Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,003
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,596
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,000
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,806
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,475
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,568
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,523
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,834
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,368
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,461
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,376
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,524
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,607
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,151
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,541
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,566
17 Industrial Provision co., ltd 39,238
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,389
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,307
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,635
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,462
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,865
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,230
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,972
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,597
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,527
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,963
28 AVERA CO., LTD. 22,597
29 เลิศบุศย์ 21,699
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,399
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,261
32 แมชชีนเทค 19,905
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,880
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,196
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,151
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,810
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,613
38 SAMWHA THAILAND 18,307
39 วอยก้า จำกัด 17,915
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,490
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,346
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,315
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,254
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,229
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,146
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,082
47 Systems integrator 16,723
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,642
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,468
50 Advanced Technology Equipment 16,456
20/04/2557 08:12 น. , อ่าน 9,249 ครั้ง
Bookmark and Share
Leading PF. ในระบบไฟฟ้าสร้างปัญหาหรือไม่?
โดย : Admin

Leading PF. ในระบบไฟฟ้าสร้างปัญหาหรือไม่?
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปกรณ์ที่ใช้

 

 

 

จากตอนที่แล้ว (Leading PF. ในระบบไฟฟ้าสร้างปัญหาหรือไม่?) เราได้พูดถึงสาเหตุและปัญหาของ Leading PF. หรือ Reverse kvar ในระบบไฟฟ้า ครั้งนี้เราจะพูดถึงแนวทางการพิจารณาการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามต้องขออธิบายก่อนว่าปัญหานี้จะไม่ได้พบโดยทั่วไปแต่จะเป็นกรณี เฉพาะสำหรับระบบไฟฟ้าแรงต่ำในอาคารที่มีการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ในปริมาณมากเมื่อเทียบกับโหลดมอเตอร์หรือโหลดในโรงงาน อุตสาหกรรมทั่วไป



การแก้ปัญหาวิธีแรกที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎีเมื่อมีปัญหากระแสนำหน้า (Leading) ในระบบไฟฟ้าสามารถแก้ไขได้โดยการติดตั้ง Inductor หรือ Reactor เข้าไปในระบบเพื่อดึงมุมของกระแสให้กลับมาใกล้เคียงกับมุมของแรงดันหรือถ้า มีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะสามารถดึงให้กลับมาล้าหลังได้ (Lagging) อย่างไรก็ตามโดยวิธีการนี้อาจทำได้ถ้าอยู่บนเงื่อนไขว่าค่า Inductive reactive power ที่ต้องการชดเชยเนื่องจากโหลดจะต้องมีค่าคงที่หรือไม่เปลี่ยนแปลงมากและที่ สำคัญที่สุดคือในระบบไฟฟ้าควรจะไม่มีกระแสหรือแรงดันฮาร์มอนิกอยู่ในระบบ น่าเสียดายว่าในทางปฏิบัตินั้นโหลดที่สร้างปัญหา Leading PF. นั้นส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดจะเป็นโหลด Non-linear ซึ่งสร้างปัญหาฮาร์มอนิกและมีการใช้กำลังงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา ปัญหาที่เกิดขึ้นจะแบ่งได้ 2 กรณีจากวิธีการนี้ กล่าวคือปัญหาที่ 1 จะเกิดจากปัญหาเรโซแนนซ์ที่ความถี่สูงซึ่งเป็นผลมาจากค่า Inductance ของ Reactor ที่ติดตั้งเข้าไปร่วมกับ Capacitance ที่มีอยู่ในโหลดแต่ละตัว ปัญหาที่ 2 จะเกิดจากการตัด-ต่อ Reactor เข้าสู่ระบบในแต่ละครั้งก็มีโอกาสสูงที่จะสร้างกระแสกระชาก (Inrush current) ให้กับระบบไฟฟ้าได้



อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะนำ มาแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดีโดยไม่สร้างความเสี่ยงจากเหตุการณ์ดังที่กล่าว มาแล้วได้แก่ Active Power Filter (APF) และ Static Var Generator (SVG) ซึ่งอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถชดเชยหรือแก้ไขปัญหา Leading PF./Reverse kvar ในระบบได้โดยใช้หลักการของแหล่งจ่ายกระแสจากอินเวอเตอร์ที่จะฉีดกระแสรีแอ คทีฟเข้าสู่ระบบเพื่อชดเชยกำลังงานรีแอคทีที่ต้องการได้ ความแตกต่างในการใช้งานของอุปกรณ์ APF และ SVG นั้นต่างกันตรงความสามารถในการกำจัดฮาร์มอนิกที่เกิดขึ้นโดย APF สามารถกำจัดฮาร์มอนิกได้ถึงอันดับที่ 50 พร้อมกับการชดเชยกำลังงานรีแอคทีฟ ส่วน SVG นั้นสามารถกำจัดฮาร์มอนิกได้ในอันดับต้นๆ เท่านั้นโดยจะเน้นในการชดเชยกำลังงานรีแอคทีฟเป็นหลัก แต่เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่เกิดขึ้นจะพบว่า เงินลงทุนต่อ kvar ที่ต้องการของ APF จะสูงกว่า SVG รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ อุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด สามารถหาเพิ่มเติมใน www.pq-team.com

 

 

 

รูปคลื่นกระแสไฟฟ้าตัวอย่างแสดงการทำงานเปรียบเทียบการทำงานกรณีชดเชยเฉพาะ กำลังงานรีแอคทีฟและชดเชยกำลังงานรีแอคทีฟและกระแสฮาร์มอนิกพร้อมกัน

========================================================