Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,771
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,462
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,345
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,447
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,128
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,517
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,224
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,684
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,139
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,325
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,207
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,454
50 Advanced Technology Equipment 16,442
04/11/2556 14:44 น. , อ่าน 7,587 ครั้ง
Bookmark and Share
กระแสนิวตรอลสูงมาก ทั้งที่จัดสมดุลโหลดดีแล้ว เกี่ยวข้องกับปัญหาฮาร์มอนิกอย่างไร
โดย : Admin

 สำหรับวงจรไฟฟ้า 3 เฟส วิศวกรไฟฟ้าหรือผู้รับผิดชอบด้านไฟฟ้าทุกท่านทราบหรือพยายามจัดให้โหลดที่ใช้งานในระบบไฟฟ้าของแต่ละเฟสมีความสมดุลกันหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "การจัดโหลดบาลานซ์" เพื่อป้องกันปัญหาแรงดันเฟสไม่สมดุลหรือปัญหาความร้อนสูงผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหม้อแปลงและมอเตอร์ 3 เฟสที่ใช้งานภายในโรงงานหรืออาคาร ก่อนหน้าที่จะมีการใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายกันอย่างแพร่หลายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเป็น Non-linear สูงมาก เพียงท่านจัดกระแสของแต่ละเฟสให้ใกล้เคียงกันกระแสนิวตรอลก็จะมีค่าต่ำตามทฤษฎีวงจรไฟฟ้า 3 เฟส แต่ในปัจจุบันหลายท่านมีปัญหากระแสนิวตรอลสูงมากแม้ว่ากระแสเฟสจะมีค่าใกล้เคียงหรือเท่ากันก็ตาม ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือปัญหากระแสนิวตรอลสูงนี้จะเกิดขึ้นกับอาคารขนาดใหญ่มากว่าโรงงานที่ใช้งานโหลด 3 เฟส ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

 

รูปที่ 1 ตัวอย่างปัญหากระแสนิวตรอลสูงเนื่องจากปัญหาฮาร์มอนิก


รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างอาคารห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งมีปัญหากระแสนิวตรอลไหลในระบบสูงมากเนื่องจากปัญหากระแสฮาร์มอนิกจากข้อมูลกระแสที่แสดงพบว่ากระแสที่ไหลแต่ละเฟสมีค่าใกล้เคียงกันมาก คือ 1,640A, 1,641A และ 1,535A ตามลำดับซึ่งถ้าพิจารณาจากข้อมูลกระแสนี้จะพบว่ากระแสนิวตรอลไม่ควรจะมีค่ากระแสไหลมากว่า 100A แต่ข้อมูลจากเครื่องมือวัดแสดงค่ากระแสนิวตรอลมีค่าสูงถึง 1,080A ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากกระแสที่ไหลในแต่ละเฟสมีส่วนประกอบฮาร์มอนิกที่ 3 และ 9 ประกอบอยู่ ซึ่งฮาร์มอนิกอันดับที่ 3 และ 9 นี้มีคุณสมบัติเป็น Zero sequence order ซึ่งกระแสฮาร์มอนิกที่มีคุณสมบัติตรงตามนี้จะไหลไปรวมกันและมีเฟสเสริมกันทั้ง 3 เฟสที่สายนิวตรอล รูปที่ 2 แสดงสเป็กตรัมกระแสฮาร์มอนิกของรูปคลื่นกระแสในรูปที่ 1 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีกระแสฮาร์มอนิกอันดับที่ 3 ในปริมาณที่สูงมาก ส่วนรูปที่ 3 แสดงการวิเคราะห์ซีแควนซ์ของฮาร์มอนิกที่เกิดขึ้น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดจาก Zero sequence order ซึ่งใช้สัญลักษณ์ (0) ในรูปที่ 3

 
รูปที่ 2 แสดงส่วนประกอบของกระแสฮาร์มอนิกของกระแสในรูปที่ 1
 
รูปที่ 3 แสดงการจำแนกซีแควนซ์ของส่วนประกอบของกระแสฮาร์มอนิกในรูปที่ 1 และ 2
 
รูปที่ 4 แสดงการรวมกันทางเฟสของฮาร์มอนิกที่ 3 ที่สายนิวตรอล



รูปที่ 4 แสดงผลที่เกิดขึ้นจากการที่มีฮาร์มอนิกที่ 3 ไหลอยู่ในระบบไฟฟ้าอันเป็นสาเหตุให้กระแสนิวตรอลมีค่าสูง ซึ่งตามทฤษฎีแล้วกระแสนิวตรอลที่เกิดจากปัญหฮาร์มอนิกนี้สามารถมีค่าสูงสุดได้ถึง 3 เท่าของกระแสเฟส ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้วจะเกิดอันตรายกับสายตัวนำนิวตรอลเนื่องจากกระแสสูงเกินพิกัดสายตัวนำและเป็นสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยได้

 

บทความโดย

ผศ.ดร.อิษฎา  บุญญาอรุณเนตร

ที่ปรึกษาฝ่ายวิศวกรรม บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

========================================================