Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,635
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,051
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,365
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,323
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,837
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,948
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,918
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,183
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,977
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,747
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,688
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,890
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,211
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,637
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,076
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,964
17 Industrial Provision co., ltd 39,717
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,711
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,618
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,957
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,898
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,250
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,662
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,379
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,893
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,887
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,261
28 AVERA CO., LTD. 22,953
29 เลิศบุศย์ 21,977
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,744
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,641
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,247
33 แมชชีนเทค 20,241
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,497
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,462
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,210
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,885
38 SAMWHA THAILAND 18,658
39 วอยก้า จำกัด 18,315
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,890
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,736
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,663
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,651
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,586
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,512
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,509
47 Systems integrator 17,077
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,026
49 Advanced Technology Equipment 16,841
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,811
15/06/2554 09:08 น. , อ่าน 13,242 ครั้ง
Bookmark and Share
รถยนต์พลังไฮโดรเจน ฝีมือคนไทยไม่แพ้ต่างชาติ
โดย : Admin

     สุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ก้าวพ้นความฝันเฟื่องสู่นวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิต ด้วยสิ่งประดิษฐ์ รถยนต์พลังไฮโดรเจน ประหยัดพลังงาน 56 กิโลเมตรต่อลิตร

 


จากช่างเทคนิคลูกทัพฟ้าสู่พ่อมดแห่งนาซา นักประดิษฐ์ผู้ไม่ยอมแพ้ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ พัฒนาอุปกรณ์แยกไฮโดรเจนจากน้ำที่สามารถไปติดตั้งไว้ในรถยนต์ได้เลย ทำให้รถยนต์สามารถใช้พลังน้ำแทนน้ำมันในการขับเคลื่อนได้สำเร็จ

 

"จุดประสงค์ที่คิดค้นเกิดจากอยากให้โลกรู้ว่า น้ำสามารถเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ตัวนี้ขึ้นมา นอกจากนี้รีแอคเตอร์ยังเป็นตัวแก้ปัญหามลพิษ สภาวะปัญหาของโลกในปัจจุบันที่เกิดสภาวะโลกร้อน เพราะการใช้น้ำมาเป็นพลังงานเป็นเชื้อเพลิง จะทำให้ลดภาวะโลกร้อนและแก้ปัญหามลพิษไปด้วย ผลงานชิ้นนี้จะไม่ใช่ชิ้นแรกและชิ้นสุดท้าย ขอให้คนไทยเป็นกำลังใจให้ผมและทีมงานทำหน้าที่ต่อไปให้สำเร็จ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป" นายสุมิตรกล่าว

 

"สุมิตร" เล่าถึงที่มาของแนวคิดในการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ว่า ตั้งใจทำให้คนไทยและโลกรู้ว่าน้ำเป็นพลังงานทดแทนได้ เพราะน้ำมีพลังงานมหาศาล แต่ยังไม่มีใครนำพลังงานของน้ำมาใช้อย่างเต็มที่

 

เทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจน อาศัยหลักการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ทำให้ได้ก๊าซไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม โดยใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า "รีแอคเตอร์" เป็นตัวแยก เมื่อนำไปติดตั้งกับรถยนต์จะใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่รถ 12 โวลต์ เข้ามาทำการแยกโดยขั้วบวกจะมีปฏิกิริยาของออกซิเจน ขั้วลบจะเป็นปฏิกิริยาของไฮโดรเจนในการแยกโมเลกุลน้ำ และได้ไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิง แล้วส่งเข้าไปสันดาปในเครื่องยนต์

 

จุดเด่นของ "รีแอคเตอร์" คือ ปฏิกิริยาการแยกน้ำจะเกิดขึ้นทีละน้อย ตามความต้องการของเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องนำไฮโดรเจนที่ได้ไปเก็บไว้ในถังเก็บ เมื่อผลิตไฮโดรเจนออกมาได้แล้วก็ส่งออกไปยังเครื่องยนต์ ทำให้เกิดการจุดระเบิดขึ้น เพราะคุณสมบัติที่ดีของไฮโดรเจนก็คือมีการเผาไหม้ได้สูงและมีการจุดระเบิดที่ต่ำมาก เหมือนเครื่องยนต์ที่ใช้กันในปัจจุบัน เทคโนโลยีทุกวันนี้ในการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้วิธีการคล้ายๆ กัน จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อิเล็กโทรไรท์เตอร์" ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่คล้ายๆ กันหมด

 

"ปฏิกิริยาแยกน้ำจะเกิดความร้อนสูง ยากแก่การควบคุม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ แต่รีแอคเตอร์ที่พัฒนาขึ้น สามารถควบคุมความร้อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ที่สำคัญใช้น้ำเป็นวัตถุดิบต้นกำเนิดของเชื้อเพลิง ซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก และประการสุดท้าย คือ ไอเสียที่เกิดจากการสันดาปนั้น จะปนออกมารวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นน้ำอีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นไอเสียบริสุทธิ์"

 

 

"รีแอคเตอร์ 2" ขณะนี้ได้ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นตัวทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานในระบบทั้งหมด วงจรนี้จะทำงานร่วมกับ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่จะเป็นตัวควบคุมการทำงานของรีแอคเตอร์กับเครื่องยนต์ เพื่อให้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยลง และได้ผลผลิตคือ ไฮโดรเจนในปริมาณที่เป็นสัดส่วนกับความต้องการของเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

 

========================================================