Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,992
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,787
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,467
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,820
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,357
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,515
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,380
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,626
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,450
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,688
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,387
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,142
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,903
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,219
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,633
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
23/04/2563 07:29 น. , อ่าน 7,950 ครั้ง
Bookmark and Share
Auto Transformer Start
โดย : Admin

โดย: สุชิน เสือช้อย (แอดมิน)


การสตาร์ทมอเตอร์ด้วยหม้อแปลงแบบออโต้ 
(Auto Transformer Start)


คลิปอธิบายการสตาร์มอเตอร์ด้วยออโตทรานฟอร์เมอร์



การสตาร์ทมอเตอร์แบบใช้หม้อแปลงแบบอัตโนมัติหรือออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์นี้  ถือว่าเป็นการสตาร์ทมอเตอร์แบบใช้วิธีการลดแรงดันขณะสตาร์ทอีกวิธีหนึ่ง   ซึ่งแนวคิดและเหตุผลก็คล้ายๆกับการสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์เดลต้า  คือการลดแรงดันเพื่อลดกระแสและแรงบิดช่วงสตาร์ทหรือช่วงออกตัวสำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่ๆ 

 



แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองแบบจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

- การต่อขดลวด....การสตาร์ทมอเตอร์แบบนี้  ขั้วต่อสายมอเตอร์จะเป็นแบบ 3 สาย หรือ 6 สายก็ได้ แต่จะต้องทำการต่อภายในให้เรียบร้อยก่อนต่อเข้ากับชุดสตาร์ทมอเตอร์ ซึ่งจะมีสายออกมาจากมอเตอร์เพียงแค่ 3 สาย หรือสามเส้นเท่านั้น   ส่วนกรณีของการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า มอเตอร์ที่ใช้จะมีขั้วต่อสาย 6 เส้น และจะใช้แมกเนติกคอนแทคเตอร์ในวงจรเพาเวอร์เป็นตัวต่อวงจรให้

- แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ขณะสตาร์ท...การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า แรงดันที่มอเตอร์ได้รับช่วงออกตัวหรือช่วงสตาร์ทจะคงที่ประมาณ 57.7 % หรือ 58%  ส่วนการสตาร์ทแบบออโต้ทรานส์ฟอเมอร์จะแทปให้เลือกว่าต้องการแรงดันขณะสตาร์ทเท่าไหร่ และโดยทั่วไปจะมี 3 แท๊ปให้เลือกคือ 50, 65 และ 80 %  ซึ่งสามารถเลือกแทปแรงดันให้สอดคล้องแรงบิดหรือทอร์คที่โหลดต้องการ


การทำงานของวงจรการสตาร์ทแบบออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์

ขั้นตอนแรก... เมื่อเริ่มสตาร์ท มีคอนแทคเตอร์ 2 ตัวถูกสั่งให้ทำงาน โดย KM1 จะต่อวงจรให้ออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์ต่อวงจรให้เป็นแบบเดลต้า ส่วน KM2 จะต่อวงจรจายไฟให้กับหม้อแปลง ( KM1 ควรทำงานก่อน KM2 เพื่อต่อวงจรหม้อแปลงให้เรียบร้อยก่อนจ่ายไฟ)  ส่วนมอเตอร์ก็จะได้รับแรงดันไฟฟ้าตามเป็นเปอร์เซ็นต์โดยขึ้นอยู่กับว่าวงจรนั้นๆใช้แทปหม้อแปลงกี่เปอร์เซ็นต์ 50,65 หรือ 80 %





ขั้นตอนที่สอง....คอนแทคเตอร์ KM1 จะเปิดวงจรหม้อแปลงออก  ซึ่งในขั้นตอนนี้ขดลวดของหม้อแปลงจะเปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นรีแอคเตอร์ (Reactor) ต่ออนุกรมกับขดลวดของมอเตอร์แทน
 

 

ขั้นตอนที่สามหรือช่วงรัน...คอนแทคเตอร์ KM2 จะถูกสั่งให้เปิดวงจร จากนั้นคอนเตอร์ KM3 จะทำการต่อวงจรและต่อโดยตรงให้กับแหล่งจ่าย

 

*** การเลือกแทปจะต้องสัมพันธ์กับความต้องการแรงบิดของโหลด  ต้องแน่ใจว่าแทปของแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์จะต้องสร้างทอร์คได้มากกว่าทอร์คหรือแรงบิดที่โหลดต้องการ (สี่น้ำเงินคือทอร์คที่สร้างโดยมอเตอร์ ส่วนสีเหลืองคือทอร์คที่โหลดต้องการ)

 

 

กระแสและทอร์ค ขณะสตาร์ท สัมพันธ์กับ แรงดันอย่างไร

- กระแส...กระแสจะแปรผันตรงกับแรงดันที่ป้อน  ยกตัวอย่างมีกระแสขณะสตาร์ที่แรงดันพิกัดเป็น 6 เท่าของกระแสพิกัด และวงจรสตาร์ทนี้เลือกใช้แทปหม้อแปลที่ 65 % (แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ช่วงสตาร์จะเท่ากับ 380 * 0.65 = 247 V.) ซึ่งก็ทำให้กระแสขณะสตาร์ทลดลงเหลือประมาณ(247/380)*6 = 3.9  เท่า หรือประมาณ 65% เมื่อเปรียบเทียบการสตาร์ทแบบต่อโตยตรงกับไลร์ซึ่งมีค่าเป็น 6  เท่าของกระแสพิกัด

- ทอร์คหรือแรงบิด..ทอร์คจะเป็นสัดส่วนกำลองกับแรงดัน  ถ้าเลือกแทปของหม้อแปลงที่ 65 %  (380 * 0.65 = 247 V.) ทอร์คขณะสตาร์ทก็จะลดลงเหลือ (247/380)2 * 1.5 = 0.63 เท่า หรือ 63% ของแรงบิดสูงสุด  เป็นต้น


 

========================================================