Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,977
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,575
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,985
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,766
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,460
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,545
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,505
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,815
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,340
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,444
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,356
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,506
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,581
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,126
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,510
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,553
17 Industrial Provision co., ltd 39,220
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,371
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,295
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,616
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,435
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,850
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,217
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,954
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,579
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,514
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,944
28 AVERA CO., LTD. 22,584
29 เลิศบุศย์ 21,680
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,378
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,242
32 แมชชีนเทค 19,890
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,867
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,182
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,134
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,796
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,600
38 SAMWHA THAILAND 18,290
39 วอยก้า จำกัด 17,893
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,472
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,322
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,298
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,234
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,203
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,129
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,064
47 Systems integrator 16,708
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,625
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,452
50 Advanced Technology Equipment 16,440
25/09/2553 16:09 น. , อ่าน 7,945 ครั้ง
Bookmark and Share
มาตรฐานฮาร์มอนิกในประเทศไทย
โดย : Admin

มาตรฐานฮาร์มอนิกในประเทศไทย

ศักดิ์ชัย นรสิงห์
sakchai@pea.or.th
       
                  ปัจจุบันปัญหาฮาร์มอนิก กำลังเป็นเรื่องที่สนใจจากผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการทำงานของอุปกรณ์ที่ไวต่อการเปลี่ยน
          แปลงของกระแส และ แรงดัน และอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งจ่ายฮาร์มอนิกและรวมไปถึงผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
         ระดับฮาร์มอนิก โดยทั่วไปแล้วกรณีที่ฮาร์มอนิกอยู่ในระบบ (ไม่พิจารณาถึงปัญหาฮาร์มอนิกรีโซแนนซ์ )แล้วมีค่าไม่เกิน
         ขีดจำกัดตามมาตรฐานของฮาร์มอนิก ก็จะไม่เกิดผลกระทบต่ออุปกรณ์
          
                 ปัจจุบัน การไฟฟ้าได้มีการนำ PRC-PQG-01-1998 ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ฮาร์มอนิกเกี่ยวกับไฟฟ้าประเภทธุรกิจและ
         อุตสาหกรรม [1]  ซึ่งจัดทำโดยคณะทำงานปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าของสามการไฟฟ้า  มาบังคับใช้กับผู้ใช้
        ไฟประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่ทำสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้าแล้ว โดยอ้างอิงจากมาตรฐานต่างๆดังนี้ 

                1. Engineering Recommendation G.5/3 September 1976 The Electricity Council Chief Engineer
                    Conference "Limits for Harmonics in The United Kingdom Electricity Supply System"
                2. The State Energy Comission of Western Australia (SECWA)
                            Part 2 : Technical Requirement
               3. IEC 1000 : Electromagnetic Compatibility (EMC)
                            Part 4 : Testing and Measurement Techniques
                            Section 7 : General Guide on Harmonics and Interharmonics Measurements and Instrumentation for
                                              Power Supply Systems and Equipment Connected thereto

                          และปัจจุบันคณะทำงานฯดังกล่าวกำลังพิจารณาปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวโดย อ้างอิงตาม Engineering
                       Recommendation G.5/4 ปี 2000 เป็นหลักในการพิจารณาปรับปรุง ในบทความนี้จะกล่าวถึงข้อกำหนด
                       กฎเกณฑ์ฮาร์มอนิกเกี่ยวกับไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม PRC-PQG-01-1998 สรุปย่อดังนี้

        
    ขั้นตอนที่1 พิจารณาจากขนาดของอุปกรณ์
                   อุปกรณ์ที่สามารถนำเข้าระบบได้โดยไม่พิจารณาในส่วนฮาร์มอนิก
               1.1 อุปกรณ์ 3 เฟส ชนิด Convertor หรือ A.C.Regulator ไม่เกินหนึ่งตัว และมีขนาดไม่เกินตามตารางที่ 1
                     แต่ถ้ามีหลายตัวให้ไปพิจารณาในขั้นตอนที่ 2

               ตารางที่ 1              ขนาดสูงสุดของอุปกรณ์ประเภท Convertor และ A.C. Regulator แต่ละตัว
ระดับแรงดันไฟฟ้า
ที่จุดต่อร่วม (kV)
 
 
 
Convertors ชนิด 3 เฟส (kVA)

A.C. Regulator ชนิด 3 เฟส (kVA)
 
3-Pulse
6-Pulse
12-Pulse
6-Thyristor
3-Thyristor /3-Diode
0.400
8
12
-
14
10
11 and 12
85
130
250
150
100


              1.2 อุปกรณ์ 1 เฟส
                 1.2.1  ต้องผลิตตามมาตรฐาน IEC-1000-3-2 ซึ่งเป็นมาตรฐานกำหนดขีดจำกัดฮาร์มอนิกที่ปล่อยจากอุปกรณ์ขนาดไม่เกิน
                          16 แอมป์ต่อเฟส (หรือสามารถดูได้จาก ข้อกำหนดกฎหนดเกณฑ์ฮาร์มอนิกที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน                            ซึ่งจัดทำโดยโดยคณะทำงานปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าของสามการไฟฟ้า)
                 1.2.2  อุปกรณ์ Convertor หรือ A.C.Regulator แรงดัน 230 โวลท์ เพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมที่ไม่สร้างกระแส                            ฮาร์มอนิกอันดับคู่ มีขนาดไม่เกิน5 kVA โดยติดตั้งไม่เกินหนึ่งตัวต่อเฟส
                 1.2.3  ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งตัวต่อหนึ่งเฟสให้พิจารณาตามขั้นตอนที่ 2

              ขั้นตอนที่2  พิจารณาจากระดับกระแสฮาร์มอนิก
              อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านข้อกำหนดในขั้นตอนที่1 สามารถนำเข้าระบบได้เมื่อ
              2.1 อุปกรณ์ 3 เฟส
                2.1.1 ค่ากระแสฮาร์มอนิกที่จุดต่อร่วมต้องไม่เกินค่าขีดจำกัดในตารางที่ 2

                                        ตารางที่ 2       ขีดจำกัดกระแสฮาร์มอนิกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดๆที่จุดต่อร่วม

ระดับแรงดันไฟฟ้า
ที่จุดต่อร่วม (kV)
MVAsc
Base
อันดับฮาร์มอนิกและขีดจำกัดของกระแส (A rms)
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
0.400
10
48
34
22
56
11
40
9
8
7
19
6
16
5
5
5
6
4
6
11 and 12
100
13
8
6
10
4
8
3
3
3
7
2
6
2
2
2
2
1
1
22 , 24 and 33
500
11
7
5
9
4
6
3
2
2
6
2
5
2
1
1
2
1
1
69
500
8.8
5.9
4.3
7.3
3.3
4.9
2.3
1.6
1.6
4.9
1.6
4.3
1.6
1
1
1.6
1
1
115 and above
1,000
5
4
3
4
2
3
1
1
1
3
1
3
1
1
1
1
1
1

                              2.1.2  หากค่า MVAsc ต่ำสุด ณ จุดต่อร่วมมีค่าแตกต่างจากค่า MVAsc Base ที่ระบุในตารางที่ 2                                         ยอมให้ปรับค่ากระแสฮาร์มอนิกที่ยอมให้ไหลเข้าสู่ระบบด้วยสมการ

                                                                   

                                Ih = กระแสฮาร์มอนิก(A) ลำดับที่ h ที่ยอมให้ไหลเข้าสู่ระบบ เมื่อค่า MVAsc เป็น MVAsc1

                                Ihp = กระแสฮาร์มอนิก(A) ลำดับที่ h ที่กำหนดในตารางที่ 2

                                MVAsc1 = ค่าMVAsc ต่ำสุด ณ จุด PCC มีค่าไม่เท่ากับค่า MVAscBase

                                MVAscBase = ค่า MVAscBase สำหรับค่ากระแสฮาร์มอนิกตามตารางที่ 2

            ขั้นตอนที่3
                อุปกรณ์ไม่เป็นเชิงเส้นที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนที่ 2 ผู้ใช้ไฟอาจสามารถเชื่อมต่อโหลดดังกล่าวกับระบบไฟฟ้า
            ได้ถ้ามีการศึกษาทำการวิเคราะห์คำนวณจากคุณลักษณะระบบ และพฤติกรรมฮาร์มอนิก ของโหลดอย่างละเอียด   โดยผล
             ของแรงดันฮาร์มอนิกที่ได้ต้องไม่เกินขีดจำกัดตามตารางที่ 3

                                       ตารางที่ 3    ขีดจำกัดความเพี้ยนฮาร์มอนิกของแรงดันสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดๆที่จุดต่อร่วม

ระดับแรงดันไฟฟ้า
ที่จุดต่อร่วม (kV)
 
ค่าความเพี้ยนฮาร์มอนิกรวม
ของแรงดัน (%THDv)
 
ค่าความเพี้ยนฮาร์มอนิกของแรงดัน
แต่ละอันดับ (THDv%)
อันดับคี่
อันดับคู่
0.400
5
4
2
11,12,24, and 24
4
3
1.75
33
3
2
1
69
2.45
1.63
0.82
115
1.5
1
0.5

 


        ตัวอย่างการใช้มาตรฐานฯกับผู้ใช้ไฟ 4 ราย
                   1. รายที่1 รับไฟ 22 kV มีค่าพิกัดกำลังลัดวงจรที่จุดต่อร่วม (PPC) 200 MVA 
                      ใช้โหลด Converter 6-P ขนาด 500 kVA
                   2. รายที่2 รับไฟ 22 kV มีค่าพิกัดกำลังลัดวงจรที่จุดต่อร่วม (PPC) 200 MVA
                       ใช้โหลด Converter 6-P ขนาด 600 kVA
                   3. รายที่3 รับไฟ 22 kV มีค่าพิกัดกำลังลัดวงจรที่จุดต่อร่วม (PPC) 200 MVA
                      ใช้โหลด Converter 6-P ขนาด 750 kVA
                   4. รายที่4 รับไฟ 400 V มีค่าพิกัดกำลังลัดวงจรที่จุดต่อร่วม (PPC) 4.3 MVA
                       ใช้โหลด Converter 6-P ขนาด 100 kVA


             ขั้นตอนที่ 1
                  ผู้ใช้ไฟฟ้ารายที่ 1 ,2 และ 3 รับไฟพิกัดแรงดัน 22 kV ให้ไปพิจารณาในขั้นตอนที่ 2 และผู้ใช้ไฟฟ้ารายที่ 4 รับไฟ
            400 V แต่อุปกรณ์ Converter 6-P มีขนาด kVA เกินค่าที่กำหนด ตามตารางที่ 1 ให้ไปพิจารณาในขั้นตอนที่ 2

             ขั้นตอนที่2
                   จากการตรวจวัดที่จุดต่อร่วม และผลการปรับกระแสฮาร์มอนิกตามข้อ 2.1.2 ได้ผลตามตารางดังนี้

 

========================================================