Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 174,379
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,024
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,401
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 171,993
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 169,951
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,010
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,011
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,195
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 159,543
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 157,902
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 157,798
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 156,978
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 66,911
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 61,501
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 49,407
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,059
17 Industrial Provision co., ltd 38,715
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 37,831
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 35,778
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 33,761
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 32,951
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,303
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 30,652
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,316
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,097
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 25,983
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,439
28 AVERA CO., LTD. 22,095
29 เลิศบุศย์ 21,272
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 19,839
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 19,735
32 แมชชีนเทค 19,411
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,235
34 มากิโน (ประเทศไทย) 18,668
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 18,658
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,262
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,090
38 SAMWHA THAILAND 17,790
39 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 16,951
40 วอยก้า จำกัด 16,883
41 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 16,822
42 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 16,809
43 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 16,669
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 16,602
45 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 16,568
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 16,372
47 Systems integrator 16,148
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,055
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 15,881
50 Advanced Technology Equipment 15,874
23/11/2565 09:54 น. , อ่าน 3,884 ครั้ง
Bookmark and Share
Why Capacitor is connected with DC Motor
โดย : Admin

โดยแอดมิน: สุชิน เสือช้อย

 

แคปปาซิเตอร์ต่อขนานกับดีซีมอเตอร์เพื่ออะไร ?

 
ตัวอย่าง    ตัวเก็บประจุเซรามิกขนาดเล็กเชื่อมต่อขนานกับมอเตอร์กระแสตรงขนาดเล็ก


เหตุผลสำคัญที่ใช้ตัวเก็บประจุต่อขนานกับดีซีมอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง มีดังต่อไปนี้

1) สำหรับเหตุแรกและถือว่าเป็นเหตุผลหลักเลยก็คือเพื่อลดการรบกวน (interference)และเสียงรบกวน(noise)   กล่าวคือเมื่อมอเตอร์อยู่สภาวะที่กำลังทำงาน  ระบบก็จะมีการเรียงกระแสเข้าไปที่ขดลวดอาร์เมเจอร์ด้วยแปรงถ่านและซี่คอมมิวเตเตอร์  และยิ่งถ้ามอเตอร์วิ่งด้วยความเร็วสูงมากๆ ระบบก็จะมีการตัดต่อกระแสระหว่างแปรงถ่านและคอมมิวเตเตอร์สูงขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็จะส่งให้ทำมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสสูงขึ้นตามมาด้วย และก็จะเป็นผลทำให้เกิดการสร้างสนามแม่เหล็กรบกวน  โดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเข้าไปมีบทบาทและสร้างความขัดข้องในอุปกรณ์วิทยุที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น เครื่องรับ FM, AM  เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อลดการรบกวนนี้  โดยทั่วไปก็จะแก้ปัญหาด้วยการต่อตัวเก็บประจุคร่อมหรือขนานกับขั้วของมอเตอร์ ซึ่งตัวเก็บประจุนี้จะเข้าไปช่วยลด spikes ของกระแสไฟมอเตอร์ และลดสัญญาณรบกวนจากแม่เหล็ก



2) ในกรณีของดีซีมอเตอร์ ที่ถูกขับเคลื่อนหรือถูกควบคุมด้วยสัญญาณที่มีลักษณะเป็นแบบสัญญาณดิจิตอล เช่น ดีซีมอเตอร์ที่ถูกควบความเร็วด้วยชุดควบคุม PWM (Pulse Width Modulation)  ก็จะทำหให้มอเตอร์ได้รับสัญญาณแรงดันไฟฟ้าเป็นช่วงๆตามความกว้างพัลส์(โดยขั้นอยู่กับดิวตี้ไซเคิล) ด้วยความถี่สูงๆ  ก็จะทำให้กระแสเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่สูงๆด้วยเช่นกันและก็ส่งผลทำให้เกิดเสียงและสนามแม่เหล็กรบกวน    ดังนั้นจึงต้องมีการต่อตัวเก็บประจุขนานเข้าไปเพื่อช่วยลดเสียงรบกวนและการรบกวน




3) ตัวเก็บประจุจะช่วยทำให้การหมุนของมอเตอร์เรียบและคงที่มากขึ้น  เช่นกรณีที่โหลดไม่ค่อยคงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงขี้นๆลงๆ   ก็จะส่งผลทำให้มอเตอร์ดึงกระแสไฟเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามโหลดที่เปลี่ยนแปลงและก็จะทำให้ความเร็วหรือสปีดของมอเตอร์ไม่คงที่ตามมา   ดังนั้นการต่อตัวเก็บประจุ หรือ C ขนานเข้าไป ก็ช่วยให้สปีดหรือความเร็วของมอเตอร์คงที่หรือราบเรียบขึ้นในช่วงที่โหลดมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ 



4) ตัวเก็บประจุนี้จะดูดซับ (absorbs)แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำด้านกลับ หรือ back emf  กล่าวคือกรณีที่มีการหยุดหรือมีตัดกระแสไฟฟ้าออกจากมอเตอร์แบบทันทีทันใด  โรเตอร์ของมอเตอร์จะยังไม่หยุดหมุนแบบทันที ซึ่งในกรณีนี้มอเตอร์เปลี่ยนสถานะการเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชั่วขณะและผลิตแรงดันย้อนกลับ   ซึ่งในมอเตอร์ขนาดใหญ่ระบบก็จะใช้ไดโอดที่เรียกว่า freewheeling diode  หรือ FLYBACK Diode หรือตัวเหนี่ยวนำ (inductor) เข้ามาช่วยต้านทาน หรือกำจัด back emf  ให้หมดไป  แต่ในมอเตอร์กระแสตรงหรือดีซีมอเตอร์ขนาดเล็กจะใช้ตัวเก็บประจุแทน

 



นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล


 ลิงค์ช่องยูทุปของ 9engineer.com => คลิก=> technology talk
 
ขอกำลังใจจากเพื่อนๆสมาชิกช่วยสนับสนุนด้วยการกดซับสไคร์ กดกระดิ่งติดตาม กดไลค์และกดแชร์ด้วยครับ