Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,986
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,783
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,352
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,589
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,215
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
21/05/2563 07:40 น. , อ่าน 27,785 ครั้ง
Bookmark and Share
ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ Universal motor
โดย : Admin

ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal motor)

 




ยูินเวอร์แซลมอเตอร์ เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่ให้ความเร็วรอบสุงมากในขณะที่รันตัวเปล่าหรือที่มีโหลดต่ำๆ และความเร็วจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีโหลดเพิ่มขึ้น 

มอเตอร์ชนิดินี้ส่วนมากจะประยุกต์ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่นเครื่องปั่นน้ำผลไม้  เครื่องมือช่าง จักรเย็บผ้าขนาดเล็ก และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนอื่นๆ 


ส่วนประกอบยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ มีโครงสร้างและองค์ประกอบที่สำคัญๆดังนี้






1.  ขั้วแม่เหล็กสเตเตอร์ ซึ่งเป็นขั้วแม่เหล็กแบบยื่น (Salient Pole)  ทำจากเหล็กแผ่นบาง ๆ อัดเรียงกันด้วยหมุดย้ำส่วนมากจะทำเป็นชนิด 2 ขั้ว ที่แกนเหล็กสเตเตอร์มีขดลวดทองแดงพันไว้ เพื่อทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวดนี้

2.  ขดลวดอาร์เมเจอร์ เป็นส่วนที่หมุน ทำจากเหล็กแผ่นบาง ๆ อัดเรียงติดกันแน่นเข้ากับเพลาและที่ผิวด้านนอกจะทำเป็นสลอตไปตามทางยาวไว้โดยรอบ อาจเป็นแบบสลอตตรงหรือสลอตเฉียง และที่ปลายด้านหนึ่งจะมีคอมมิวเตเตอร์ติดตั้งอยู่ ส่วนภายในสลอตของอาร์เมเจอร์จะพันไว้ด้วยขดลวดทองแดงและปลายของขดลวดจะต่อเข้ากับซี่ของคอมมิวเตเตอร์

3.  คอมมิวเตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าที่มาจากแปรงถ่านเข้าไปยังขดลวดอาร์เมเจอร์ คอมมิวเตเตอร์ประกอบด้วยซี่ทองแดงหลาย ๆ ซี่วางเรียงเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงกระบอก และมีฉนวนไมก้าคั่นระหว่างซี่ทองแดงแต่ละซี่


4. ฝาปิดหัวท้าย ทำจากเหล็กเหนียวยึดเข้ากับโครงด้วยสลักเกลียว ฝาปิดหัวท้ายนี้เป็นตัวยึดส่วนที่หมุนให้เคลื่อนที่อยู่ในแนวศูนย์กลาง และเป็นที่ติดตั้งแบริ่งที่รองรับเพลาอาร์เมเจอร์ และฝาปิดด้านหนึ่งจะติดตั้งซองแปรงถ่าน 2 ชุด

5. แปรงถ่าน ทำจากผงกราไฟต์ มีหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายภายนอกเข้าสู่คอม   มิวเตเตอร์ แปรงถ่านนี้จะบรรจุอยู่ในซองอย่างเหมาะสม

 

ส่วนประกอบยูนิเวอร์แซลมอเตอร์
 


หลักการท างานของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์

รูปแสดง หลักการทำงานของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์

 

 เมื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับให้กับวงจรของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ ดังรูป โดยในซีกบวกของรูปคลื่นไซน์กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามอเตอร์ที่ขั้วไลน์ (L) และไหลออกจากมอเตอร์ที่ขั้วนิวทรัล (N) ที่สเตเตอร์จะเกิดขั้วเหนืออยู่ด้านบนและเกิดขั้วใต้อยู่ด้านล่างตัวนำของอาร์เมเจอร์ด้านบนจะมีกระแสไหลเข้า และด้านล่างจะมีกระแสไหลออก ผลรวมของเส้นแรงแม่เหล็กที่ขดลวดสเตเตอร์กับขดลวดอาเมเจอร์จะทำให้เกิดแรง (F) และหมุนทวนเข็มนาฬิกา



แต่ถ้าในซีกลบของรูปคลื่นไซน์ กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามอเตอร์ที่ขั้วนิวทรัล และไหลออกจากมอเตอร์ที่ขั้วไลน์ ที่สเตเตอร์จะเกิดขั้วเหนืออยู่ด้านล่าง และขั้วใต้อยู่ด้านบน ตัวนำของอาร์เมเจอร์ด้านล่างจะมีกระแสไหลเข้าและไหลออกที่ตัวนำด้านบน ดังนั้นผลรวมของเส้นแรงแม่เหล็กที่ขดลวดสเตเตอร์กับขดลวดอาเมเจอร์จะทำให้เกิดแรงและหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเช่นกัน ดังรูปที่ 






  ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

 

 


คุณลักษณะและการนำไปใช้งาน 

    ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์จะมอเตอร์ที่ให้แรงบิดขณะเริ่มเดินสูงมาก   มีความเร็วสูงและขณะที่ไม่มีโหลดความเร็วรอบอาจสูงถึง 20,000 รอบต่อนาที ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้หากให้หมุนทำงานในขณะที่ไม่มีโหลด แต่สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ชุดเฟืองเกียร์ต่อเข้ากับเพลาของมอเตอร์เพื่อลดความเร็วรอบและเพิ่มแรงบิด

การประยุกต์ใช้งานส่วนใหญ่จะนำไปใช้งานประกอบเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เช่น จักรเย็บผ้า สว่านมือถือไฟฟ้า กบไสไม้ไฟฟ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องผสมอาหาร เลื่อยจิ๊กซอร์ และเครื่องขัดกระดาษทรายดังรูปตัวอย่างที่แสดงด้านล่าง 







การกลับทางหมุน

   ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์สามารถทำการกลับทิศทางการหมุนได้  2 แบบ โดยการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสที่ขดลวดอาร์เมเจอร์ หรือขดลวดฟีลด์อย่างใดอย่างหนึ่ง (หากกลับทั้งคู่ จะไม่เกิดการกลับทางหมุน)


การกลับทางหมุนด้วยการกลับทิศทางของกระแสในวงจรอาร์เมเจอร์


ตัวอย่าง วงจรกลับทางหมุนยูนิเวอร์แซลมอเตอร์

 


การควบคุมความเร็ว -    ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์สามารถควบคุมความเร็วรอบของการหมุนได้ด้วยวิธีต่างๆดังนี้

 1. การใช้ความต้านทานต่ออนุกรมกับขดลวด (Resistance Methode)  เพื่อควบคุมแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ (เพิ่มหรือลดแรงดัน) ซึ่งจะทำสามารถควบคุมกระแสที่ไหลเข้าไปยังขดลวดของมอเตอร์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็ว     ซึ่งตัวต้านทานนี้โดยทั่วไปก็มีทั้งแบบแท่งคาร์บอน (Carbon Pile ) หรือขดลวดความต้านทาน (Resistance Wire) 
 



ตัวอย่างตัวต้านทานแบบแท่งคาร์บอน (Carbon Pile ) ที่ใช้ในจักรเย็บผ้า ซึ่งจะติดตั้งอยู่ในกล่องสวิตซ์ที่ใช้เท้าเหยียบ (เมื่อเหยียบลงไป เม็ดถ่านก็จะอัดตัวกันแน่นขึ้น  ทำให้ค่าความต้านทานน้อยลง แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ก็เพิ่มมากขึ้นและกระแสก็จะไหลเข้าขดลวดได้มากขึ้น ซึ่งก็จะทำมอเตอร์จักรเย็บผ้าวิ่งเร็วขึ้น )


 

2.การลดหรือเพิ่มขดลวดสนามแม่เหล์ก (Tipped Field ) โดยการต่อแท๊ปขดลวดสนามหรือขดลวดฟิลด์ออกมาเป็นช่วงๆ เพื่อเพิ่มหรือลดค่าความต้านทานของขดลวดที่ต่ออนุกรมอยู่ในวงจร ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ความเร้ของมอเตอร์เปลี่ยนแปลง

3. การใช้สวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centifugal Switch) 
การทำงานคือเมื่อเริ่มต้นสวิตซ์จะปิดและลัดวงจรพายพาสค่าความต้านทานที่ต่ออนุกรมอยู่  และมอเตอร์หมุนสวิตซ์แรงเหวี่ยงฯ ก็จะทำการเปิดวงจรซึ่งก็จะทำให้มีค่าความต้านต่ออนุกรมกับมอเตอร์และทำให้ค่าความต้านทานวงจรเพิ่มขึ้น และกระแสไหลได้น้อยลงและก็จะส่งผลให้ความเร็วมอเตอร์ลดลงตาม

เมื่อความเร็วลดลงมาถึงจุดๆหนึ่ง สวิตซ์ก้จะต่อวงจรลัดวงจรค่าความต้านทานอีก ทำงานเป็นจังหวะสลับกันไปมาและเร็วมาก และเพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ ในวงจรจึงได้มีการต่อแคปปาซิเตอร์ (C) ขนานกับสวิตซ์ไว้ดังรูป

 

 

กราฟคุณสมบัติทางด้านแรงบิดและความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์
เปรียบเทียบกรณีที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ กับ แบบกรณีที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง


คุณสมบัติทางแรงบิดและความเร็วกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์


 


------------------------------------------------------------

 

คลิปอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอยู่ในเพลลิสช่องยูทูปของ 9engineer.com โดยใช้ชื่อช่องว่า Technology talk Channel 

 1. วงจรและวิธีการสตาร์ทแบบไดเร็คออนไลน์  DOL
 2. วงจรควรคุมการกลับทางหมุน
 3. วงจรและวิธีการสตาร์ทแบบสตาร์ เดลต้า  Y-D Starter
 4. การสตาร์แบบออโตทรานส์ฟอร์เมอร์  Auto transformer starter
 5. การต่อขดลวดมอเตอร์ อย่างไรไม่ให้เกิดการใหม้หรือเสียหาย
 6. การเช็ตโอเวอร์โหลดรีเลย์
 7.การเช็ตโอเวอร์โหลดรีเลย์กับมอเตอร์ที่มีเซอร์วิสแฟคเตอร์
 8.รีเลย์กับคนแทคเตอร์ต่างกันอย่างไร
 9.อื่นๆ


 

========================================================