Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,547
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,973
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,299
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,228
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,774
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,894
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,859
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,126
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,809
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,698
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,630
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,840
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,103
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,510
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,022
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,910
17 Industrial Provision co., ltd 39,578
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,651
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,561
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,902
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,847
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,199
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,607
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,303
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,837
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,835
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,209
28 AVERA CO., LTD. 22,904
29 เลิศบุศย์ 21,921
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,691
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,586
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,188
33 แมชชีนเทค 20,187
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,447
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,402
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,147
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,838
38 SAMWHA THAILAND 18,603
39 วอยก้า จำกัด 18,228
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,827
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,683
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,604
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,600
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,519
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,462
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,451
47 Systems integrator 17,030
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,974
49 Advanced Technology Equipment 16,788
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,757
06/10/2552 09:36 น. , อ่าน 18,393 ครั้ง
Bookmark and Share
เครื่องอุ่นอากาศ และ พัดลมที่ใช้ในเครื่องกำเนิดไอน้ำ
โดย : Admin
 



เครื่องอุ่นอากาศ และ พัดลมที่ใช้ในเครื่องกำเนิดไอน้ำ


 

 Air Preheaters

       ใช้พลังงานจาก Flue gas ที่อุณหภูมิประมาณ 600-800F ก่อนปล่อยระบายทิ้งที่อุณหภูมิประมาณ 275-350F โดยหลีกเลี่ยงการควบแน่นของไอน้ำในก๊าซ ซึ่งจะส่งผลต่อการกัดกร่อนได้

        ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง ประมาณ 4% ถ้าอุณหภูมิอากาศเพิ่มได้ 200F และได้ถึง 11% ถ้าเพิ่มได้ 500F     เตาเผาถ่านหินบด (pulverized-coal furnace) ต้องใช้อากาศที่อุณหภูมิ 300-600F สำหรับการอบแห้งถ่านหินด้วย

ยุคแรก เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดแผ่นแบน   ปัจจุบันนิยมแบบท่อเนื่องจากรับความดันได้ดีกว่า ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทด้วยกันคือ

 Recuperative air preheaters เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดเปลือกและท่อแบบไหลสวน
 Regenerative air preheaters เป็นแบบโรตารี 'Ljungstrom' เป็นแบบที่มีตัวกลางรับความร้อนจากด้านร้อนไปถ่ายเทให้ด้านเย็นกว่า

 

รูปตัวอย่างเครื่องอุ่นอากาศแบบท่อไหลสวนทาง
ทางลัดอากาศใช้ควบคุมอุณหภูมิโลหะด้านอากาศเข้า

รูปแสดงตัวอย่างเครื่องอุ่นอากาศแกนดิ่ง Ljungstrom

 
 
 
 

พัดลมและการควบคุมพัดลม ( Fans & Fan Control)

  
พัดลม (Fans)

          เครื่องกำเนิดไอน้ำยุคแรก ๆ มีขนาดเล็กใช้แรงดูดอากาศตามธรรมชาติของปล่องควัน การออกแบบทางเดินก๊าซร้อนภายในจึงต้องระวังการสูญเสียความดัน
 
    เครื่องกำเนิดไอน้ำขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ต้องอาศัยพัดลมขนาดใหญ่ช่วยดันอากาศเข้า หรือดูดอากาศออก หรืออาจต้องใช้ทั้งสองอย่าง ซึ่งแบ่งพัดลมออกเป็นสองชนิดคือ   พัดลมเป่า (FD, forced-draft fans) และ พัดลมดูด (ID, induced-draft fans)
 
   
 

   พัดลมเป่า (forced-draft fans)
ค่อนข้างมีใช้งานมากกว่า โดยเฉพาะในเรือเดินสมุทร ทำให้ทั้งระบบมีความดันสูงกว่าบรรยากาศ จึงเป็นเตาเผาความดัน (pressure furnace) และเนื่องจากสัมผัสอากาศเย็นเท่านั้นจึงมีข้อดีดังนี้
        - มีปัญหาซ่อมบำรุงน้อย 
        - ใช้พลังงานต่ำกว่าเพราะอากาศเย็นมีปริมาตรน้อยกว่า
        - ภาระน้อยกว่า เพราะไม่ต้องขับก๊าซจากการเผาไหม้ด้วย 

        ผลต่าง ๆ ข้างบนทำให้ต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่ำกว่า แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน กล่าวคือการรั่วไหลของก๊าซพิษออกจากเตาเผา ทำให้ต้องสร้างเตาแบบไม่รั่วต้องออกแบบพิเศษ เกี่ยวกับอุปกรณ์ประกอบ เช่น ประตูตรวจสอบ กล่องเป่าเขม่า และชุดฝาหัวจุดไฟเชื้อเพลิง เพื่อความวางใจ มักใช้พัดลมเป่าขนานกันสองตัว ขนาดตัวละ 60% ของภาระเต็ม เพื่อใช้งานยามตัวใดตัวหนึ่งเสีย

       พัดลมดูด(Induced-draft fans)

            การใช้งานจะติดตั้งบริเวณระหว่าง เครื่องอุ่นอากาศและปล่องควัน อาจอยู่ก่อนหรือหลังเครื่องดักฝุ่นก็ได้ แล้วปล่อยสู่ความดันบรรยากาศ ทำให้เตาเผาทั้งระบบมีความดันต่ำกว่าบรรยากาศ ต้องรับภาระขับก๊าซร้อนที่ประกอบด้วย อากาศ และก๊าซจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง รวมทั้งอากาศที่รั่วเข้าในระบบด้วย ทำให้มีปริมาณอัตราไหลที่สูงกว่า พัดลมเป่า และยังต้องสามารถต้านทานการกัดกร่อนจากก๊าซเผาไหม้ ปรกติจะใช้งานร่วมกับพัดลมเป่า
 
 
   
 
       เครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงสะอาดเช่น ก๊าซหรือน้ำมัน มักออกแบบให้มีความดัน (Pressurized firing) ส่วนระบบที่ใช้ถ่านหินมักเป็นทั้งแบบความดัน หรือ สมดุล (balanced-draft firing) เครื่องกำเนิดไอน้ำสมัยใหม่นิยมแบบหลังคือสมดุลหรือความดันเท่าบรรยากาศ

 

รูปตัวอย่างใบพัดลมแบบหนีศูนย์กลาง (a) forward  (โค้งหน้า)
(b) flat ( ใบตรง) (c) โค้งหลัง (Backward-curved) 
ผังเวคเตอร์แสดงความเร็วปลายใบ Vb ,
ความเร็วสัมพัทธ์, และความเร็วสัมบูรณ์ V ของอากาศออกจากใบพัด

รูปกราฟคุณลักษณะทั่วไปที่ความเร็วคงที่
ของพัดลมแบบหนีศูนย์กลางใบพัดโค้งหลัง
 
 
 


 
 
  การควบคุมพัดลม (Fan Control)
           แบ่งเป็นสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ Damper control เป็นลักษณะการควบคุมอัตราไหลของพัดลมในยุคแรก ๆ มีราคาถูก แต่มีการสูญเสียพลังงาน เนื่องจากพัดลมจะทำงานเต็มกำลังตลอดเวลา และ Variable speed control เป็นลักษณะการควบคุมอัตราไหลของพัดลมสมัยใหม่ เมื่อเทคโนโลยีการควบคุมความเร็วมอเตอร์ก้าวหน้าขึ้น ทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้
 
 
 
 
รูปกราฟสมรรถนะทั่วไปของพัดลมแบบหนีศูนย์กลาง แสดงผลของการแปรค่าความเร็ว
 


 
ขอขอบแหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.me.psu.ac.th/~smarn/pplant/P3j.htm
 

 

========================================================