจได้ว่าหากเกิดเหตุผิดปกติกับหม้อไอน้ำ อุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยและ interlock จะยังทำงานได้ตามปกติ
6.
ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ
7.
ตรวจสอบการรั่ว, เสียงดัง, การสั่นสะเทือน และ การทำงานอื่นๆ ที่ผิดไปจากปกติ เป็นต้น เนื่องจากหากทำการตรวจสอบเป็นประจำแล้วจะทราบได้ทันทีว่าหม้อไอน้ำทำงานผิดปกติ ซึ่งจะได้รีบดำเนินการแก้ไขต่อไป ก่อนที่จะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โต
8.
ตรวจสอบการทำงานของมอเตอร์ขับทุกตัวที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำ เช่น ฟังเสียง ตรวจเช็คอุณหภูมิของมอเตอร์ ดูการสั่นสะเทือน หากผิดปกติจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข
9.
ตรวจสอบระดับของน้ำมันหล่อลื่นของอุปกรณ์ทุกตัวตามที่คู่มือกำหนดเอาไว้ ว่ายังมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่
10.
ตรวจสอบ gauge glass เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีรอยแตกร้าวขึ้น และต้องไม่มีรอยรั่วโดยรอบ


โปรดติดตามตอนที่ 2

 


 ขอขอบทุกๆแหล่งที่มาของข้อมูล

 

========================================================