Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,787
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,467
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,820
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,357
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,515
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,380
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,626
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,450
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,687
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,387
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,903
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,218
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,632
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
24/10/2556 17:04 น. , อ่าน 7,238 ครั้ง
Bookmark and Share
Power Factor (PF.) คืออะไร?
โดย : Admin

 สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อาคารขนาดใหญ่หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าระบบ 3 เฟสที่มีการใช้กำลังงานมากกว่า 30 kW ขึ้นไปในบิลเรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่ได้รับในแต่ละเดือนก็จะมีการเรียกเก็บค่ากำลังงานรีแอคทีฟ (kVar) ในส่วนที่เกิน 61.97% ของค่าความต้องการกำลังงานแอคทีฟเฉลี่ยสูงสุด 15 นาที หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าค่าปรับเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power Factor: PF.) ซึ่งในปัจจุบัน (ตั้งแต่ กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา) มีการเรียกเก็บในอัตรา 56.07 บาท/kVar โดยทางการไฟฟ้าเองก็มีนโยบายหรือต้องการให้ผู้ใช้ไฟฟ้าปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้มีค่าตัวประกอบกำลัง เพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) > 0.85 เพื่อที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบส่งจ่ายอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ด้วยเหตุนี้เองผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่ต้องการจะเสียค่าปรับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) นี้หรือต้องการให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตนเองดีขึ้น ก็จำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ของตนเองให้มีค่ามากกว่า 0.85 ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียค่าปรับเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) และประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าดีขึ้น อันเป็นผลให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของตนเองลดลง 


ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่าค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้านั้น คือค่าตัวเลขอัตราส่วนของกำลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานจริงหรือ Real Power (P) ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt:W) หารด้วยค่ากำลังงานที่ปรากฏ หรือ Apparent Power (S) ซึ่งมีหน่วยเป็นวีเอหรือโวลท์-แอมป์ (VA) โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายได้ว่า Power Factor คือตัวเลขที่บอกถึงกำลังงานไฟฟ้าที่ได้ใช้ประโยชน์หรือเกิดการทำงานจริงกับขนาดของกำลังงานทั้งหมดที่ต้องการจากระบบไฟฟ้าโดยส่วนที่เกินจากกำลังงานที่ใช้ทำงานจริงจะเรียกว่า กำลังงานรีแอคทีฟหรือ Reactive Power ซึ่งมีหน่วยเป็นวาร์ (VAR)





กำลังงานรีแอคทีฟซึ่งไม่เกิดประโยชน์นี้ก็จะเป็นภาระให้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลง สายส่งด้วย และจะเกิดกำลังงานสูญเสียในอุปกรณ์เหล่านี้ในขณะเดียวกัน รูปที่ 1 แสดงภาพเปรียบเทียบกำลังงานที่ม้าต้องใช้ในการลากรถ เทียบได้กับ Apparent Power การเคลื่อนที่ของรถม้าในทิศทางที่ต้องการคืองานที่เกิดขึ้นจริง Real Power และกำลังที่ม้าต้องใช้มากขึ้นโดยไม่ได้การเคลื่อนที่ของรถในทิศทางที่ต้องการ Reactive Power ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) คือค่า Cosine ของมุมที่เกิดขึ้นตามรูป ในกรณีที่ม้าออกแรงตั้งฉากกับรางที่เป็นทิศทางเคลื่อนที่ไม่ว่าจะมากเท่าใดก็จะไม่เกิดงานขึ้นซึ่งในกรณีนี้คือ เพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) = 0 แต่ในทางกลับกันถ้าม้าเดินอยู่บนรางกำลังที่ใช้เพื่อจะลากรถก็จะใช้น้อยที่สุดนั่นเอง


รูปที่ 1 ภาพเปรียบเทียบกำลังงานที่ใช้ในการลากรถของม้ากับกำลังงานทางไฟฟ้า
 

 
รูปที่ 2 แสดงรูปคลื่นและแรงดันไฟฟ้าที่ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ต่างๆ
โดยค่ากำลังงานจริงของระบบจะมีค่าเท่ากับค่ากำลังงานเฉลี่ยที่เกิดขึ้น (Average Power)


 
 

บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษาบทความเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.pq-team.com

 

========================================================