Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,011
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,599
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,003
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,809
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,478
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,571
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,527
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,835
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,374
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,463
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,378
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,526
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,610
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,156
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,549
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,570
17 Industrial Provision co., ltd 39,242
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,390
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,311
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,637
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,467
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,868
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,235
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,975
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,600
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,529
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,968
28 AVERA CO., LTD. 22,600
29 เลิศบุศย์ 21,702
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,403
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,266
32 แมชชีนเทค 19,907
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,882
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,199
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,153
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,813
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,616
38 SAMWHA THAILAND 18,311
39 วอยก้า จำกัด 17,919
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,494
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,348
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,317
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,257
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,233
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,149
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,088
47 Systems integrator 16,725
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,644
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,470
50 Advanced Technology Equipment 16,460
13/12/2552 08:15 น. , อ่าน 41,070 ครั้ง
Bookmark and Share
การแบ่งประเภทของรถไฮบริด (Hybrid Type)
โดย : Admin

โดย: เว็บมาสเตอร์ นายเอ็นจิเนียร์ ดอดคอม
 

       มาทำความรู้จักกับระบบไฮบริดกันอีกสักหน่อยว่า จริง ๆแล้วระบบที่เรียกกันว่าไฮบริดเทคโนโลยีนั้นหมายถึงอะไร มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นเป็นมีหลักการทำงานอย่างไร

 

 รถยนต์ไฮบริด หรือ พาหนะไฮบริด  ( Hybrid Cars or Hybridvehicle )

         รถยนต์ไฮบริด คือนวตกรรมใหม่ที่ผสมผสานสอง(หรือมากกว่า)แหล่งกำลังงาน (Power sources) เข้าด้วย ส่วนจะเป็นการผสมผสานคู่กันระหว่างเทคโนโลยีด้านใดบ้างนั้นคงต้องติดตามกันต่อไป   

         แต่หากจะกล่าวถึงรถยนต์ไฮบริดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันชนิดทีมีผลิตออกมาจำหน่ายในเชิงพานิชย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น จะเป็นชนิดที่เป็นการผสมระหว่างเทคโนโลยีเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE , Internal Combustion Engine).ซึ่งจะเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซล หรือเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานจากฟอสซิล (fossil fuel energy)  ร่วมกับเทคโนโลยีการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งใช้จากแบตเตอร์รีหรืออุปกรณ์ที่สามารถชาร์จพลังงานคืนกลับได้ไหม่ (rechargeable energy storage)  ในการช่วยส่งกำลังขับเคลื่อนให้กับตัวรถ

         ต้นแบบเทคโนโลยีไฮบริด จะประกอบด้วยสองแบบหลักๆ คือ ไฮบริดแบบอนุกรม  (Series Hybrid) และไฮบริดแบบคู่ขนาน  (Parallel Hybrid)  แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาและได้รวมเอาข้อดีของแต่ละประเภทเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งทำให้มีประเภทอื่นๆเพิ่มขึ้นมา โดยแต่ละประเภทจะมีหลักการทำงาน ข้อดี และข้อด้อยดังต่อไปนี้
 


 
 1. ระบบไฮบริดแบบอนุกรม หรือ แบบซีรีส์ (Series Hybrid)
       
       ระบบนี้เครื่องยนต์จะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเจเนอเรเตอร์(Generator)  เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า จากนั้นพลังงานไฟฟ้าจะถูกแปลงผันอีกครั้งด้วยอินเวอร์เตอร์ (inverter) เพื่อควบคุมแรงดัน กระแส และความถี่สำหรับควบคุมการทำงานมอเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งกำลังไปหมุนขับเคลื่อนล้อ เพื่อให้ตอบสนองความเร็ว อัตราเร่ง และแรงบิดที่ต้องการ  ลักษณะการทำงานเหมือน หัวรถจักรของรถไฟ


       ข้อดีของระบบนี้ไฮบริดแบบอนุกรมก็คือ สามารถทำให้เครื่องยนต์กำลังต่ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง โดยให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้าและจ่ายไฟฟ้าไปยังมอเตอร์ไฟฟ้าอีกทั้งยังช่วยชาร์จ ไฟแบตเตอร์รี่ไปด้วยในตัว
 


 

 2. ระบบไฮบริดแบบพาราลเรล หรือ แบบคู่ขนาน (Parallel Hybrid)
       
       ระบบคู่ขนาน ทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะขับเคลื่อนหมุนล้อไปพร้อม ๆ กัน (เป็นที่มาของชื่อเรียก คู่ขนาน) โดยที่กำลังขับเคลื่อนจากแหล่งพลังงานทั้ง 2 ชนิดจะถูกนำมาใช้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ เท่าที่รถต้องการในเวลานั้น และมอเตอร์จะใช้กำลังไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ซึ่งการชาร์จไฟจะมาจากการเปลี่ยน มอเตอร์ไฟฟ้าให้ทำงานเป็นเจเนอเรเตอร์ ในขณะที่รถเบรก

       ข้อดีคือ เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน เรียกใช้พลังงานได้เยอะ แต่ข้อด้อยคือ ไม่สามารถส่งกำลังไปขับเคลื่อนล้อได้ขณะที่ทำการชาร์จไฟฟ้าในคราวเดียวกัน เพราะว่าระบบนี้มีมอเตอร์เพียงตัวเดียวในการทำงาน 2 หน้าที่

3. ระบบไฮบริดแบบอนุกรม/คู่ขนาน (Series / Parallel Hybrid)
       
       ระบบนี้รวมเอาข้อดีระบบไฮบริดทั้ง 2 แบบเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งรถไฮบริดของโตโยต้าจะเลือกใช้ระบบนี้รวมถึง รุ่น คัมรี่ ไฮบริด ด้วย โดยระบบดังกล่าวนี้ โตโยต้า เรียกว่า THS
       


       การทำงานของระบบจะขึ้นอยู่กับสภาวะการขับขี่ว่าจะต้องการใช้กำลังจาก มอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว (ข้อดีของแบบอนุกรม) หรือจะใช้กำลังขับเคลื่อนจากทั้งมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องยนต์ (ข้อดีของแบบคู่ขนาน) นอกจากนั้น ระบบนี้ยังสามารถส่งกำลังขับเคลื่อนไปยังล้อต่าง ๆ ได้ แม้ในขณะที่เจเนอเรเตอร์สร้างกระแสไฟฟ้า


       
     สำหรับข้อดีของระบบไฮบริด  อันดับแรกคือ การประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง พร้อมกับลดมลพิษจากการปล่อยไอเสีย ลดเสียงรบกวนขณะขับขี่ รวมถึงการมีอัตราเร่งที่ราบรื่นไม่ติดขัดจากการผสานการทำงานของเครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้า  

 

 อ้างอิงจาก :  http://physics.technion.ac.il/~rutman/proposal.htm และอื่นๆ

 

 ขอขอบคุณทุกๆแหล่งที่มาขอข้อมูล

 

     

========================================================