Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,771
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,462
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,345
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,447
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,128
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,517
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,684
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,138
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,325
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,207
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,454
50 Advanced Technology Equipment 16,442
17/05/2563 08:36 น. , อ่าน 35,162 ครั้ง
Bookmark and Share
1 Phase Induction Motor
โดย : Admin

เรียบเรียงโดย : สุชิน เสือช้อย (แอดมิน)

 

มอเตอร์เหนี่ยวนำ 1 เฟส หรือซิงเกิลเฟส

 

ลิงค์รายละเอียดเกี่ยวมอเตอร์ชนิดต่างๆที่เกี่ยวข้อง 
=> 
มอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟสแบบกรงกระรอก
=> 
ชิงโครนัสมอเตอร์ 3 เฟส

------------------------------------------------------------------------



   จากรูป...มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC. Motor) โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ  ซิงโครนัสมอเตอร์ (Synchronous)  และอะซิงโครนัสมอเตอร์ (Asynchronous)  หรือที่เรียกว่ามอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (Induction Motor)

สำหรับอะซิงโครนัสมอเตอร์ หรืออินคัคชั่นมอเตอร์หรือมอเตอร์เหนี่ยวนี้ โดยทั่วไปก็ยังสามารถแยกย่อยออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบสามเฟสและแบบเฟสเดียว ... สำหรับในบทความนี้แอดมินจะขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องของมอเตอร์แบบเฟสเดียวเท่านั้น  ส่วนรายละเอียดของมอเตอร์ชนิดอื่นๆนั้นสามารถติดตามได้จากลิงค์ที่อยู่ใต้รูปด้านบน

      *** ต่อไปนี้แอดมินจะขอใชัคำว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำแทนคำว่า อะซิงโครนัส และ อินดัคชั่นมอเตอร์ ในการเขียนบทความนี้

สำหรับมอเตอร์เหนี่ยวเฟสเดียว หากพิจารณาจากรูปก็จะเห็นว่ายังมีการแบ่งแยกย่อยออกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้ (5 ชนิด)

- สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split PhaseMotor)
- คาปาซิเตอร์มอเตอร์(Capacitor Motor)..มอเตอร์ชนิดนี้ยังมีการแยกตามรายละเอียดปลีกย่อยได้อีก 3 ประเภท ดังนี้
        -  มอเตอร์คาปาซิเตอร์สตาร์ท (Capacitor Start Motor)
        -  มอเตอร์คาปาซิเตอร์รัน (Capacitor Run Motor)
        - และมอเตอร์คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรัน (Capacitor Start and Run Motor)

- รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion Motor)
- ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์(Universal Motor)
- และเช็ดเด็ดโพลมอเตอร์(Shaded Pole Motor)


สปลิทเฟสมอเตอร์(Split phase motor)

   มอเตอร์ชนิดนี้บางครั้งก็เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอินดักชั่นมอเตอร์ หรือมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบชิงเกิลเฟส (1 phase Induction motor) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะการทำงานของมอเตอร์   

   มอเตอร์ประเภทนี้มีขนาดพิกัดกำลังหรือแรงม้าไม่ใหญ่หากเปรียบเทียบกับมอเตอร์อินดักชั่น 3 เฟส ขนาดโดยทั่วไปจะเป็นสัดส่วนของแรงม้า ตั้งแต่1/4 แรงม้า , 1/3 แรงม้า, 1/2 แรงม้า และ 1 แรงม้าเป็นต้น

   มอเตอร์ชนิดนี้โดยทั่วไปจะนิยมใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าครัวเรือนหรือออฟฟิศสำนักงานที่มีขนาดไม่ใหญ๋มากเช่น  คอมเพรสเซอร์ของแช่่ ตู้เย็น ปั๊มน้ำน้ำ ปั๊มลม ขนาดเล็กเป็นต้น


ตัวอย่างมอเตอร์ สปลิทเฟส และวงจรภายใน

 

โครงสร้างของสปลิตเฟสมอเตอร์

   มอเตอร์ชนิดนี้มีโครงสร้างหลักอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนที่อยู่กับที่ (Stator) และส่วนที่เคลื่อนที่ (Rotor) ซึ่งทั้งสองส่วนจะทำงานสัมพันธ์กัน

โดยส่วนที่อยู่กับที่จะประกอบด้วยโครงมอเตอร์  ซึ่งทำจากแกนเหล็กแผ่นบาง ๆ อัดซ้อนกันเซาะทำเป็นร่องสล๊อตและมีฉนวนรองไว้ สำหรับพันขดลวด 2 ชุด คือขดรัน (Run)และขดสตาร์ต (Start)

ลักษณะทั่วไปของขดรันเป็นลวดเส้นโตและมีความต้านทานต่ำและค่ารีแอกแตนซ์สูง ส่วนขดสตาร์ตเป็นลวดเส้นเล็กละมีความต้านทานสูงและค่ารีแอกแตนซ์ต่ำ  โดยจะพันขดลวดหรือลงขดลวดให้มีมุมต่างกัน 90 องศา (ดังรูปที่แสดงด้านล่าง)

ขดสตาร์ทจะต่ออนุกรมกับสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal switch) แล้วต่อขนานกับขดรันอีกทีดังรูปวงจรที่อยู่ด้านบน

สำหรับโรเตอร์ของมอเตอร์แบบนี้จะเป็นแบบกรงกระรอก โครงสร้างทำด้วยแผ่นโลหะบางอัดซ้อนกันเป็นรูปทรงกระบอกโดยยึดติดกับเพลาที่แกนกลาง  ที่ผิวด้านนอกจะมีตัวนำอะลูมิเนียมฝังอยู่ในร่องและลัดวงจรที่หัวท้ายของตัวนำด้วยวงแหวน และมีครีบระบายความร้อนอยู่ในตัว

นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบอื่น เช่น ฝาปิดท้ายเพื่อรองรับแบริ่งและเพลาของโรเตอร์ให้หมุนอยู่ในแนวศูนย์กลางพอดี ที่ฝาปิดด้านท้ายจะมีคอนแทกของสวิตซ์แรงเหวี่ยงติดอยู่ทำงานสัมพันธ์กับสวิตซ์แรงเหวี่ยงส่วนที่เคลื่อนที่ซึ่งติดตั้งอยู่ที่โรเตอร์ดังรูป

หลักการทำงานของสปลิตเฟสมอเตอร์ 

วงจรของมอเตอร์ขดรันและขดสตาร์ทจะต่อขนานกัน เมื่อมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านขดลวดทั้งสองชุดก็จะทำให้เกิดการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นในแต่ละชุด (เนื่องจากขดลวดทั้งสองชุดมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ทำให้กระแสไฟฟ้าในขดลวดแต่ละชุดมีความต่างเฟสกัน)  

กระแสไฟฟ้าของขดรันจะล้าหลังแรงดันไฟฟ้าประมาณ 60องศาไฟฟ้า แต่กระแสไฟฟ้าของขดลวดสตาร์ทเกือบจะอินเฟสกับแรงดันไฟฟ้า   และจากการต่างเฟสของกระแสไฟฟ้าในขดลวดทั้งสองชุดนี้ซึ่งก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุนที่สเตเตอร์และหมุนด้วยความเร็วซิงโครนัส

และเมื่อเกิดสนามแม่เหล็กหมุนที่สเตเตอร์ ก็จะให้สนามแม่เหล็กตัดกับตัวนำที่โรเตอร์และเกิดการเหนี่ยวนำเกิดขึ้นที่โรเตอร์ และเกิดปฏิกริยาแม่เหล็ก เกิดการสร้างแรงบิด ทำให้โรเตอร์เกิดการออกตัวหมุนเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับสนามแม่เหล็กหมุน

เมื่อโรเตอร์หมุนด้วยความเร็วเพิ่มขึ้นประมาณ 75% ของความเร็วรอบสูงสุด สวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ก็จะเปิดวงจรขดสตาร์ตออกและเหลือเพียงขดรันจะให้ทำงานเพียงชุดเดียว
 


ซ้ายมือ: ความต่างเฟสระหว่างกระแสที่ไหลในขดรันและขดสตาร์ท  
ขวามือ :  ลักษณะการพันขดลวด ซึ่งขอลวดทั้งสองจะมีมุมต่างกัน 90 องศา

 




คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor)

 คาปาซิเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์ แต่แตกต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมา  ซึ่งช่วยทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงและใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยกว่า

มอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง 10 แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มน้ำ เครื่องอัดลม ตู้แช่ตู้เย็น ฯลฯ ซึ่งแยกออกเป็นประเภทย่อยดังนี้

A. คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ (Capacitor start  motor) ซึ่งลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟสแต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟสและพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ (ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ทมีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวง

 

        รูปคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ และลักษณะของคาปาซิเตอร์ชนิดอิเล็กโทรไลต์
 




B. คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor run motor ) ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาพาซิสเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มีสวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิสเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลาซึ่งจะช่วยทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น  และด้วยเหตุผลที่คาปาซิสเตอร์ต้องต่อตลอดเวลาช่วงที่มอเตอร์ทำงาน ดังนั้นคาปาซิเตอร์ที่ใช้กับมอเตอร์ประเภทนี้จึงเป็นแบบน้ำมันหรือกระดาษฉาบโลหะ


 


รูปแสดงลักษณะคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์   และลักษณะของคาปาซิเตอร์ ที่ใช้กับคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์



C. คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ (Capacitor start and run motor ) ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์ 2 ตัว   คือคาปาซิสเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิสเตอร์รัน  คาปาซิสเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์  ส่วนคาปาซิสเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา  โดยที่คาปาซิสเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้นจะมีค่าที่แตกต่างกัน

 


รูปแสดงลักษณะคาปาซิเตอร์สตาร์และรันมอเตอร์

 

 
A:  สปลิทเฟสมอเตอร์(Split phase motor)
B:คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ (Capacitor run motor )
C:คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ (Capacitor start  motor)
D:คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ (Capacitor start and run motor )


คุณสมบัติด้านความเร็ว (Speed) และแรงบิด (Torque) ของมอเตอร์สปลิทเฟสแต่ละชนิด
(PSC  Permanent-Split-Capacitor หรือ คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์)




รีพัลชั่นมอเตอร์ (Repulsion Motor)

เป็นมอเตอร์ที่มีขดลวดโรเตอร์ (Rotor) ต่อเข้ากับคอมมิวเตเตอร์และมีแปรงถ่านเป็นตัวต่อลัดวงจร ซึ่งทำให้สามารถปรับความเร็วและแรงบิดได้ โดยการปรับตำแหน่งแปรงถ่าน

ส่วนที่สเตเตอร์(Stator ) จะมีขดลวดพันอยู่ในร่องเพียงชุดเดียวเหมือนกับขดรันของสปลิทเฟสมอเตอร์ เรียกว่า ขดลวดเมน (Main winding) ซึ่งจะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง 

มอเตอร์ชนิดนี้จะแรงบิดเริ่มหมุนหรือแรงบิดขณะสตาร์ทสูง ความเร็วคงที่ มีขนาด 0.37-7.5 กิโลวัตต์ (10 แรงม้า) โดยทั่วไปจะประยุกต์ใช้กับงาน ปั๊มคอมเพลสเซอร์ ปั๊มลม ปั๊มน้ าขนาดใหญ่


ซ้าย: ตัวอย่างมอเตอร์รีพัลชั่น                  กลาง: วงจรมอเตอร์         ขวา: คุณสมบัติทางด้านแรงบิดและความเร็ว

 




ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor)


 มอเตอร์ชนิดนี้โดยทั่วไปเป็นมอเตอร์ขนาดเล็กมีขนาดกำลังไฟฟ้าเป็นสัดส่วนแรงม้า ตั้งแต่ 1/200 แรงม้าถึง 1/30 แรงม้า  ซึ่งเป็นมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้ทั้งกับไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส

มอเตอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือให้แรงบิดสตาร์ทหรือแรงบิดเริ่มหมุนสูง  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในงานที่ต้องการปรับความเร็วได้ดี โดยสามารถปรับความเร็วได้ใช้วงจรลดแรงดันและวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์

มอเตอร์ชนิดนี้นิยมนำไปใช้เป็นตัวขับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่นเครื่องบด ผสมอาหาร  เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า เครื่องนวดไฟฟ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า และสว่านไฟฟ้า เป็นต้น


บน: ตัวอย่างมอเตอร์ยูนิเวอร์แซล
ล่างช้าย: วงจรมอเตอร์  ล่างขวา:คุณสมบัติท่างแรงบิดและความเร็ว


 

เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ (Shaded Pole Motor)
 

เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ หรือบางตำราเรียกว่ามอเตอร์แบบบังขั้วนี้ โดยทั่วไปจะเป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่สุด และมีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำมาก  โดยทั่วไปจะนำไปใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กๆเช่น ไดร์เป่าผม พัดลมขนาดเล็ก เป็นต้น






------------------------------------------------------------

 

คลิปอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอยู่ในเพลลิสช่องยูทูปของ 9engineer.com โดยใช้ชื่อช่องว่า Technology talk Channel 

 1. วงจรและวิธีการสตาร์ทแบบไดเร็คออนไลน์  DOL
 2. วงจรควรคุมการกลับทางหมุน
 3. วงจรและวิธีการสตาร์ทแบบสตาร์ เดลต้า  Y-D Starter
 4. การสตาร์แบบออโตทรานส์ฟอร์เมอร์  Auto transformer starter
 5. การต่อขดลวดมอเตอร์ อย่างไรไม่ให้เกิดการใหม้หรือเสียหาย
 6. การเช็ตโอเวอร์โหลดรีเลย์
 7.การเช็ตโอเวอร์โหลดรีเลย์กับมอเตอร์ที่มีเซอร์วิสแฟคเตอร์
 8.รีเลย์กับคนแทคเตอร์ต่างกันอย่างไร
 9.อื่นๆ


 

========================================================