Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,787
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,467
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,820
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,357
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,515
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,380
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,626
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,450
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,687
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,387
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,903
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,218
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,632
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
20/07/2563 07:13 น. , อ่าน 14,319 ครั้ง
Bookmark and Share
ไดแอค ( Diac )
โดย : Admin

ไดแอค ( Diac ) คืออะไร


 



ไดแอค(Diac) หรือไดโอด-แอก เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่อยู่ในกลุ่มของของไทริสเตอร์ มี 2 ขั้วคือ ขั้วแอโนด 1 (Anode1,A1) และขั้วแอโนด 2 (Anode2,A2) เพราะไดแอคสามารถนำกระแสได้สองด้าน ไดแอคสามารถนำไปใช้กับแรงดันไฟฟ้าสลับและแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงได้
 



โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอค ( DIAC )

ไดแอคเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มี 3 ตอนใหญ่ชนิดสาร PNP และยังประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ 2 ตอนย่อยชนิด N ต่อร่วมในสารกึ่งตัวนำชนิด P    โดยที่ทั้ง 2 ตอนด้านนอกจะมีขาต่อออกมาใช้งานเพียง 2 ขา แต่ละขาที่ต่อใช้งานจะต่อร่วมกับสารกึ่งตัวนำทั้งชนิด N และชนิด P จึงทำให้ไดแอคสามารถทำงานได้ทั้งแรงดันไฟบวกและแรงดันไฟลบ กล่าวคือไดแอคสามารถนำกระแสได้ทั้ง 2 ทางที่ระดังแรงดันค่าหนึ่ง   โดยขาแอโนด1 (Anode1,A1) เรียกว่า ขาเทอมินอล 1 (Main Terminal 1 หรือ MT1)  และขาแอโนด2 (Anode2,A2) เรียกว่า ขาเทอมินอล 2 (Main Terminal 2,MT2 ) โดยแต่ละขาสามารถต่อสลับกันได้


 



การทำงานของไดแอค

ไดแอคมี 2 ขา แต่สามารถทำงานได้ทั้งกับแรงดันช่วงบวกและแรงดันช่วงลบ หรือนำกระแสได้ทั้ง 2 ทิศทาง ดังนั้นในการใช้งานจึงไม่จำเพาะเจาะจงในการต่อวงจร ใช้ขาด้านใดด้านหนึ่งต่อเข้าวงจรก็จะได้คุณสมบัติเหมือนกัน การทำงานของไดแอคเปรียบเหมือนกับชอคเลย์ไดโอด 2 ตัวต่อกลับหัวกัน (ฺBack to back connection) ดังขวามือสุดรูปด้านบน

***  ไดแอคนำกระแสได้สองทิศทางโดยจะอาศัยช่วงแรงดันพังทลาย (Break Over Voltage) เป็นส่วนของการทำงาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
 


 รูปซ้ายมือ : ป้อนแรงดันบวก (+) เข้าที่ขา A1 และแรงดันลบ (-) เข้าที่ขา A2 
รูปซ้ายมือ : ป้อนแรงดันลบ (-) เข้าที่ขา A1 และแรงดันบวก (+) เข้าที่ขา A2

 

กราฟลักษณะสมบัติ  diac vi characteristics




 

   เงื่อนไขการนำกระแส และการหยุดนำกระแส

    1.  ไดแอคจะนำกระแสเมื่อได้รับแรงดันถึงจุดพังทลาย(Break Over Voltage ; UBR)
    2.  เมื่อไดแอคนำกระแสความต้านทานภายในไดแอคจะลดลงเนื่องจากรอยต่อ PN แคบลงทำให้แรงดันตกคร่อมไดแอคลดลง
    3.  ไดแอคจะหยุดนำกระแส เมื่อกระแสไหลผ่านไดแอค มีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง (Holding Current ; IH)


ตัวอย่าง ค่าแรงดันของไดแอคเบอร์ต่างๆ

            GT – 32 แถบสีแดง        VBO = 27-37 V

            GT – 35 แถบสีส้ม          VBO = 30-40 V

            GT – 40 แถบสีเหลือง    VBO = 38-48  V

            GT – 50 แถบสีเขียว       VBO = 56-70 V



การตรวจเช็คไดแอคด้วยโอห์มมิเตอร์

สามารถตรวจสอบไดแอคได้โดยใช้มัลติมิเตอร์วัด ตั้งมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัด Rx1 แล้วทำการวัดสลับสายดังนี้

 


ซ้ายมือ :   ทำการวัดสลับสายกัน ถ้าเข็มมิเตอร์ชี้ที่ ∞ ทั้งสองครั้งแสดงว่าไดแอคมีสภาพดี
ขวามือ:  ทำการวัดสลับสายกัน ถ้าเข็มมิเตอร์ชี้ไปที่ค่าความต้านทานค่าค่าหนึ่งแสดงว่าไดแอคช็อต

 


 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

 


การใช้ไดแอค ทำหน้าที่ในวงจรคอนโทรลหรือวงจรจุดชนวนให้กับไตรแอค (Triac)
 

 

========================================================