Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,362
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,515
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,929
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,685
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,411
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,489
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,454
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,763
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,244
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,386
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,302
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,448
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,486
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,071
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,417
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,495
17 Industrial Provision co., ltd 39,160
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,319
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,239
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,383
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,799
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,155
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,901
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,520
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,459
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,888
28 AVERA CO., LTD. 22,534
29 เลิศบุศย์ 21,634
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,316
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,184
32 แมชชีนเทค 19,832
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,802
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,127
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,079
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,548
38 SAMWHA THAILAND 18,236
39 วอยก้า จำกัด 17,827
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,415
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,241
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,185
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,137
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,078
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,003
47 Systems integrator 16,655
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,575
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,397
50 Advanced Technology Equipment 16,380
09/08/2563 15:33 น. , อ่าน 2,479 ครั้ง
Bookmark and Share
electric arcing
โดย : Admin

Cr: วิศิษย์ศักดิ์ กฤษณพันธ์  กลุ่มวิศวกรรมไฟฟ้า

ประกายไฟฟ้าและการระเบิดจากอาร์ก



 


ประกายไฟฟ้า (Arc Flash)  เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านช่องว่างอากาศระหว่างตัวนำเกิดเป็นประกายไฟฟ้าขึ้นมา โดยที่ประกายไฟฟ้านั้นจะมีความจ้าของแสงสูง และมีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ หากจะอธิบายในอีกความหมายหนึ่งก็กล่าวได้ว่าประกายไฟฟ้านั้นเกิดขึ้นจากตัวนำไฟฟ้าที่เราไม่สามารถควบคุมได้จนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผิดปกติ เช่น กระแสไฟฟ้าไหลจากเฟสใดเฟสหนึ่งลงดิน (Ground) หรือกระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลจากเฟสสู่เฟสทำให้เกิดการไอออนไนซ์ของอากาศโดยรอบจนเกิดเป็นประกายไฟและแสงวาบขึ้นมา


สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงการควบคุมระดับอันตรายที่เกิดจากประกายไฟฟ้า ซึ่งจะประกอบด้วยวิธีการปฏิบัติซึ่งผู้ออกแบบระบบ หรือผู้ควบคุมงานในโรงงานสามารถนำไปใช้เพื่อลดระดับพลังงานที่เกิดจากประกายไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น การใช้ฟิวส์ รีเลย์ และเซอร์กิตเบรกเกอร์ ทั้งนี้เมื่อระดับของประกายไฟฟ้าลดลงแล้ว โอกาสที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะได้รับความเสียหายก็จะน้อยลง ในขณะที่ระดับความสามารถในการป้องกันส่วนบุคคล และอุปกรณ์ก็จะสูงขึ้น


อันตรายของประกายไฟฟ้า

การลัดวงจร และประกายไฟฟ้า จะกำเนิดความร้อนที่สามารถเผาไหม้เสื้อผ้า และผิวหนังของผู้ที่อยู่ใกล้ในระยะแม้ห่าง 10 ฟุตก็อาจได้รับบาดเจ็บได้ เนื่องจากพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นอาจมีค่าสูงถึง 20,000 องศาเซลเซียส หรือเทียบได้กับ 4 เท่าของอุณหภูมิพื้นผิวดวงอาทิตย์ เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

 


การระเบิดจากอาร์ก (Arc Blasting)

 

 อาร์กจากไฟฟ้ามีพลังงานสูงพอที่จะทำอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ และอาร์กยังมีความร้อนสูง มากจนทำให้วัตถุละลายได้  ความร้อน ไอของโลหะที่หลอมละลาย และแสงจ้า เป็นอันตรายต่อบุคคล โดยมีลักษณะการเกิดได้ดังนี้

1. รังสีความร้อนและแสงจ้า อาร์กจะแผ่รังสีออกไปทำให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้รับอันตรายเกิดแผลไฟไหม้ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสมในการป้องกันอันตรายจากประกายไฟ ต้องสวมใส่ชุดปฏิบัติงานที่ทนต่อประกายไฟและการลุกไหม้ อุปกรณ์และเครื่องมือไฟฟ้าต้องมีการต่อลงดินและมีป้ายเตือนอันตรายที่เกี่ยวข้อง

2. โลหะหลอมละลาย อาร์กจากไฟฟ้าแรงสูงสามารถทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นทองแดง และ อะลูมิเนียมหลอมละลายได้ หยดโลหะหลอมเหลวดังกล่าวอาจถูกแรงระเบิดจากคลื่นความดันผลักให้กระเด็นไปเป็นระยะทางไกลๆ ได้ ถึงแม้ว่าหยดโลหะเหล่านี้จะแข็งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีความร้อนเหลืออยู่มากพอที่จะทำให้เกิดการไหม้อย่างรุนแรง หรือทำให้เสื้อผ้าปกติทั่วไปลุกติดไฟได้ แม้ว่าจะอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุมากกว่า 3 เมตร แล้วก็ตาม ดังนั้นจะต้องดูแลไม่ให้มีวัตถุที่ติดไฟได้อยู่ใกล้ รวมทั้งมีวิธีการป้องกันที่เหมาะสมด้วย

 


 รังสีความร้อน แสงจ้า และโลหะหลอมละลายที่เกิดจากอาร์ก


 

การป้องกันส่วนบุคคล

การสวมอุปกรณ์ป้องกัน เป็นวิธีการที่สะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในบริเวณที่มีไฟฟ้า ทั้งนี้การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ต้องให้ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่ป้องกันประกายไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้านั้น ต้องทนทานกับพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้น ลดโอกาสที่ผู้สวมใส่จะสัมผัสกับประกายไฟโดยตรงการเลือกอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ต้องอาศัยข้อมูลอ้างอิงจากตารางแบ่งชนิดของอันตรายจาก ประกายไฟฟ้าตามมาตรฐาน NFPA70E ซึ่งจะแสดงรายการชนิดของงานด้านไฟฟ้า ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าต่างๆกัน และระบุระดับของอุปกรณ์ป้องกันที่ควรเลือกใช้
 

 อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ตามมาตรฐาน NFPA 70E

 

 


ระยะปฏิบัติงานที่ปลอดภัย


ระยะปฏิบัติงานหมายถึงผลรวมของระยะห่างที่ผู้ปฏิบัติงานยืนอยู่หน้าอุปกรณ์ไฟฟ้า กับระยะจากด้านหน้าอุปกรณ์ไปยังตำแน่งที่เกิดการอาร์ก และประกายไฟฟ้าภายในตัวอุปกรณ์นั้น เพราะประกายไฟฟ้าสามารถทำอันตรายกับใบหน้า มือ แขนและผิวหนัง ของผู้ที่ยืนอยู่หน้าอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในระยะการทำงานที่ไม่ปลอดภัยอย่างไรก็ตามในบางโอกาสที่เราอาจไม่ได้ระมัดระวัง หรือจำเป็นต้องเข้าใกล้บริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูง ข้อมูลในตารางต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติอย่างปลอดภัย

 


ระยะปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับชนิดอุปกรณ์ไฟฟ้า

 




บทสรุป

อันตรายจากประกายไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดได้ แม้ว่าเราจะมีอุปกรณ์ที่สวมใส่เพื่อป้องกันส่วนบุคคล แต่สิ่งสาคัญก็คือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ยกตัวอย่างเช่นการตรวจสอบระบบกราวด์ที่มีค่าความต้านทานสูงผิดปกติ หรือการตรวจสอบเพื่อซ่อมบำรุงตามตารางเวลาที่กำหนด เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
1. Bob Fuhr,”Ways to reduce Arc flash energy”, EC&M, May, 1, 2008
2. NFPA 70E, Standard for Electrical Safety in the Workplace, 2004 Edition, National Fire Protection Association, USA : 2004.

 

 

========================================================