Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,011
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,599
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,002
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,809
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,477
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,571
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,527
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,835
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,370
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,463
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,378
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,526
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,610
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,155
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,548
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,570
17 Industrial Provision co., ltd 39,241
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,390
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,311
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,637
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,466
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,868
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,235
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,975
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,600
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,529
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,967
28 AVERA CO., LTD. 22,600
29 เลิศบุศย์ 21,701
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,402
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,265
32 แมชชีนเทค 19,906
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,882
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,199
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,153
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,813
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,616
38 SAMWHA THAILAND 18,311
39 วอยก้า จำกัด 17,919
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,494
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,348
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,317
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,257
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,233
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,149
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,088
47 Systems integrator 16,725
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,644
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,470
50 Advanced Technology Equipment 16,460
06/10/2552 10:35 น. , อ่าน 8,332 ครั้ง
Bookmark and Share
ใครคือบิดาแห่งการรถไฟ ?
โดย : Admin

 ประวัติและผลงาน
    วิศวกรชาวอังกฤษ (George Stephenson) 
 เกิด 9 มิถุนายน ค.ศ. 1781
 ถึงแก่กรรม 12 สิงหาคม ค.ศ. 1848 



จอร์จ สตีเฟนสัน
ผู้ให้กำเนิดรถไฟคันแรก

 ยอร์จ สตีเฟน ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้ประดิษฐ์รถไฟคนแรกในโลก" เกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน  ค.ศ. 1781 ที่ตำบลวีลัมใกล้กับเขตเมืองนิวคาสเซิลประเทศอังกฤษเป็นบุตรของกรรมกรขุดถ่านหินจน ๆ คนหนึ่ง ซ้ำครอบครัวนี้ยังมีบุตร ซึ่งรวมทั้งยอร์จด้วยถึงหกคนจึงอยุ่ในสภาพของความยากแค้นในกลุ่มคนขุดถ่านหินด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ ยอร์จจึงต้องออกทำงานช่วยบิดาหาเงินแต่เล็ก ๆ ช่วยดูแลน้องเล็ก ๆ ให้พ้นอันตรายจากถ่านหินทับ ต้องไปรับจ้างเลี้ยงวัวตามคอกปศุสัตว์และเมื่อโตขึ้นหน่อยก็รับจ้างอยู่ในบ่อถ่านหินกับบิดา  คือทำหน้าที่เลือกถ่านหินออกจากเศษหิน พออายุ 15 ปีก็ทำหน้าที่พนักงานขับรถขนถ่านหิน 

        ว่าถึงการศึกษาแล้ว ยอร์จค่อนข้างจะอาภัพอยู่สักหน่อย เพราะแม้อายุจะได้ 15 ปีแล้ว ก็ยังไม่เคยจะเข้าโรงเรียนเลย ต้องทำหน้าที่ขับรถถ่านหินเรื่อยไป จนกระทั่งอายุ 21 ปี จึงได้แต่งงาน และมีลูกชายคนหนึ่ง แต่ต่อมาภรรยาของเขาถึงแก่กรรม เขาต้องตกเป็นหม้ายเลี้ยงลูกคนเดียว 

        

         และในระยะนี้เอง ยอร์จได้ถือโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียนผู้ใหญ่ ขณะที่พักงานตอนกลางคืน และเหตุที่จะทำให้เขากลายเป็นคนมีชื่อเสียง และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประดิษฐ์รถไฟคนแรก ก็เห็นจะเป็นด้วยหน้าที่ขับรถของเขานี่เอง ทำให้เขาสนใจในเรื่องกลไกและเครื่องยนต์ของรถเป็นพิเศษ และเมื่อพบกับปัญหาเรื่องหนังสือ ซึ่งเขาปรารถนาจะเรียนรู้ในทฤษฎีทางนี้ เขาจึงต้องขวนขวายเข้าเรียนจนได้ โดยไม่คิดกระดากอายว่า โตแล้วทั้งยังมีบุตรแล้วอีกด้วย แต่กลับคิดมุมานะศึกษาจนกระทั่งพออ่านออกเขียนได้ และได้ใช้เป็น  ประโยชน์ในการที่เขาได้ศึกษาวิชาหรือตำราทฤษฏีในเครื่องยนต์กลไกได้เป็นอย่างดี 


        อาศัยความจำเจ อยู่กับเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ มากเข้า เขาก็สามารถที่จะแก้ไขและซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ได้ดี เช่น ครั้งหนึ่ง เขาได้แก้ไขเครื่องยนต์สูบน้ำของโรงงานที่เสียจนใช้การได้ดีและได้รับรางวัลตอบแทนเป็นเงิน 10 ปอนด์ ทั้งได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นคนคุมเครื่องยนต์และเครื่องกลไกของโรงงานอีกด้วย ขณะนั้น ยอร์จมีรายได้ประมาณ 100 ปอนด์ ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่ทำให้เขามีความสุขขึ้นบ้างแล้วไม่ลำบากเหมือนสมัยเล็ก ๆ
        อันที่จริง จะเรียกว่า ยอร์จเป็นผู้ประดิษฐ์รถไฟหรือรถจักรไอน้ำขึ้นคนแรก ก็ยังไม่ถูกทีเดียวนัก แต่เหตุที่เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์รถไฟคนแรก ก็น่าจะเป็นด้วยว่า ผลงานประดิษฐ์ของเขาซึ่งมาตามหลังของผู้ประดิษฐ์คนก่อน ๆ นั้น สามารถออกใช้การสู่สายตาประชาชนได้อย่างดี ทั้งสามารถออกใช้การสู่สายประชาชนได้อย่างดี ทั้งสามารถรับขนส่งพัสดุและคนโดยสารเดินทางไปไหนมาไหนได้ไกล ๆ นั่นเอง
        เพราะในระยะก่อนหน้านั้น ได้มีนักประดิษฐ์ชาติต่าง ๆ ประดิษฐ์ใช้ไอน้ำขึ้นได้แล้ว เช่น ในปี ค.ศ. 1170 ได้มีวิศวกรชาวฝรั่งเศษคนหนึ่ง ชื่อ คักนอต คิดสร้างรถใช้ไอน้ำเป็นกำลังขึ้นได้ แต่เมื่อทดลองนำออกวิ่งรถแล่นไปชนกำแหงพัง นักประดิษฐ์ผู้นั้นก็เลยหยุดชะงักการสร้างต่อไป 

        วิศวกรชาวสก๊อตแลนด์อีกผู้หนึ่งชื่อ ซีมิงตัน คิดสร้างเรือไฟขึ้นได้ก่อน แล้วต่อมาคิดสร้างรถจักรไอน้ำสำเร็จแต่ไม่สามารถจะนำออกไปใช้งานเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ เนื่องจากน้ำหนักของตัวรถหนักมาก  ถ้านำออกแล่นบนถนนก็คงทำให้ถนนพังหรือยุบลงไปเสียก่อนที่จะแล่นไปถึงจุดหมาย เป็นอันต้องล้มเลิกไป 

        ต่อมาปี ค.ศ 1800 วิศวกรชาวอังกฤษอีกผู้หนึ่งชื่อ ริชาร์ด เทรเวทิค เป็นชาวเมืองคลอวอล ได้คิดสร้างรถไอน้ำ 4 ล้อขึ้น ค่อนข้างจะใช้การได้ดีกว่ารถผู้ประดิษฐ์รั้งสองคนแรก แต่จะนำไปวิ่งบนถนนเรียบ ๆ ก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะน้ำหนักรถมาก จึงได้ดัดแปลงใช้รางรับเป็นนางไม้สำหรับให้รถวิ่ง และต่อมาจึงได้คิดสร้างรางเหล็กขึ้นแทน ขณะเดียวกัน ริชาร์ด เทรเวทิค ก็ได้ปรับปรุงรถของเขาให้ดีขึ้นนำใช้วิ่งในร่างเหล็กได้สะดวก จนถึงปี ค.ศ. 1804 จึงได้นำไปใช้เป็นรถในบ่อถ่านหินทางแคว้นเวลส์ได้ แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นดีเดียวนัก จนกระทั่งต่อมานักประดิษฐ์คนหนึ่งชื่อ เบลนดีนซอฟ ได้คิดสร้างรางเหล็กชนิดเป็นร่องขึ้นทำให้รถแล่นได้ดีขึ้นกว่าเดิมและนำไปใช้ในบ่อถ่านหินทางเมืองลีดส์ 


        และรถไอน้ำที่ริชาร์ด ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ก็ได้นำมาใช้ในบ่อถ่านหินทางอีลัม ใกล้กับที่พักของ ยอร์จ สตีเฟนสันด้วย ยอร์จึงได้มีโอกาสเลียบเคียงเข้าไปสังเกต และพยายามเรียนรู้ถึงลักษณะของเครื่องจักรต่าง ๆ  เหล่านั้น จนกระทั่งเขาเกิดความคิดว่ารถชนิดนี้เขาสามารถจะประดิษฐ์ขึ้นได้และอาจจะประดิษฐ์ได้ดีกว่าด้วยซ้ำ 

        เขาจึงได้นำความคิดนี้ มาบอกเล่าแก่เจ้าของบ่อถ่านหินที่คิลลิงเวิธแห่วหนึ่ง เพื่อขอความร่วมในการออกทุนให้เขาสร้าง เจ้าของบ่อถ่านหินเกิดศรัทธา ยอมเป็นนายทุนให้เขา ยอร์จจึงลงมือสร้างตามเค้าโครง  เขาซึ่งคิดขึ้น เขาใช้เวลาอยู่ 10 เดือนจึงสำเร็จ 

        วันที่เขาสร้างรถจักรไอน้ำขึ้นสำเร็จเป็นคันแรก คือวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 ลักษณะของตัวรถเป็นไม้มีล้อเหล็ก 4 ล้อ และมีปล่องระบายควันไฟสูง สามารถลากรถหนักสามสิบตันขึ้นไปได้ในระยะความเร็วถึงชั่วโมงละ 4 ไมล์ เขาให้ชื่อรถจักรคันแรกนี้ว่า "บลูเชอร์" ซึ่งเป็นนามของแม่ทัพเยอรมันผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง 

        รถจักรคันแรกของยอร์จ สตีเฟนสัน ยังไม่ดีทีเดียวนัก เพราะกำลังแรงม้าไม่ดีไปกว่าการใช้ลากเท่าไรนัก เหตุนี้เขาจึงพยายามปรับปรุงแก้ไขเรื่อย ๆ ซึ่งขณะเดียวกัน ยอร์จจึงได้คิดสร้างโคมไฟที่ใช้สำหรับกรรมกร
 บ่อถ่านหินขึ้นสำเร็จด้วย ในวิธีประดิษฐ์แบบเดียวกับที่เซอร์ ฮัมฟรีเดวี คิดประดิษฐ์ขึ้นได้ และดูเหมือนว่าจะเป็นระยะเวลาเดียวกันกับที่เดวีประดิษฐ์ขึ้นเสียด้วย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันอาจจะแปลกใจวส่า ยอร์จเอา  ความรู้มาจากไหน ในเมื่อเขาไม่มีความรู้ในทางเคมีหรือฟิสิคส์เลย แต่เหตุไฉนเขาจึงสามารถประดิษฐ์ขึ้นได้  ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับที่เดวีคิดสร้างได้สำเร็จ และโคมไฟหรือตะเกียงที่ใช้ในบ่อถ่านหินของยอร์จนี้ก็ได้ชื่อ  ว่า "จอร์ดี" เป็นที่ระลึก 

        ในสมัยนั้น ถ่านหินนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งทางกรุงลอนดอนต้องใช้เป็นจำนวนมาก และการขนส่งก็ต้องใช้วิธีลำเลียงทางเรือเป็นส่วนใหญ่ บ่อถ่านหินที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือชายน้ำก็ไม่เท่าไรนัก แต่บ่อถ่านหินที่อยู่ตามหัวเมืองไกลชายน้ำ เช่นดาร์ลิงตันเป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยรถม้าบรรทุกขนส่งเป็นระยะไกล จึงได้เกิดความคิดขึ้นสองทางคือหนึ่งคิดจะขุดคลอง และอีกวิธีหนึ่งคือสร้างทางรถไฟขึ้น ซึ่งวิธีหลังนี้มีผู้เห็นชอบหลายคน 

        ด้วยเหตุนี้ ชาวอังกฤษผู้หนึ่งซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในวงการอุตนสาหกรรมค้าถ่านหินชื่อ เอ็ดเวิด พีส  ได้พยายามวิ่งเต้นให้มีการจัดสร้างทางรถไฟขึ้น ซึ่งในที่สุดรัฐสภาก็ได้ออกกฎหมายให้สร้างทางรถไฟระหว่าง  เมืองด๊อคตันและดาร์ลิงตันขึ้น เพื่อให้ใช้เป็นทางคมนาคมในการขนส่งถ่านหินและสินค้าอื่น ๆ ด้วย 

        ความคิดดังกล่าวนี้ ในขั้นแรกก็คิดเพียงแต่จะขนส่งถ่านหินเหล็กและข้าวโพดรวมทั้งฝ้ายด้วยเท่านั้น  ไม่มีใคร่คำนึงถึงผู้โดยสารเพราะไม่มีใครอยากจะนั่งไปกับรถโดยสารสกปรกที่ขนส่งพวกถ่านหิน และดูเหมือนว่าจะไม่มีใครคำนึงถึงเรื่องรถจักรด้วยซ้ำ เพราะเวลานั้นยังใช้ม้าลากขบวนรถบรรทุกสินค้าให้แล่นไปตามรางอยู่ 

        ด้วยเหตุนี้ ความคิดของยอร์จ สตีเฟนสัน ในขั้นแรกที่ว่า เมื่อสร้างรถไฟแล้ว จะเอาไปเดินที่ไหน  ด้วยเวลานั้นก็เห็นแต่ประโยชน์ในการขนส่งถ่านหินในบ่อถ่านหินเท่านั้น เมื่อยอร์จ สตีเฟนสัน เกิดความคิดว่า  รถไฟของเขาควรจะได้ใช้ประโยชน์แก่กิจการอื่น ๆ ด้วย ไม่เฉพาะแต่การขนส่งถ่านหินอย่างเดียว เขาจึงเดิน  ทางไปหาเอ็ดเวิธ พีส ซึ่งเป็นผู้วิ่งเต้นในการจัดสัมปทานทางเดินของรถไฟนี้ ชี้แจงอ้างเหตุผลถึประโยชน์ของ  รถไฟที่เขาสร้างขึ้นให้ท่านผู้นี้ฟังจนเอ็ดเวิด พีส เกิดศรัทธา เดินทางมาดูรถไฟด้วยเงินปีละ 300 ปอนด์ จน
 กระทั่ง ยอร์จสร้างเสร็จแล้ว เขาเองเป็น พ.ข.ร. ของรถจักรที่เขาสร้างลากขบวนรถไฟเป็นครั้งแรก ออกจาก  สถานีเมืองดาร์ลิงตันไปยังสต๊อคตัน เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1825 แต่เป็นเพียงการขนส่งสินค้าต่าง ๆ เท่านั้นยังไม่มีรถโดยสารสำหรับบรรทุกผู้โดยสาร หรือยังไม่มีใครศรัทธา จะโดยสารรถไฟเท่านั้น ต่อเมื่อ ภายหลัง  ได้มีการพิสูจน์แล้วว่ารถไฟสามารถวิ่งได้เร็วกว่าม้าลาก และไม่เคยปรากฏอุบัติขึ้นด้วย ฉะนั้น ประชาชนจึงหันมาสนใจโดยสารรถไฟขบวนนี้มากขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นรถโดยสารและรถบรรทุกสินค้าร่วมในขบวนเดียวกันเป็นประจำ 

        รถไฟสายที่จำเป็นต้องสร้างเพิ่มขึ้น ในระยะต่อมาก็คือ สายลิเวอร์พลู - แมนเซสเตอร์ ซึ่งมีการขนส่ง ฝ้ายมากกว่าทุก ๆ เมืองเป็นประจำ งานสร้างรถไฟสายนี้ จึงตกเป็นของยอร์จ สตีเฟนสันอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าในชั้นแรก จะพบอุปสรรคนานาประการในการสร้างสายนี้ ด้วยเหตุที่เจ้าของรถม้า และเจ้าของที่ดินต่าง ๆ  พากันขัดขวางแต่ยอร์จ ก็สามารถโต้แย้งและชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าของรถไฟให้รัฐสภายอมอนุมัติให้สร้างได้ และรัฐสภาประกาศใช้กฤษฎีกาจัดสร้างรถไฟสายนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1826 

        ครั้งนี้ ยอร์จได้ประดิษฐ์รถจักรของเขาขึ้นใหม่ ตามแนวความคิดของเขา ซึ่งมีกำลังสูงสุดถึงชั่วโมงละ 29 ไมล์ และกำลังปกติชั่วโมงละ 15 ไมล์ การเปิดทางรถไฟสายนี้ เพื่อให้รถจักรขบวนแรกออกเดินทางคือ ปี ค.ศ. 1829 

        ในการทำพิธีเปิดการเดินรถไฟสายนี้ ปรากฏว่ามีผู้มีเกียรติหลายท่านไปร่วมพิธีด้วยกัน และผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในการทำพิธีเปิดคือ ดยุค อ๊อฟ เวลลิงตันซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขบวนรถ  ขบวนแรกประกอบด้วยหัวรถจักร และรถโดยสารมีด้วยกันทั้งหมด 8 คัน แต่ก็มีข่าวที่น่าสลดใจอยู่ด้วยในงานนี้ ที่ปรากฏว่า รัฐมนตรีผู้หนึ่งชื่อ ฮัสคิสสัน ได้ถูกรถไฟขบวนนี้ชนถึงแก่ความตาย ในขณะที่ท่านรัฐมนตรีก้าวลงจากรถไปหาท่านนายกรัฐมนตรี 

        ผลงานของเขาในระยะต่อมานั้น เขาได้จัดสร้างรถไฟในประเทศอังกฤษขึ้นอีกหลายสาย โดยมีโรเบิร์ต  สตีเฟนสัน บุตรชายของเขาเป็นผู้ช่วยเหลืออยู่ด้วย รถขบวนทุกผู้โดยสารขบวนแรกของเขา ในปี ค.ศ. 1825  นั้นเขาให้ชื่อว่า "แอคตีฟ" และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "โลโคโมชั่น" ส่วนขบวนที่ใช้เริ่มเดิมครั้งแรกจาก ลิเวอร์พลู  - แมนเซสเตอร์นั้นชื่อ "รอคเก็ท"
        ยอร์จ สนีเฟนสัน ถึงแก่กรรมเมื่อ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1848 ที่เชสตอร์ฟิลด์

 

 

ขอบคูณทุกแหล่งที่มาของข้อมูล
 

 

========================================================