Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,364
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,516
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,933
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,412
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,490
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,455
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,251
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,386
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,305
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,449
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,489
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,420
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,383
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,889
28 AVERA CO., LTD. 22,534
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,835
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,549
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,139
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,005
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,382
27/04/2553 14:03 น. , อ่าน 41,086 ครั้ง
Bookmark and Share
ประวัติความเป็นมาของอุตสาหกรรมน้ำมัน (History of the Oil Industry)
โดย : Admin

อ้างอิงจาก: www.Rigworker.com       
 โดย: เว็บมาสเตอร์                 
 (
webmaster(at)9engineer.com)

 

 

น้ำมัน(Oil)

         ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบจะมีลักษณะเป็นน้ำมัน  เป็นของเหลวที่สามารถติดไฟได้ ซึ่งเกิดจากการสะสมกันตามธรรมชาติ และมักพบภายใต้พื้นผิวของโลก



 


      นับเป็นระยะเวลาหลายร้อยล้านปี ที่ซากพืชซากสัตว์ตกลงไปทับถมกันใต้ท้องทะเล และทับถมสะสมขึ้นเรื่อยๆจนเกิดชั้นตะกอน เช่นดิน หิน ทราย และวัสดุอื่นๆ
        การที่ซากพืชซากสัตว์ถูกฝังลึกอยู่ใต้ชั้นหินภายใต้สภา
วะที่มีออกซิเจนปริมาณน้อย ทำให้เกิดการย่อยสลายโดยออกานิค(Organic) และกลายสภาพมาเป็นปิโตรเลียมไหลซึมไปอยู่ที่ช่องว่างระหว่างชั้นหิน

   
         
เมื่อเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ทำให้หินเกิดการโค้งงอ หรือห่อตัวกันเป็นพับ หรือบ้างก็เกิดการแตกตามแนวที่เิกิดการเคลื่อนตัว  ทำให้ ปิโตรเลี่่ยมไหลไปรวมตัวกันในบริเวณที่พื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายกับเป็นอ่าง
         ในช่วงแรกๆผู้คนไม่คุ้นเคยกับน้ำมันดิบ (Crude oil) ด้วยความไม่คุ้นเคยทำให้คนในตะวันออกกลางทำการเผาแก๊สปิโตรเลียมที่ไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง และทำการบูชาไฟที่ลุกไหม้ที่เกิดจากแก๊สที่พวยพุ่งออกมา

Fire Worship

     อุตสาหกรรมน้ำมัน (Oil Industry)

Oil_rig_17

        กล่าวกันว่าอุตสาหกรรมน้ำมันได้เริ่มต้นกันมาแล้วมากว่าห้าพันปีในตะวันออกกลาง (Middle East ) ***  โดยได้นำเอาน้ำมันที่ไหลซึมผ่านพื้นดินขึ้นมาไปใช้ประโยชน์บางอย่างในชีวิตประจำวันเช่น ใช้ทำชันเพื่ออุดรอยรั่วเรื่อและถังเพื่อป้องกันน้ำเข้่่า  ใช้ทำสี  ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดไฟแสงสว่าง ตลอดจนถึงการใช้ในทางการแพทย์
        กล่าวกันว่าช่วงเริ่มต้นมนุษย์ใช้น้ำมันปลาวาฬเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดไฟให้แสงสว่าง ซึ่งเป็นเหตุทำเกิดการล่าปลาวาฬอย่างมากมาย ทำให้จำนวนประชากรปลาวาฬลดลงและส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปลาวาฬมีราคาสูงขึ้นในเวลาต่อมา
         และเมื่อความต้องการปริมาณน้ำมันมากขึ้น หรือเรียกว่าดีมานด์มีมากกว่าซัพพลาย จึงทำให้บริษัทและเอกชนต่างๆได้หันมามองหาและค้นหาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ที่เป็นที่นำมาใช้ได้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า และเรียกขานกันว่าเป็นทองสีดำ(
Black gold) ในเวลาต่อมา    หลังจากผ่านยุคช่วงเวลาของถ่านหินน้ำมัน (coal oil) สิ่งที่เป็นคำตอบตามก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการขุดเจาะน้ำมัน     โดยได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการขุดเจาะน้ำมันบนบกก่อนในช่วงต้นๆ   แต่เนื่องจากความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้บริษัทต่างๆหันมาทำการสำรวจและมองหาแหล่งน้ำมันจากใต้ท้องทะเลเพื่อนำมาใช้งานเพิ่มเติม

 

            จากเหตุผลดังกล่าวได้ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างแท่นเจาะน้ำมันแท่นแรกขึ้นกลางน้ำที่อ่าวแม็กซิโก(Gulf of Mexico) ที่ระดับความลึก100 เมตร และเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบ piled jacket ในส่วนของโครงสร้างได้มีการเพิ่มเติมพื้นที่สำหรับเป็นพื้นที่ทำงานบนแท่นเช่น ลานเก็บอุปกรณ์และที่พักสำหรับลูกเรือ ลักษณะของโครงสร้างนี้จะมี fore-runners ช่วยยึดให้เกิดการแข็งแรงและสามารถตั้งอยู่บริเวณน้ำลึกได้ในทุกๆที่ในโลก

           จากสภาพพื้นที่โดยรอบชายฝั่งของเกาะกรีนแลนด์ ได้ให้แนวความคิดกับนักธรณีวิทยาว่าอาจจะมีน้ำมันและแก๊สอยู่บริเวณรอบๆน่านน้ำของชาวสก๊อตแลนด์
          
ในประวัติศาสตร์ในอดีตเคยมีบ่อน้ำมันดิบบนพื้นดินในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920   และก็ไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึง จนกระทั้งในปี 1960    ได้มีการสำรวจในทะเลเหนือได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง แต่ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงปีต้นๆ จนในที่สุดก็ได้ค้นพบน้ำมันในปี 1969 และได้มีการค้นพบน้ำมันในพื้นใหม่ๆตั้งแต่นั้นมา    การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของแหล่งน้ำมันในทะเลเหนือ (North Sea) ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีการลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาลที่สุดในโลก

         ต่อจากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันนอกชายฝั่งในบริเวณน่านน้ำ และขยายพื้นที่ต่อไปเรื่อยๆ ทำให้  หลายๆแหล่งตั้งอยู่ห่างจากพื้นดินและห่างออกไปเรื่อยๆ   โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ที่ทำการสำรวจจะตั้งอยู่บริเวณที่มีน้ำลึกและไกลออกไปเรื่อยๆ


Piper Alpha oil platform in the North Sea
 on the night of July 6, 1988

     หลังจากที่ทะเลเหนือของอังกฤษได้เกิดความหายนะในปี 1988  เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม โดยเกิดเหตุไฟไหม้และเกิดการระเบิดขึ้นที่ North Sea Piper Alpha oil platform ทำให้มีคนตาย 167 จากจำนวนผู้ที่ทำงานบนแท่นทั้งหมด  228 คน    หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วงการอุตสาหกรรมและรัฐบาลอังกฤษทำการรอจนกระทั่งถึงปี 1990 จึงได้ทำการประกาศรายงานของของท่านลอร์ด Cullen  ต่อสาธารณะชน  
     ตามรายงานของท่านท่านลอร์ด
Cullen  ได้ทำการสำรวจและลงความเห็นว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการระเบิดเกิดการความผิดพลาดของการทำงานของระบบที่ออกใบอนุญาตให้ทำงาน (operation of the permit to work system) ซึ่งเป็นขั้นตอนและแนวทางที่สำคัญในการทำงาน      ในปัจจุบันระบบนี้ถือว่าเป็นระบบที่สำคัญที่ใช้ในการทำงาน over-sea work        ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างมีศักยภาพ

              จากรายงานในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตามมา เช่นขั้นตอนการทำงานและกฎระเบียบปฏิบัติซึ่งมีผลมากกว่ากว่าการระวังด้านความปลอดภัย   ทุกๆวันนี้ในอุตสาหกรรมได้มีการตื่นตัวในเรื่องของความปลอดภัยเป็นอย่างมาก  ตัวอย่าง บริษัทใดก็ตามที่เป็นเจ้าของแท่นเจาะน้ำมัน หากมีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยไม่ดี  จะไม่ค่อยได้รับการพิจารณาว่าจ้างจากบริษัทที่เป็นเจ้าของสัมปทานน้ำมันให้ไปทำการขุดเจาะ   บริษัทน้ำมันจะพิจารณาบริษัทที่มีสถิติอุบัติเหตุในการทำงานที่ต่ำก่อน เป็นต้น
            สำหรับคนที่เคยไปแท่นเจาะน้ำมัน จะสังเกตได้ว่าเมื่อคุณไปถึงที่แท่นเจาะน้ำมันครั้งแรก คุณจะได้รับการแนะนำและข้อมูลค่อนข้างละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของแท่นเจาะน้ำมัน  บรรยายในหัวข้อเรื่องของความปลอดภัย รวมถึงระบบป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง  จุดรวมพลกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน  ตำแหน่งที่คุณจะมาขึ้นเรื่อที่จะใช้หนีไฟกรณีเกิดไฟไหม้(
Lifeboat stations) และขั้นตอนการใช้งาน  

             นอกจากนั้นทุกๆคนที่อยู่บนแท่นเจาะน้ำมันจะต้องเข้าร่วมประชุมเรื่องความปลอดภัยประจำสัปดาห์ และประชุมย่อยรายวัน   โดยทั่วไปหัวข้อการประชุมรายสัปดาห์จะกล่าวถึงรายละเอียดเรื่องข่าวความปลอดภัย และเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน   นอกจากนั้นในวงการจะมีการแชร์ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยกับบริษัทอื่นๆที่อยู่ในวงการเดียวกัน  ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับหลีกเลียงการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก   มีการจำลองเหตุการณ์กรณีเกิดไฟไหม้ทุกสัปดาห์ภาษาบนแท่นเรียกว่า Fire drill เพื่อซักซ้อมความเข้าใจของลูกเรือที่ทำงานอยู่บนแท่นเจาะน้ำมัน   นอกเหนือจากหัวข้อที่ผ่านมาท่านยังจะได้รับการแนะนำสถานที่  งานที่จะต้องรับผิดชอบ รวมถึงวิธีการทำงานของคุณที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ 

             ในความเป็นจริงอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามจากสถิติในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าวิธีการทำงานนอกชายฝั่งได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันอุบัติที่เกิดจากการทำงานนอกชายฝั่งนั้นมีน้อยกว่าการทำงานในสถานที่ก่อสร้าง

       ปิโตรเลียม (petroleum จากภาษากรีก petra – หิน และ elaion น้ำมัน หรือภาษาละติน oleum – น้ำมัน ) หรือน้ำมันดิบ บางครั้งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ทองคำสีดำ หรือ "น้ำชาเท็กซัส" คือของเหลวขุ่นข้นสีน้ำตาลเข้มหรือเขียวเข้ม




***
 
หมายเหตุ  บางแหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงที่มาของน้ำมันไว้ดังนี้ (ซึ่งจะต่างกับงานแปลนี้ ดังนั้นขอให้ใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูลนี้) 
        
ในอดีตกาล ชาวจีนได้ค้นพบปิโตรเลียมจากการเจาะบ่อเกลือ และรู้จักใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมเพื่อเป็นเชื้อเพลง ในการต้มน้ำเกลือให้ระเหยจนได้เกลือสินเธาว์ ชาวอียิปต์โบราณใช้ปิโตรเลียมดองศพก่อนนำไปฝังในสุสา น เพื่อช่วยป้องกันมิให้ศพเน่าเปื่อย ในอาณาจักรเมโสโปเตเมีย มีการนำเอาน้ำมันดิบมาเป็นวัสดุเชื่อมประสานก้อนอิฐเ ข้าด้วยกันในการก่อสร้างและใช้ปูลาดถนน ในสมัยกรีกและโรมัน ได้มีการใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงสำหรับตะเกียง และเป็นยาขี้ผึ้งสำหรับรักษาโรค ในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก อาทิเช่น บริเวณรอบๆ ทะเลสาบแคสเปียน โรมาเนีย พม่า และอินเดีย ได้มีการนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ คือ เป็นเชื้อเพลิง สำหรับจุดให้แสงสว่าง และใช้ในการประกอบอาหาร ใช้เป็นวัสดุหล่อลื่น และใช้เป็นยารักษาโรค

========================================================