Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,780
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,552
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,588
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,213
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
17/05/2556 07:41 น. , อ่าน 6,148 ครั้ง
Bookmark and Share
Traditional Thinking_คิดแบบเดิมๆ
โดย : Admin

เก็บตกจาก FB

 

ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ปรมาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์

แนะนำว่า `การคิดแบบเดิม´ (Traditional Thinking) ซึ่งได้แก่...
● การคิดแบบโต้แย้งวิจารณ์ (Critical Thinking)
● การคิดแบบตรรก (Logical Thinking)
● การคิดแบบตัดสินประเมิน (Judgment Thinking)
โดยใช้การถกเถียงกัน(Argument) เป็นเครื่องมือตัดสินที่มุ่งหาว่าใครผิด ใครถูก จนเป็นการคิดแบบ “ฉันถูก เธอผิด” (I am right, you are wrong)

นั้นไม่เพียงพอที่จะช่วยให้การบ
ริหารงานไปได้อย่างราบรื่น รุดหน้า และสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ...เท่าที่ควร

 


ตัวอย่าง `การคิดแบบเดิม´ ที่พบได้บ่อยๆ ...

ในการประชุมแห่งหนึ่ง ผู้ร่วมประชุมต้องการหาวิธีใหม่ๆ หรือความคิดใหม่ๆ (New Ideas) เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่

เมื่อมีสมาชิกเสนอวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่วิธีหนึ่งในที่ประชุม ความคิดนั้นมีส่วนที่เป็นประโยชน์อยู่ประมาณ 95% และมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอยู่บ้างประมาณ 5%

แต่เป็นจุดอ่อนและปัญหา 5% นี้เอง ที่คนมักจะหยิบยกขึ้นมาถก และว่า "ยังไม่ดีพอ ยังไม่สมบูรณ์แบบ"

ช่วงของการยกจุดอ่อนขึ้นมาแย้งผู้เสนอนั้น ผู้คนในที่ประชุมคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันที และดูจะเห็นตรงกันและเข้าใจสิ่งที่คนยกมาแย้งได้ง่ายมาก

เมื่อมีใครคนหนึ่งแย้งขึ้นมาก็จะมีคนอภิปรายสนับสนุนข้อแย้งนั้นได้ยืดยาวอย่างมีรสชาติ พร้อมยกกรณีตัวอย่างมาอธิบายประกอบให้เห็นอย่างเข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นว่าความคิดนี้ดีแต่ใช้ไม่ได้หรอก

เมื่อมีคนเห็นจุดอ่อนมากมาย ความคิดใหม่ที่คนเสนอขึ้นมานั้นก็ตกไป

พอมีคนเสนอความคิดอื่นขึ้นมาอีก ก็มีคนยก 5% ขึ้นมาแย้งอีกตามครรลองเดิม ประชุมกันสองสามชั่วโมงยังหาข้อสรุปไม่ได้

ในแต่ละวัน เวลาส่วนหนึ่งในการทำงานของหลายๆ คนโดยเฉพาะผู้บริหารและหัวหน้างาน จึงใช้ไปกับการประชุม เพราะบางเรื่องประชุมไม่เสร็จในครั้งเดียวเพราะยังคิดหาข้อสรุปไม่ได้ งานของตนเองก็รออยู่ที่โต๊ะ

จนผู้คนบางส่วนรู้สึกว่าตนทำงานไม่ทันเพราะงานเยอะมาก ซึ่งในกรณีที่พูดถึงกันนี้อาจเป็นไปได้ว่า งานก็เยอะ แต่เวลาในการทำงานมีน้อย เพราะประชุมนาน




`การคิดแบบเดิม´ ซึ่งทำให้คนคิดและพูดจุด 5% กันเป็นส่วนใหญ่นั้น ทำให้เกิด `สิ่งที่น่าเสียดาย´ ในบริษัทและองค์กรต่างๆ เช่น...


1. ทำให้คนไม่กล้าคิด

เพราะเห็นว่าความคิดของตนอาจไม่สมบูรณ์แบบมากพอ เพราะคิดอย่างไรก็มีจุดบกพร่อง จุดอ่อน


2. ทำให้คนที่คิดได้ไม่กล้าพูดเสนอความคิดของตนแก่ที่ประชุม

เพราะรู้ว่าจะมีคนหาเจอ 5% และนำมาแย้งความคิดของตนแน่นอน ถ้าเป็นเช่นนั้นแม้ตนเสนอไปก็ย่อมไม่ผ่านการพิจารณาอยู่ดี เพราะฉะนั้นพูดไปก็ไม่คุ้ม เหมือนอยู่ดีๆ ก็ขึ้นเวทีไปให้คนอื่นชก ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ามีคนส่วนหนึ่งพร้อมชกอยู่แล้ว



3. ทำให้คนบางส่วนมีแนวโน้มที่จะเลือกเป็นคนคอยโต้แย้งมากกว่าจะเลือกเป็นคนคิดใหม่

เพราะระหว่างการเป็นคนเสนอความคิด แล้วถูกคนอื่นโต้แย้ง คัดค้าน กับการเป็นคนไม่เสนอความคิดแต่คอยโต้แย้งความคิดของคนอื่นนั้น คนส่วนใหญ่เลือกที่จะคอยแย้งมากกว่า

ซึ่งอาจเป็นเพราะ...การคิดให้ได้ความคิดใหม่นั้นทำได้ยากกว่า และต้องรับศึกจากคนโต้แย้งมากกว่า

ในทางตรงข้าม การคอยโต้แย้งความคิดของคนอื่นนั้นดูจะทำได้สบายๆ ไม่ต้องออกแรงคิดอะไรสักเท่าไรก็พบจุดที่จะแย้งใครก็ได้

และเหตุหนึ่งที่การโต้แย้งหรือโจมตีความคิดของคนอื่นดูดึงดูดใจคนบางคนมากกว่า เพราะผู้โต้แย้งดูจะเป็นฝ่ายรุกไล่คนอื่น ทำให้รู้สึกเหนือกว่า เพียงแต่คอยแย้งให้อีกฝ่ายจนมุมให้ได้เท่านั้น ขณะที่คนเสนอความคิดต้องคอยตั้งรับแรงปะทะจากคนหลายคน



4. ทำให้เกิดทัศนคติที่คลาดเคลื่อนแก่ผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆว่าการเป็นคนโต้แย้งและหาข้อบกพร่องของความคิดคนอื่นได้ดูเหมือนเป็นคนเฉียบคม และแน่กว่าคนที่คิดความคิดใหม่ๆ ได้เสียอีก

เด็กรุ่นใหม่อาจเห็นว่าท่าทีของรุ่นพี่ที่กำลังพูดคัดค้านและโต้แย้งคนอื่นนั้น ดูมาดมั่นและมีพลัง ส่วนคนที่ถูกแย้งนั้นส่วนใหญ่เรียบๆ ไม่หวือหวา ร้อนแรงเข้มข้นเหมือนคนที่กำลังโต้แย้ง

คนรุ่นหลังที่มีทัศนคติเช่นนี้ก็จะเลียนแบบและสืบทอดการเป็นนักโต้แย้ง และไม่คิดอะไรใหม่ๆ ต่อไป เพราะตนคิดว่าจะช่วยที่ประชุมตรวจสอบความคิดของคนอื่น ซึ่งตนถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญมาก



5. ทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันกาลตามที่ควร

เพราะความคิดทั้งหลายไม่ผ่านด่าน 5% คนมักเคยชินกับการวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย พอมีข้อเสียก็ทิ้งความคิดนั้น แล้วหวังว่าจะได้ความคิดใหม่ที่ดีมากๆ

คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาจึงไม่ลงมือแก้ปัญหาเสียทีเพราะยังหาวิธีแก้ไม่ได้ อยากแก้ไขให้ได้เร็วๆ แต่ในใจก็คิดว่าใครก็อยากแก้ แต่ที่ประชุมยังคิดไม่ออก


6. ทำให้กำลังใจของคนที่หมั่นเพียรคิดหาทางช่วยแก้ปัญหาถูกบั่นทอน

เพราะเสนอความคิดใหม่ทีไร จะมีคนนำ 5% ขึ้นมาทักท้วงทุกที และมักถูกย้อนถามว่าแล้วจะจัดการอย่างไรกับ 5% ที่จะเกิดขึ้น

และไม่ว่าคนเสนอความคิดจะหาทางแก้ให้สักเท่าไร คนโต้แย้งก็จะสามารถหา 5% ของวิธีแก้ได้อีกอยู่ดี คนที่เสนอหนึ่งครั้งแล้วมักจะเข็ดและไม่เสนออีก ยกเว้นคนที่มุ่งมั่นที่จะช่วยจริงๆ และ พร้อมอดทนเพื่อฝึกตนให้เข้มแข็งมั่นคง หนักแน่นปานภูผาหิน


7. ทำให้การประชุมเหือดแห้ง ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา

ผู้คนบางส่วนเหนื่อยใจ ซึม และเพิกเฉย การประชุมอาจไม่มีประสิทธิภาพ สมกับความรู้และตำแหน่งของคนที่ร่วมประชุม แต่ทุกวันที่ผ่านไป ผู้คนยังคงดำเนินชีวิตอยู่ในวังวนของการประชุมรูปแบบเดิมนี้ เพราะอาจไม่เห็นทางอื่นให้เลือก และอาจไม่เห็นทางออกจากวังวนนี้ก็เป็นได้


8. ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรไม่ค่อยมีโอกาสเกิด และงอกงามจนเป็นนวัตกรรมของบริษัทและองค์กร

ทั้งๆ ที่คนในบริษัทมีความสามารถคิดได้ ถ้าบรรยากาศในบริษัทอำนวยต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร บุคลากรจะช่วยผู้บริหารคิดได้ แทนที่จะรอให้ผู้บริหารคิดให้ทุกเรื่อง


นี่คือตัวอย่างบางส่วนของผลในด้านการทำงานที่เกิดจากการคิดแบบเดิม

การคิดแบบใหม่จะมาเสริมพลังเพื่อปิดช่องโหว่ของการคิดแบบเดิม และเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ในการคิดเพื่อช่วยให้ชีวิตการทำงานร่วมกันดียิ่งขึ้นโดยทั่วกัน



Credit : BizWeek Business School ฉบับ 22 Sep 2006 โดย อ.รัศมี ธันยธร ผู้อำนวยการศูนย์ความคิดสร้างสรรค์

 

========================================================