Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,992
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,586
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,994
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,794
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,470
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,558
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,515
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,824
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,362
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,455
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,368
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,518
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,601
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,140
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,532
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,561
17 Industrial Provision co., ltd 39,232
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,384
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,302
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,630
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,454
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,859
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,225
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,965
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,590
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,521
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,956
28 AVERA CO., LTD. 22,591
29 เลิศบุศย์ 21,692
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,393
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,250
32 แมชชีนเทค 19,899
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,874
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,190
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,145
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,804
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,607
38 SAMWHA THAILAND 18,299
39 วอยก้า จำกัด 17,908
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,484
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,337
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,308
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,246
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,223
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,139
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,075
47 Systems integrator 16,717
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,636
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,461
50 Advanced Technology Equipment 16,448
25/08/2565 07:34 น. , อ่าน 6,664 ครั้ง
Bookmark and Share
IC 555
โดย : Admin

ไอซีเบอร์ IC 555  คืออะไร




ไอซีเบอร์ 555 (IC 555)  เป็นไอซีวงจรรวม ที่เรียกกันทั่วไปว่าชิป   เป็นไอซีที่เป็นรู้จักกันดีในบรรดานักอิเล็กทรอนิกส์    ไอซีตัวนี้ได้รับการออกแบบและประดิษฐ์โดยนักออกแบบชิปที่มีชื่อเสียง ชื่อนั่นคือนายฮันส์ อาร์ คาเมนซินด์ (Hans R. Camenzind) โดยเริ่มออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2513 และแนะนำผลิตภัณฑ์ในปีถัดมา โดยบริษัทซิกเนติกส์ คอร์ปอเรชัน (Signetics Corporation) มีหมายเลขรุ่น SE555/NE555 และเรียกชื่อว่า "The IC Time Machine" มีการใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้งานง่าย ราคาถูก มีเสถียรภาพที่ดี ในปัจจุบันนี้ บริษัทซัมซุงของเกาหลี สามารถผลิตได้ปีละกว่า 1 พันล้านตัว (ข้อมูล พ.ศ. 2546)



ไอซีไทเมอร์ 555 นับเป็นวงจรรวมที่สามารถใช้งานได้หลากหลายและเป็นที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่งเท่าที่เคยผลิตมา ภายในตัวประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ 23 ตัว, ไดโอด 2 ตัว และรีซิสเตอร์อีก 16 ตัว เรียงกันบนชิปซิลิกอนแผ่นเดียว โดยติดตั้งในตัวถัง 8 ขา แบบมินิ DIP (dual-in-line package)

นอกจากนี้ยังมีการผลิตไอซี 556 ซึ่งเป็น DIP แบบ 14 ขา โดยอาศัยการรวมไอซี 555 จำนวน 2 ตัวบนชิปตัวเดียว ขณะที่ 558 เป็นไอซีอีกตัวหนึ่งที่พัฒนาขึ้นจาก 555 เป็น DIP แบบ 16 ขา (quad) โดยรวมเอา 555 จำนวน 4 ตัว (โดยมีการปรับแต่งเล็กน้อย) มาไว้บนชิปตัวเดียว (DIS และ THR มีการเชื่อมต่อกันภายใน ส่วน TR นั้นมีค่าความไวที่ขอบแทนที่จะเป็นความไวทั้งระดับ) นอกจากนี้ยังมีรุ่นกำลังต่ำพิเศษ (ultra-low power) ของไอซี 555 นั่นคือ เบอร์ 7555 สำหรับไอซี 7555 นี้จะมีการเดินสายที่แตกต่างไปเล็กน้อย ทั้งยังมีการใช้กำลังไฟที่น้อยกว่า และอุปกรณ์ภายนอกน้อยกว่าด้วย



ไอซี 555 มีโหมดการทำงาน 3 โหมด ดังนี้

  - โมโนสเตเบิล (Monostable) ในโหมดนี้ การทำงานของ 555 จะเป็นแบบซิงเกิ้ลช็อต หรือวันช็อต (one-shot) โดยการสร้างสัญญาณครั้งเดียว ประยุกต์การใช้งานสำหรับการนับเวลา การตรวจสอบพัลส์ สวิตช์สัมผัส ฯลฯ

   -  อะสเตเบิล (Astable) ในโหมดนี้ การทำงานจะเป็นออสซิลเลเตอร์ การใช้งาน ได้แก่ ทำไฟกะพริบ, กำเนิดพัลส์, กำเนิดเสียง, เตือนภัย ฯลฯ

   -  ไบสเตเบิล (Bistable) ในโหมดนี้ ไอซี 555 สามารถทำงานเป็นฟลิปฟล็อป (flip-flop) ถ้าไม่ต่อขา DIS และไม่ใช้คาปาซิเตอร์ ใช้เป็นสวิตช์ bouncefree latched switches เป็นต้น




การใช้งานIC 555 Timer


IC 555 เป็นหนึ่งใน IC ที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก ได้รับการขนานนามว่า "The IC Time Machine"  ซึ่งมีการนำไปใช้งานหลักๆดังนี้

• Pulse Generation
• Sequential Timing
• Time Delay Generation
• Pulse Position Modulation
• Linear Ramp Generator

***  IC 555 เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่มันสามารถสร้างสัญญาณนับเวลาได้อย่างแม่นยำ "Precision Timing"


ขาต่างๆและหลักการทำงานของ IC 555

  ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า IC 555 จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการ Trig หรือถูกกระตุ้นนั่นเอง ซื่ง Trigger ของ IC ตัวนี้เป็นแบบ Active Low Trigger คือ จะกระตุ้นที่แรงดันหรือ Volt ต่ำ(ประมาณ 0 Volt - 1/3 Volts ของ Vinput)
 

เราสามารถนำ IC 555 ไปใช้งานได้โดยอาศัยการปล่อยสัญญาณพัลส์(Output) จากขาที่ 3 สัญญาณพัลส์จะแบ่งเป็นช่วง Low กับ High ด้วยเหตุนี้มันจึงสามารถใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มาต่อกับขาที่ 3 นี้ได้อย่างมากมายเช่น ไฟกระพริบ ติดดับ ,การนับเวลา ,ควบคุมรีเลย์ และอื่นๆอีกมากมาย

หมายเลขขา

ชือ

ความหมาย

1

Ground

สายกราวด์ หรือจุดต่อกับไฟลบ

2

Trigger

สัญญานกระตุ้นการทำงานของ IC

3

Output

Output Voltage (แรงดันสูงสุดขึ้นตาม Volt Input)

4

RESET

Reset การทำงานของ IC

5

Control Voltage

หยุดการทำงานของ Trigger

6

Threshold Input

เป็นเกณฑ์ในการทำงานของ Output ว่าจะ low หรือ high

7

Discharge

ใช้เป็นทางผ่านในการคายประจุเพื่อควบคุมช่วงเวลา

8

Volt Input

ความต่างศักย์ขาเข้าควรมีค่าตั้งแต่ 5 - 15 V


 

เมื่อใช้คาปาซิเตอร์และรีซิสเตอร์มาต่อร่วม จะสามารถปรับช่วงการตั้งเวลา (นั่นคือ ช่วงเวลาที่เอาต์พุตมีค่าต่ำ) ตามความต้องการใช้งานได้



ช่วงเวลา t คำนวณได้จาก

    t = 1.1 R C   ซึ่งเป็นเวลาที่ใช้เพื่อประจุตัวเก็บประจุให้ได้ 63% ของแรงดันที่จ่าย (ค่าจริง : (1-1/e) V)

 


 

 CR: https://th.wikipedia.org

========================================================