Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,547
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,973
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,299
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,229
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,775
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,894
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,859
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,126
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,810
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,699
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,630
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,840
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,104
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,510
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,022
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,910
17 Industrial Provision co., ltd 39,578
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,652
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,562
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,902
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,847
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,199
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,607
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,304
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,837
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,835
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,209
28 AVERA CO., LTD. 22,904
29 เลิศบุศย์ 21,921
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,691
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,586
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,188
33 แมชชีนเทค 20,187
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,447
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,402
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,147
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,838
38 SAMWHA THAILAND 18,603
39 วอยก้า จำกัด 18,229
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,827
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,683
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,605
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,600
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,519
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,462
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,451
47 Systems integrator 17,030
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,974
49 Advanced Technology Equipment 16,789
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,757
06/10/2552 10:54 น. , อ่าน 35,000 ครั้ง
Bookmark and Share
ทำไมต้องควบคุมความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิก ?
โดย : Admin

เรียบเรียงโดย   ชัยวัฒน์  โกศลสิริธร 

 

 

  ทำไมต้องควบคุมความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิก ?

         เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก ว่าเราจะควบคุมความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิกไปทำไม เมื่อน้ำมันไฮดรอลิกเป็นแค่ตัวกลางในการส่งกำลัง แล้วทำไมผู้ออกแบบและสร้างระบบไฮดรอลิกจึงบอกว่า กว่า 75% ของระบบไฮดรอลิกที่เสียหายเกิดจากความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิก

       ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจว่าน้ำมันไฮดรอลิกที่สกปรก ส่งผลกระทบอย่างไรกับระบบไฮดรอลิก เราต้องเข้าใจหน้าที่ของน้ำมันไฮดรอลิกอย่างถ่องแท้เสียก่อน



หน้าที่ของน้ำมันไฮดรอลิก (Task of Hydraulic fluid)

น้ำมันไฮดรอลิกมีอยู่ด้วยกัน 4 หน้าที่คือ

    - ตัวกลางในการส่งถ่ายกำลัง
    - หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆของระบบไฮดรอลิก
    - ป้องกันการรั่วซึมระหว่างช่องว่างของชิ้นส่วน
   - ระบายความร้อน

           จากหน้าที่ดังที่กล่าวมาของน้ำมันไฮดรอลิกจะเห็นว่าเมื่อน้ำมันไฮดรอลิกสกปรกจะส่งผลกระทบต่อหน้าที่ในการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบไฮดรอลิกมากที่สุด  นั่นคือจะส่งผลให้เกิดการสึกหรอในอัตราที่สูงคล้ายกับการใช้กระดาบทรายขัดสีชิ้นส่วนต่างๆที่เสียดสีกันในระบบไฮดรอลิก เนื่องจาก สิ่งสกปรกจะเข้าไปอยู่ในช่องว่างของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน ซึ่งแต่เดิมจะมีฟิล์มน้ำมันกั้นอยู่ แต่ถ้าน้ำมันไฮดรอลิกสกปรก จะมีสิ่งสกปรกแทรกอยู่ด้วยจึงเป็นเหมือนกระดาษทรายที่ขัดสีชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน



รูป1A


รูป1B

      จากรูปที่ 1A จะเห็นว่าเศษสิ่งสกปรกที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างและเล็กกว่าช่องว่างของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน จะไม่มีผลกระทบต่อการสึกหรอของชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน แต่ถ้าเศษสิ่งสกปรกมีขนาดใกล้เคียงกับช่องว่างมันจะส่งผลกระทบต่อชิ้นส่วนที่เสียดสีกัน ทำให้เกิดการกัดกร่อนและสึกหรอ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสิ่งสกปรกเพิ่มขึ้นจากผิวของชิ้นส่วนที่ถูกกักกร่อนเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ ส่งผลให้น้ำมันสกปรกขึ้นรวมทั้งเกิดการสึกกร่อนและสึกหรอมากขึ้น ดังรูปที่ 1B

       นอกจากนี้สิ่งสกปรกขนาดเล็กกว่าช่องว่าง อาจจะเกิดการสะสมในช่องว่างทำให้เกิดการติดขัดของชิ้นส่วนได้ เช่นการติดขัดของสพูล ในวาล์วควบคุมทิศทาง

 

 สรุปผลกระทบของสิ่งสกปรกในน้ำมันไฮดรอลิกต่อระบบไฮดรอลิก   
 

  • ทำให้เกิดการสึกหรอสูง
  • การติดขัดของชิ้นส่วนต่าง ๆ
  • การอุดตันของ รู Orifice
  • ทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพเร็ว

  

แหล่งที่มาของความสกปรก (Source of Contamination) 

  1.ตกค้างอยู่ในอุปกรณ์ :    เป็นสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาสร้างหรือซ่อมระบบไฮดรอลิก

  2.ขณะทำการซ่อมระบบ :   เป็นความสกปรกที่เกิดขึ้นจากการบริการ การซ่อม เช่นการตรวจสอบซ่อม หรือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ (ทำงานในบริเวณที่สกปรก หรือไม่ปิดบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ที่ทำการถอดให้ดี ทำให้มีฝุ่นละอองหรือเศษอนุภาคต่าง ๆ เข้าไปในระบบได้

  3.ขณะระบบทำงานตามปกติ : เป็นความสกปรกที่เกิดขึ้นจากภายในระบบไฮดรอลิกเอง เช่น

  • เกิดจากชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ ไฮดรอลิก ซึ่งอาจเป็นผลจากการสึกหรอ, การกัดกร่อน , คาวิเทชั่น หรือ Oxidation
  • Air breather (ไม่ได้ติดตั้งไส้กรองที่ละเอียดพอ หรือติดตั้งไส้กรองแต่ขาดการดูแล ทำให้อุดตันอากาศเข้าสู่ถังผ่านช่องทางอื่น ๆ)
  • ก้านสูบของกระบอกสูบ (ฝุ่นหรืออนุภาคที่ละเอียดจะจับที่ก้านสูบขณะก้านสูบเลื่อนออก และเมื่อก้านสูบเลื่อนกลับเข้ามาในกระบอกไฮดรอลิก จะนำฝุ่นหรืออนุภาคที่ละเอียดเข้ามาในกระบอกด้วย)

   4. การเติมน้ำมันใหม่ ( Adding with new oil ) : น้ำมันไฮดรอลิกใหม่ ๆ ที่เติมเข้าระบบไม่สะอาดพอ 


การกำจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิก

      ชนิดของความสกปรกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ อนุภาคที่แข็งและคม , อนุภาคที่อ่อนนุ่มและเจล และสสารที่ละลายอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิก   อนุภาคที่แข็งและคม อนุภาคที่อ่อนนุ่มและเจล สามารถกำจัดออกไปจากระบบได้โดยให้น้ำมันไหลผ่านกรอง ส่วนสสารที่ละลายอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิกไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการให้น้ำมันไหลผ่านกรอง แต่จำต้องทำการเปลี่ยนน้ำมันใหม่หรือผ่านกรรมวิธีการพิเศษ

หน้าที่ของกรอง ในระบบไฮดรอลิก
   + ป้องกันไม่ให้น้ำมันไฮดรอลิกสกปรก (Return line filter & By pass filter)
    + ป้องกันอุปกรณ์ที่ไวต่อความสกปรกของน้ำมัน (Pressure filter)
    + ป้องกันสิ่งสกปรกจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาในระบบ (Air breather)
    + ป้องกันการเสียหายอย่างรุนแรงของอุปกรณ์ไฮดรอลิก ( Pressure filter & Suction filter)


ตำแหน่งการติดตั้งกรองในระบบไฮดรอลิก


รูปที่ 2 ตำแหน่งในการติดตั้งกรองในระบบไฮดรอลิก

 


การป้องกันความสกปรกเข้าสู่ระบบไฮดรอลิก

1. การเติมน้ำมันไฮดรอลิกเข้าไปในระบบ
        น้ำมันไฮดรอลิกที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทต่าง ๆ นั้น มีความสะอาดเพียงพอที่จะนำมาใช้ในระบบไฮดรอลิกได้ทันที แต่จากกระบวนการขนถ่าย บรรจุ รวมทั้งการจัดเก็บทำให้น้ำมันมีความสกปรกมากขึ้น ดังนั้นก่อนที่จะเติมน้ำมันไฮดรอลิกใหม่เข้าไปในระบบ จะต้องกรองก่อน โดยความละเอียดของกรองจะต้องมีความละเอียดเท่ากับหรือมากกว่า ความละเอียดของกรองในระบบ ดังรูปที่ 3


รูปที่ 3 แสดงวงจรของ ชุดเติมน้ำมันไฮดรอลิกเข้าไปในระบบไฮดรอลิก



2. การ Flushing ระบบไฮดรอลิก
    ก่อนการ Start-up ระบบไฮดรอลิกครั้งแรก หรือมีการเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิก จะต้องทำการ Flushing ระบบไฮดรอลิกเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่หลุดเข้ามาในระบบ ออกไปจากระบบ

3. ซีลกันฝุ่นของกระบอกไฮดรอลิก
       ตรวจสอบซีลกันฝุ่นของกระบอกไฮดรอลิกอย่างสม่ำเสมอ กรณีที่กระบอกไฮดรอลิกติดตั้งใช้งานในบริเวณที่มีสิ่งสกปรกมากควรใช้ซีลปลอกช่วยป้องกันก้านสูบสัมผัสกับสิ่งสกปรก ดังรูปที่ 4


รูปที่ 4

4. กรองอากาศ ( Air breather )
      ตรวจสอบและทำความสะอาดการอุดตันของกรองอากาศอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 2 สัปดาห์ ต่อ 1 ครั้ง

5. กรองน้ำมันไฮดรอลิก
      กรองน้ำมันไฮดรอลิกควรมีเกจวัดการอุดตันของไส้กรอง ( ค่าความดันตกคร่อม ) และต้องทำการตรวจสอบอยู่เสมอ รวมทั้งทำการเปลี่ยนไส้กรองทันที่ที่ทำได้ เมื่อไส้กรองอุดตัน

6. การซีลอุปกรณ์
      ซีลปิดปลายท่อ , สายอ่อน และ Manifold block ขณะทำการซ่อมหรือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ไฮดรอลิก

7. ระดับความสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิก
    สุ่มน้ำมันส่งไปตรวจสอบระดับความสกปรกของน้ำมันอยู่เสมอ และวิเคราะห์หาจุดบกพร่องรวมทั้งทำการแก้ไข เมื่อ ระดับความสกปรกของน้ำมันมีค่าเกินระดับที่ตั้งไว้

 


 


ขอขอบคุณผู้เรียบที่มอบบทความให้ทางนายเอ็นจิเนียร์ เผื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ภาคอุตสาหกรรม
 

 

========================================================