Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,366
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,518
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,935
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,413
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,491
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,456
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,252
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,388
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,308
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,450
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,491
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,421
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,384
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,906
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,522
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,462
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,890
28 AVERA CO., LTD. 22,535
29 เลิศบุศย์ 21,636
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,319
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,187
32 แมชชีนเทค 19,836
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,806
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,081
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,743
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,551
38 SAMWHA THAILAND 18,239
39 วอยก้า จำกัด 17,829
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,140
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,007
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,577
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,383
18/10/2560 07:10 น. , อ่าน 18,885 ครั้ง
Bookmark and Share
True RMS คืออะไร
โดย : Admin

 

มาทำความรู้จักค่าต่างๆ ของสัญญาณไฟฟ้า และค่า RMS กัน


กราฟสัญญาณ-เวลา




อธิบายแบบง่ายๆ

สัญญาณไฟฟ้าคือแรงดันหรือกระแสซึ่งเป็นพาหะของข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งปกติจะหมายถึงแรงดัน แต่อย่างไรก็ตามสามารถใช้ได้ทั้งแรงดันหรือกระแสในวงจร



 

กราฟแรงดัน-เวลา  แสดงถึงคุณสมบัติต่างๆของสัญญาณไฟฟ้า

 


 ความหมายของคำย่อที่แสดงในรูปด้านบน

• ขนาด(Amplitude) คือค่าแรงดันสูงสุดของสัญญาณมีหน่วยเป็นโวลท์ (V)

• แรงดันยอด(Peak voltage) คืออีกชื่อหนึ่งของขนาด(amplitude)

• แรงดันยอดถึงยอด(Peak-peak voltage) คือสองเท่าของแรงดันยอดหรือขนาด เมื่ออ่านค่ารูปคลื่นที่ออสซิลโลสโคปมักใช้หน่วยแรงดันยอดถึงยอด

• คาบเวลา(Time period) คือเวลาที่สัญญาณครบรอบหนึ่งรอบ มีหน่วยวัดเป็นวินาที(s) แต่คาบเวลาที่ใช้ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะสั้นเป็นมิลลิวินาที(ms) และไมโครวินาที (µs) 1ms = 0.001s and 1µs = 0.000001s.

• ความถี่(Frequency) คือจำนวนรอบคลื่นต่อวินาที มีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hz) แต่ความถี่ที่ใช้ส่วนใหญ่จะสูงเป็กิโลเฮิรตซ์ (kHz) และเมกะเฮิรตซ์ (MHz) 1kHz = 1000Hz and 1MHz = 1000000Hz.
ความถี่ของไฟฟ้าหลักในประเทศไทยคือ 50Hz,   ดังนั้นจึงมีคาบเวลาเท่ากับ 1/50 = 0.02s = 20ms.




ค่ารูทมีนสแควร์ (RMS) หรือค่าที่ใช้งานจริง

 ค่าของแรงดันกระแสสลับจะเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จากศูนย์ไปถึงยอดทางบวก กลับลงมายังศูนย์และไปยังยอดลบ แล้วก็กลับขึ้นมายังศูนย์อีกครั้ง โดยเวลาส่วนมากจะน้อยกว่าแรงดันยอด ทำให้การวัดจากผลที่แท้จริงไม่ดี
 
 

จึงต้องใช้ค่าแรงดันรูทมีนสแควร์แทน (VRMS) ซึ่งคือ 0.707 ของแรงดันยอด (Vpeak):  VRMS = 0.707 × Vpeak และ Vpeak = 1.414 × VRMS
 

ค่านี้เป็นจริงเฉพาะคลื่นรูปซายน์ (เป็นรูปคลื่นธรรมดาที่สุดของไฟฟ้ากระแสสลับ) คลื่นรูปร่างอื่นต้องใช้ค่าที่ต่างออกไปไม่ใช่ 0.707 และ1.414
 

ค่าอาร์เอ็มเอสเป็นค่าประสิทธิผลของแรงดันหรือกระแสที่เปลี่ยนแปลง สามารถเทียบเท่าได้กับค่าดีซี (DC) สม่ำเสมอหรือคงที่ ซึ่งให้ผลเหมือนกัน

 

 

- ตัวอย่าง เช่น ต่อหลอดกับไฟเอซี 6V RMS จะให้ความสว่างเท่ากันกับหลอดที่ต่อกับไฟดีซีสม่ำเสมอ 6V อย่างไรก็ตามแสงจะหรี่ลงหากต่อหลอดกับไฟเอซีแรงดันยอด 6V เพราะเมื่อคิดเป็นค่า RMS จะได้เท่ากับ 4.2V เท่านั้น( เทียบได้กับไฟดีซีสม่ำเสมอ 4.2V )
 

มันเป็นการช่วยให้ง่ายหากคิดว่าค่าอาร์เอ็มเอสเป็นค่าแบบเฉลี่ย แต่ก็ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยที่แท้จริง! ความจริงค่าเฉลี่ยของแรงดัน (หรือกระแส) ของสัญญาณเอซีจะเท่ากับศูนย์ เพราะส่วนบวกกับส่วนลบ จะหักล้างกันหมด
 

- ค่าไฟเอซีที่วัดด้วยมิเตอร์เป็นค่าอาร์เอ็มเอสหรือค่าแรงดันยอด?
 

โวลท์มิเตอร์และแอมป์มิเตอร์เอซีแสดงค่าอาร์เอ็มเอส (RMS) มิเตอร์ดีซี (DC) ก็แสดงค่าอาร์เอ็มเอส (RMS) เช่นกันเมื่อต่อวัดไฟดีซีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าความถี่น้อยกว่า 10Hz เราจะเห็นมิเตอร์แกว่งไปมา

 

- คำว่า '6V AC' แท้จริงหมายถึง RMS หรือแรงดันยอด?

หากเป็นค่าแรงดันยอดต้องมีคำว่า"peak"กำกับชัดเจน ไม่เช่นนั้นเราต้องคิดว่าเป็นค่าอาร์เอ็มเอส (RMS)ไว้ก่อน ปัจจุบันแรงดันและกระแสเอซีใช้ค่าอาร์เอ็มเอสเสมอเพราะรู้สึกมีเหตุผลเมื่อต้อง เทียบกับกระแสหรือ แรงดันดีซีสม่ำเสมอจากแบตเตอรี่
 

- ตัวอย่างเช่น ไฟ '6V AC' หมายถึง 6V RMS และคิดเป็นแรงดันยอดเท่ากับ 8.5V ไฟหลักในประเทศไทยคือ 220V AC หมายถึง 220V RMS ดังนั้นแรงดันยอดของไฟหลักประมาณเท่ากับ 311V

 

- รูทมีนสแควร์(RMS)แท้จริงหมายถึงอะไร ?

ค่าอาร์เอ็มเอสคือค่าไฟกระแสสลับที่เทียบเท่าไฟกระแสตรง วิธีหาค่าอาร์เอ็มเอสจากคลื่นรูปซายน์ ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ดังนี้
 

ตอนแรกให้ยกกำลังสองค่าทุกจุดทั้งด้านบวกและด้านลบของรูปซายน์ แล้วเฉลี่ยค่าที่ยกกำลังสองทั้งหมด และหาค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยนี้ นั่นคือค่าอาร์เอ็มเอส (RMS) สับสนไหม?
 

ไม่ต้องไปสนใจคณิตศาสตร์หรอก (มันดูซับซ้อนเกินความเป็นจริง) เพียงยอมรับว่าค่าอาร์เอ็มเอส (RMS) ของแรงดันและกระแส คือค่าที่ใช้งานจริง และเป็นค่าที่นำมาใช้งาน ก็พอแล้ว

 




ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายกรณีท่านที่ผ่านการเรียนแคลคูลัสหรือคณิตศาสตร์ชั้นสูง


  เป็นที่รู้กันว่าไฟฟ้ากระแสสลับนั้น จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปกับช่วงเวลา การที่จะระบุปริมาณของแรงดันหรือกระแสนั้นจึงค่อนข้างลำบาก จึงมีการตั้งค่า RMS หรือ Root Mean Square หรือค่าเฉลี่ยกำลังสอง ซึ่งเป็นปริมาณเสมือนกับไฟฟ้ากระแสตรง  สมการ RMS มีดังต่อไปนี้

 


 

 

เมื่อกล่าวถึง RMS แล้ว ก็ต้องกล่าวนึงค่าเฉลี่ย (Averange) ซึ่งเป็นฝาแฝดกัน โดยมีสมการต่อไปนี้

 

 

จากสมการทั้งสองสมการจะได้




จากสมการข้างต้นทั้ง ค่าเฉลี่ย (Averange) และค่า RMS เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นว่าทั้ง 2 ค่าแตกต่างกัน ค่า RMS จะมีค่ามากกว่าค่า average เล็กน้อย  


 

และเมื่อใดก็ตาม ที่กราฟไม่เป็น Sine wave ค่า RMS และค่า Averange จะยิ่งแตกต่างกันมากขึ้นดังแสดงในตารางต่อไปนี้

 

ดังเมื่อเราเลือกใช้งานเครื่องมือวัดค่าทางไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น Clamp meter , Multimeter , Insulation tester  หากต้องการวัดค่าที่มีความแม่นยำในการวัดที่หลากหลาย ควรเลือกเครื่องมือที่ใช้ระบบการแสดงผลเป็นค่า RMS

แต่ถ้าต้องการวัดเพียงลูกคลื่น Sine wave อาจใช้งานเครื่องมือทั่วไปที่แสดงผลด้วยค่า averange เพื่อประหยัดงบ ก็ได้เช่นกัน

 

 

========================================================