Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,779
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,552
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,586
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,520
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,376
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,441
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,330
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,212
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,444
04/11/2556 14:59 น. , อ่าน 6,816 ครั้ง
Bookmark and Share
UPS สำรองไฟบ่อยโดยที่ไฟฟ้าไม่ดับ UPS Online ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับฮาร์มอนิกอย่างไร?
โดย : Admin

 เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) เป็นอุปกรณ์ที่ทุกท่านรู้จักกันดี โดยหน้าที่หลักของ UPS จะทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองให้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการ แต่มีในหลายๆ ครั้งที่ UPS สำรองไฟฟ้าหรือจ่าย Back up โดยที่ไฟฟ้าไม่ดับ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ในบทความนี้จะอธิบายสาเหตุที่มาและความเป็นไปได้ของเหตุการณ์นี้และจะอธิบายโดยละเอียดว่าเกี่ยวกับปัญหาฮาร์มอนิกอย่างไร 

ถ้าไม่นับการเสียหายของวงจรหรือความผิดปกติในการทำงานของวงจรภายใน UPS เอง UPS จะทำการสำรองไฟฟ้าในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้เท่านั้น

  1. เกิดแรงดันตก แรงดันเกิน ย่านแรงดันทำงานปกติ สำหรับ UPS ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะรองรับแรงดันได้ในช่วง 220V +/- 20% (176V – 264V) นั่นหมายความว่าถ้าแรงดันขาเข้ายังอยู่ในช่วงนี้ UPS จะไม่ทำการสำรองไฟฟ้าแต่จะใช้การทำงานของวงจรภายในทำหน้าที่เพิ่มหรือลดแรงดันเพื่อทำให้แรงดันขาออกของ UPS มีค่าใกล้เคียง 220V แต่เมื่อแรงดันขาเข้าของวงจรมีค่ามากกว่า 264V หรือต่ำกว่า 176V เป็นกรณีที่เกินความสามารถของวงจรภายในที่จะจัดการเพิ่มหรือลดแรงดันให้อยู่ในค่าปกติได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการสำรองไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อจ่ายให้แก่โหลดที่ต่ออยู่ โดยในกรณีนี้เราจะได้ยินเสียงร้องเตือนการสำรองไฟฟ้าของ UPS พร้อมกับสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้จากการหรี่ลงหรือสว่างเกินปกติของหลอดไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ใกล้เคียง
  2. ไฟฟ้าดับ กรณีนี้เป็นกรณีที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยขณะที่ไฟฟ้าดับ UPS ก็จะทำการสำรองไฟฟ้าจนกว่าจะมีแรงดันกลับเข้ามาหรือจนกว่าระดับพลังงานที่สะสมในแบตเตอรี่หมด
  3. เมื่อความถี่ของแรงดันขาเข้ามีการเปลี่ยนแปลง ในการทำงานปกติของ UPS นั้น วงจรภายในจะทำการตรวจสอบความถี่ของแรงดันขาเข้าตลอดเวลาเพื่อใช้เป็นฐานเวลาในการจ่ายแรงดันขาออกหรือเรียกได้ว่าแรงดันขาออกและขาเข้าต้องมีการ Synchronized กันตลอดเวลา โดยทั่วไปย่านความถี่ที่ UPS สามารถ Synchronized ได้จะถูกระบุใว้ในสเป็คของเครื่อง เช่น 50Hz +/-10% หมายความว่าในช่วงความถี่ 45-55 Hz UPS จะไม่ทำการสำรองไฟฟ้าแต่เมื่อความถี่ของแรงดันขาเข้าที่เข้ามาอยู่นอกช่วงนี้ UPS ก็จะทำการสำรองไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ทันที 

     
    ตัวอย่างการระบุช่วงความถี่ในการทำงานปรกติของ UPS
  4. แรงดันขาเข้ามีความเพี้ยนอย่างรุนแรง ในกรณีนี้ที่พบกันมากเช่นเมื่อเราจ่ายแรงดันจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ากับ UPS เราจะพบว่าบ่อยครั้งที่ UPS ไม่สามารถ Online หรือ Synchronized เข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้เนื่องจากรูปคลื่นของแรงดันที่ได้จะมีความเพี้ยนอย่างรุนแรงจนทำให้วงจรตรวจจับสัญญาณและประมวลผลภายใน UPS ไม่สามารถทำการ Synchronized แรงดันได้ หรือในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้ามีความเพี้ยนแรงดันฮาร์มอนิกสูงก็เป็นสาเหตุที่สำคัญดังจะกล่าวในหัวข้อถัดไป

ผลกระทบของปัญหาฮาร์มอนิกต่อ UPS

ถ้าจะให้เรียงชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรที่สร้างปัญหาฮาร์มอนิกให้กับระบบไฟฟ้า UPS ขนาดใหญ่จะอยู่ในรายชื่อต้นๆ ของการเรียงลำดับอุปกรณ์ที่สร้างปัญหากระแสฮาร์มอนิกแก่ระบบไฟฟ้า เนื่องจากในการทำงานของ UPS เองจำเป็นจะต้องมีวงจรเรียงกระแสหรือเร็กติไฟเออร์ที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรงให้กับส่วนของอินเวอเตอร์และสำหรับการชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งกระแสฮาร์มอนิกที่เกิดจาก UPS เองเมื่อรวมกับกระแสฮาร์มอนิกจากอุปกรณ์อื่นๆ เข้าสู่ระบบไฟฟ้าของอาคารหรือโรงงานก็จะเป็นสาเหตุหลักของความเพี้ยนแรงดันฮาร์มอนิกที่มีผลทำให้การทำงานของ UPS ผิดพลาดเองและเกิดปัญหาสำรองไฟฟ้าในขณะที่ไฟฟ้าไม่ดับ

 

ตัวอย่างรูปคลื่นแรงดันและกระแสที่มีความเพี้ยนฮาร์มอนิกสูงซึ่งทำให้ UPS ตรวจสอบความถี่ผิดพลาด
 
ตัวอย่างรูปคลื่นแรงดันและกระแสที่มีความเพี้ยนฮาร์มอนิกสูงซึ่งทำให้ UPS ตรวจสอบแรงดันตกแรงดันเกินผิดพลาด


จากรูปตัวอย่างรูปคลื่นแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะพบว่าการที่มีแรงดัน Notch (ลักษณะรูปคลื่นแหลมบนรูปคลื่นแรงดัน) จะเป็นสาเหตุให้วงจรตรวจจับความถี่ของ UPS ทำการคำนวณความถี่ของแรงดันที่เข้าสู่ UPS ผิดพลาดโดย UPS จะเข้าใจว่าความถี่ที่เข้ามามีค่ามากกว่า 2 เท่าของความถี่จริงหรือมากว่า 100Hz ซึ่งอยู่นอกย่านการทำงานของการ Synchronized เครื่อง UPS จึงตัดสินใจสำรองไฟฟ้าออกมา ในกรณีที่ 2 แม้ว่าแรงดันที่เกิดขึ้นจะไม่มีแรงดัน Notch เกิดขึ้นแต่พบว่ามีความเพี้ยนของแรงดันสูงมาก ในกรณีนี้ UPS จะเข้าใจว่าเกิดมีไฟตกไฟเกินอย่างรุนแรง UPS ก็จะทำการสำรองไฟฟ้าออกมาเช่นกัน

ทั้ง 2 กรณีที่เกิดขึ้นนี้ถ้าเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าของท่าน UPS ที่ติดตั้งใช้งานอยู่ก็จะร้องเตือนหรือสำรองไฟฟ้าตลอดเวลาที่เกิดความเพี้ยนของรูปคลื่นแรงดันดังกล่าว หากท่านต้องการหาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากส่วนใด เบื้องต้นสามารถทำได้โดยให้สังเกตช่วงเวลาที่เกิดว่าตรงกับการเดินเครื่องจักรตัวใดหรือระบบใดในอาคารหรือโรงงานของท่าน โดยส่วนใหญ่เครื่องจักรที่เป็นสาเหตุของปัญหานี้ได้แก่ VSD, CNC ขนาดใหญ่, เตาหลอม Induction หรือ Furnace และเครื่องจักรที่ใช้กำลังงานไฟฟ้าสูงที่เป็น Non-linear load หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญพร้อมเครื่อง Power Analyzer เพื่อตรวจวัด วิเคราะห์พร้อมวิธีแก้ปัญหา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งการแก้ปํญหาฮาร์มอนิกที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่เพียงทำให้ UPS ทำงานปกติเท่านั้น แต่เป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุของระบบไฟฟ้าซึ่งจะทำให้ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้าในอีกหลายเรื่อง

 

บทความโดย

ผศ.ดร.อิษฎา  บุญญาอรุณเนตร

ที่ปรึกษาฝ่ายวิศวกรรมบริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

========================================================