Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,000
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,592
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,998
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,801
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,473
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,566
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,520
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,832
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,366
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,459
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,374
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,521
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,605
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,146
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,539
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,564
17 Industrial Provision co., ltd 39,235
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,387
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,305
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,633
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,459
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,863
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,228
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,970
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,594
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,525
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,959
28 AVERA CO., LTD. 22,594
29 เลิศบุศย์ 21,696
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,397
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,259
32 แมชชีนเทค 19,903
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,878
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,194
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,149
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,808
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,611
38 SAMWHA THAILAND 18,304
39 วอยก้า จำกัด 17,912
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,487
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,342
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,312
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,252
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,227
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,143
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,080
47 Systems integrator 16,721
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,640
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,465
50 Advanced Technology Equipment 16,454
13/08/2565 14:10 น. , อ่าน 6,626 ครั้ง
Bookmark and Share
7 Segment
โดย : Admin

 7 Segment คืออะไร และการใช้งาน

 
                                รูปที่ 1   ตัวอย่างของ 7 Segment ที่ใช้งานทั่วไป

7 Segment คืออะไร ?

7 Segment คือหน้าจอแสดงผลตัวเลข - ตัวอักษร (ได้บางตัว) ที่มีหน้าจอทำมาจากการจัดวางหลอด LED ในแนวยาว เมื่อทำให้หลอด LED แต่ละดวงติดพร้อมกัน ก็จะทำให้แสดงออกมาเป็นตัวเลขทรงเหลี่ยมได้




       รูปที่ 2    แสดง 7 Segment ที่แสดงผลออกมาเป็นตัวเลขต่างๆ (cr :ภาพจากภาพจาก maruen.tistory.com)

 

 


รูปที่ 3   แสดงตำแหน่งขาของ 7 Segment (cr :ภาพจาก projectcircuitpack.yolasite.com)
 



การแบ่งแยกประเภทของเซเว่นเซกเม้นต์ ( 7 Segment)
 

7 Segmen จะมีการแยกประเภทออกเป็นชนิดต่างๆดังนี้ :
 

1. แยกประเภทตามลักษณะของขาคอมม่อน (Common)

    - Common Anode - ขาคอมม่อนจะต้องต่ออยู่กับขั่วบวก แล้วขาอื่นๆ ต่ออยู่กับกราว์ด จึงจะทำให้ส่วนนั้นๆติดสว่าง
    - Common Cathode - ขาคอมม่อนจะต้องต่ออยู่กับขั่วลบ แล้วขาอื่นๆ ต่ออยู่กับขั้วบวก จึงจะทำให้ส่วนนั้นๆติดสว่าง


2. แยกประเภทตามขนาด

     7 Segment มีด้วยกันหลายขนาด ขนาดที่เป็นมาตรฐานใช้งานทั่วไปคือขนาด 0.56 นิ้ว มีขนาดเล็กกว่า หรือใหญ่กว่าให้เลือกใช้งานด้วย



3. แบ่งตามจำนวนตัวเลข

    ใน 7 Segment อาจจะมีตัวเลขแสดงผลหลายๆตัวติดอยู่ด้วยกัน ทำให้การต่อวงจรง่ายมากยิ่งขึ้น

4. แบ่งแยกประเภทตามสี เช่น  สีแดง   สีเขียว  และสีอื่นๆ - ผสมสีเพื่อให้สีไม่เหมือนกันในแต่ละจุดได้
 

 

การสั่งงาน 7 Segment

โดยทั่วไป 7 Segment จะประกอบด้วย 9 ขา คือ a b c d e f g dot และ common และในกรณีที่มีตัวเลขจำนวนหลักมากขึ้นก็จะมีขา Common เพิ่มมากขึ้น เช่น com1 ก็จะใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลหลักที่ 1  ส่วน com2 ควบคุมการแสดงผลหลักที่ 2 และ com(n) ควบคุมการแสดงผลหลักที่ n

จากรูปที่ 2 จะเห็นว่าในแต่ละแถบยาว จะมีตัวอักษรกำกับอยู่ ซึ่งเป็นชื่อของขาที่ใช้ควบคุมแถบนั้น ตัวอย่างเช่น หากต้องการให้แสดงผลตัวเลข 1 จะต้องให้แถบ b และ c ติดสว่าง จึงจะได้เป็นรูปเลข 1 ที่สมบูรณ์ และหากต้องการให้ติดเลข 3 จะต้องให้แถบ a b c d และ g ติดสว่าง จึงจะทำให้แสดงเลข 3 ที่สมบูรณ์

การจะทำให้แถบแต่ละแถบติดสว่างได้ จะต้องทราบก่อนว่า 7 Segment นั้นเป็นคอมม้อนอะไร เมื่อทราบแล้วจะทำให้สามารถควบคุมการติดดับของแต่ละแถบได้ แบบเดียวกับการควบคุม LED โดยที่หากเป็นคอมม้อน Anode จะต้องต่อขาคอมม้นเข้ากับขั้วบวกของแหล่งจ่ายไฟ (5V) และหากต้องการให้แถบใดติดสว่าง จะต้องให้ขาของแถบนั้นต้องลงกราว์ด (เป็นลอจิก LOW หรือที่เรียกว่า ลอจิกศูนย์)

แต่ถ้าหากเป็นคอมม้อน Cathode จะต้องต่อขาคอมม้อนเข้ากับกราว์ด แล้วต่อขาของแถบที่ต้องการแสดงผลเข้าที่ขั้วบวกของแหล่งจ่าย (เป็นลอจิก HIGH หรือที่เรียกว่าลอจิกหนึ่ง)




ที่มา  :https://www.artronshop.co.th และ www.gloogle.com

========================================================