Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,786
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,554
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,514
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,594
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,378
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,625
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,449
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,686
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,304
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,217
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,457
50 Advanced Technology Equipment 16,445
25/09/2553 14:04 น. , อ่าน 11,709 ครั้ง
Bookmark and Share
คุณภาพกำลังไฟฟ้า ( Power Quality )
โดย : Admin

คุณภาพกำลังไฟฟ้า  (POWER QUALITY)
ศักดิ์ชัย นรสิงห์
แผนกวิจัยระบบจำหน่ายกองวิจัย ฝ่ายพัฒนาระบบไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Tel (02) 590-5577 sakchai@pea.or.th 

          
            คุณภาพกำลังไฟฟ้าคืออะไร

             ปัจจุบันคำว่า คุณภาพกำลังไฟฟ้า ( Power Quality ) เป็นคำที่พูดถึงบ่อยในเรื่องของความมั่นคงการจ่ายไฟฟ้าของระบบจาก
          การไฟฟ้าฯและกรณีเมื่อเกิดปัญหาอุปกรณ์ไฟฟ้ามีการทำงานผิดพลาด  หรือหยุดการทำงานจากผู้ใช้ไฟฟ้า   ซึ่งเห็นได้ว่าคำ
          นิยามของคำว่าคุณภาพกำลังไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟจะพูดถึงในกรณีที่แตกต่างกันไป         แต่ในความเป็นจริง
          แล้วมีความหมายเดียวกันซึ่งนิยามของคุณภาพกำลังไฟฟ้า ตามมาตรฐานสากล  IEC และ  IEEE   ให้ความหมายของคุณภาพ
          กำลังไฟฟ้า คือ  คุณลักษณะกระแสแรงดัน และความถี่ของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในสภาวะปกติไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีการทำงาน
          ผิดพลาดหรือเกิดการเสียหาย

            เหตุผลหลักที่ทำให้มีการพิจารณาถึงคุณภาพกำลังไฟฟ้า
              1.  เนื่องจากในปัจจุบันในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีเทคโนโลยีสูงขึ้นซึ่งจะมีความไว
          ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของกำลังไฟฟ้ามากกว่าในอดีต โดยเฉพาะอุปกรณ์ประเภทอิเลคทรอนิกส์กำลัง
          ดังเช่น  อุปกรณ์ที่ถูกควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ Programmable Logic Controller ( PLC)   ,   Adjustable Speed Drive
          ( ASD)  และรีเลย์บางชนิด ฯ
              2.  การเพิ่มขึ้นของการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น     เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้า  ดังเช่น ตัวอย่างของ
         กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมหนึ่งมีการใช้อุปกรณ์  ASD เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตซึ่ง ASDเป็นแหล่งจ่าย
         ฮาร์มอนิกส์ก็จะทำให้เกิดปัญหาฮาร์มอนิกส์ผลกระทบต่อระบบไฟฟ้านั้นได้    และถ้ามีคาปาซิเตอร์ติดตั้งอยู่ในระบบเพื่อปรับ
         ปรุงกำลังไฟฟ้า ก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาฮาร์มอนิกส์รุนแรงมากยิ่งขึ้น
             3.  ผู้ใช้ไฟทราบถึงปัญหาคุณภาพไฟฟ้ามากขึ้นที่มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมของตัวเองมากขึ้น ดังเช่น
          ปัญหาจากแรงดันตกชั่วระยะสั้น (Voltage Sag) ทำให้การไฟฟ้าหาแนวทางและวิธีการเพื่อปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าให้ดีขึ้น
             4.  ระบบไฟฟ้าที่มีการเชื่อมต่อถึงกัน ถ้าส่วนใดของระบบเกิดปัญหาคุณภาพไฟฟ้าก็จะทำส่วนอื่นๆ ของระบบได้รับผลกระทบ
          จากปัญหาคุณภาพกำลังไฟฟ้าตามไปด้วย ดังเช่น   โรงงานอุตสาหกรรมหนึ่งมีการใช้โหลดที่เป็นแหล่งจ่ายฮาร์มอนิกส์    และ
          ฮาร์มอนิกส์นั้นอาจไหลเข้า สู่ระบบไฟฟ้า อาจทำให้โรงงานบริเวณข้างเคียงได้รับผลกระทบจากปัญหาฮาร์มอนิกด้วยเช่นกัน

 

             ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปเกิดจาก 5 สาเหตุใหญ่
            1. จากปรากฎการณ์ธรรมชาติเช่น ฟ้าผ่า
            2. จากการเกิดสภาวะความผิดพร่อง (fault) ทางไฟฟ้าในระบบสายส่งและระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า
            3. จากการกระทำการสวิตชิ่งอุปกรณ์ในระบบ
            4. จากการใช้งานอุปกรณ์ที่ไม่เป็นเชิงเส้นในระบบอุตสาหกรรม
            5. จากการต่อลงดินที่ไม่ถูกต้อง

              สาเหตุที่ทำให้ปัญหาคุณภาพกำลังไฟฟ้าดังข้างต้นเกิดจาก การไฟฟ้า และ ผู้ใช้ไฟฟ้า  ในมุมมองของการไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟ
           เกี่ยวกับต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพกำลังไฟฟ้า อาจจะมีมุมมองแตกต่างกันไป ดังเช่นตัวอย่างการสำรวจจากหน่วยงาน
           ( Courtesy of Georgia Power Co.) ในประเทศอเมริกา ดังตารางที่1

                           
                              ตารางที่ 1 มุมมองต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาคุณภาพไฟฟ้าจากการไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศอเมริกา

ต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาคุณภาพไฟฟ้า
มุมมองการไฟฟ้า
มุมมองผุ้ใช้ไฟฟ้า
ธรรมชาติ
66 %
60 %
การไฟฟ้า
1 %
17 %
ผู้ใช้ไฟฟ้า
25 %
12 %
เพื่อนบ้าน
8 %
8 %
อื่นๆ
0 %
3 %
               
                 แนวทางการแก้ไขปัญหาคุณภาพกำลังไฟฟ้าที่ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกันระหว่างการไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้า
           เช่นในส่วนของการไฟฟ้าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพกำลังไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟหรือระบบสายส่งและในระบบจำหน่าย
           ไฟฟ้า และส่วนของผู้ใช้ไฟต้องมีการควบคุมปัญหากำลังคุณภาพไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟเอง   และอาจ
           ต้องนำข้อมูลทางไฟฟ้าและปัญหาต่างๆมาร่วมปรึกษากันและมีการร่วมกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อพิจารณาระดับการทำงาน
          ที่สัมพันธ์กันของอุปกรณ์กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าซึ่งจะช่วยลดปัญหาคุณภาพไฟฟ้าในระดับหนึ่ง    ในบทความนี้จะกล่าวเพียงคำนิยาม
          ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและสาเหตุ เพื่อพื้นฐานก่อนที่นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพกำลังไฟฟ้าต่อไป

             ปัญหาคุณภาพกำลังไฟฟ้า
          1. ภาวะชั่วครู่ (Transient)
              คือปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพไฟฟ้า ( แรงดัน กระแส ) ในเวลาทันทีทันใดจากสภาพปกติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
              คือ Impulsive Transients และ Oscillatory Transients

 

             1.1 อิมพัลส์ชั่วครู่ (Impulsive Transients)
                คือขนาดกระแสและแรงดันที่มีค่าความชันสูงมาก เกิดขึ้นในทันทีทันใดไม่มีความถี่เปลี่ยนแปลงกำหนดให้มีขั้วทิศทางเดียว
           หรือเรียกว่าเสิร์จ (Surge)  ดังรูปที่1.  มีสาเหตุเกิดจากฟ้าผ่า ซึ่งอาจเกิดได้โดยตรงหรือในบริเวณใกล้เคียง   ผลทำให้อุปกรณ์ใน
           ระบบได้รับความเสียหายจากแรงดันไฟฟ้าเกิน




รูปที่1. กระแสที่เกิดขึ้นจากการเกิดอิมพัลส์ชั่วครู่เกิดโดยฟ้าผ่า

      
         มาตรฐาน IEEE std 1159 - 1995 มีการกำหนดค่าอิมพัลส์ตามช่วงระยะเวลาที่เกิดกับค่าระยะเวลาที่แรงดันเริ่มสูงขึ้น (rise time)
         ดังตารางที่ 2

ตารางที่2 แสดงค่าระยะเวลาที่แรงดันเริ่มสูงขึ้นกับช่วงระยะเวลาการเกิดของอิมพัลส์


อิมพัลส์ภาวะชั่วครู่
ระยะเวลาที่แรงดันเริ่มสูงขึ้น( rise time)
ช่วงระยะเวลาการเกิด (Duration)
Nanosecond
5 ns
< 50 ns
Microsecond
1 U s
50 ns - 1 ms
Millisecond
0.1 ms
> 1 ms
         
             1.2 ออสซิเลทชั่วครู่ (Oscillatory Transient)
                 คือลักษณะของแรงดันหรือกระแสแรงดันมีค่าสูง เกิดขึ้นในทันทีทันใด ไม่มีความถี่เปลี่ยนแปลง     มีการเปลี่ยนแปลงขั้ว
           (บวก ลบ) ของรูปคลื่นอย่างรวดเร็ว ดังรูปที่ 2, 3 และ4 มีสาเหตุเกิดจากการสวิตชิ่งของอุปกรณ์ในระบบ ผลทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า
           ได้รับความเสียหาย และฉนวนของอุปกรณ์มีการเสื่อมสภาพหรือมีการสูญเสียความเป็นฉนวนเร็วขึ้น      มาตรฐาน IEEE std
            1159 - 1995 มีการแบ่งการเกิดออสซิเลทในภาวะชั่วครู่ตามขนาดแรงดันและช่วงระยะเวลาการเกิดตามความถี่ ดังตารางที่ 3

ตารางที่3.แสดงขนาดแรงดันและช่วงเวลาตามความถี่ออสซิเลทชั่วครู่

ออสซิเลทในภาวะชั่วครู่
ความถี่
ช่วงระยะเวลาการเกิด
ขนาดแรงดัน
Lower Frequency
< 5 kHz
0.3-50 ms
0.4 pu.
Medium Frequency
5-500 kHz
5-20 ms
0-8 pu.
High Frequency
0.5-5MHz
0-5 ms
0.4 pu.



รูปที่2 กระแสออสซิเลทใชั่วครู่เกิดจากการสวิตชิ่งคาปาซิเตอร์แบบ Back-to-Back



รูปที่3 แรงดันออสซิเลทความถี่ต่ำชั่วครู่เกิดจากการสวิตชิ่งคาปาซิเตอร์แบบเข้าระบบ



รูปที่4 แรงดันออสซิเลทความถี่ต่ำชั่วครู่เกิดจากเฟอโรเรโซแนนซ์ในสภาวะหม้อแปลงไม่มีโหลด

             2. การเปลี่ยนแปลงแรงดันช่วงระยะสั้น (Short Duration Voltage Variation)
             คือการเปลี่ยนแปลงค่าแรงดัน rms ที่มีระเวลาการเปลี่ยนแปลงค่าไม่เกิน 1 นาที    มีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสภาวะความ
           ผิดพร่อง (fault) ทางไฟฟ้า ทำให้เกิดเหตุการณ์แรงดันตก (Voltage Sag หรือ Voltage Dip ) แรงดันเกิน  (Voltage Swell)
           และไฟดับ (Interruptions)   มาตรฐาน IEEE Std 1159-1995 มีการเรียกชื่อแรงดันดังกล่าวตามระยะเวลาที่เกิดคือเวลาทันที
           ทันใด(Instantaneous) ชั่วขณะ ( Momentary) และชั่วครู่(Temporary) ดังตารางที่4

ตารางที่4. แสดง ระยะเวลาการเกิดแรงดันตก แรงดันเกิน และไฟดับของการเปลี่ยนแปลงแรงดันช่วงเวลาสั้นๆ

Voltage Sag &swell
Instantaneous
Momentary
Temporary
10 ms - 1 sec
1 sec - 3sec
3 sec - 1 min


Interruption
Momentary
Temporary
10 ms - 3 sec
3 sec - 1 min



             2.1 แรงดันตกช่วงสั้น (Voltage Sag )
              คือค่าแรงดัน rms มีขนาดลดลงระหว่าง 0.1-0.9 pu. ในช่วงเวลาระหว่าง 10 ms - 1min มีสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดขึ้นกับเฟสที่เกิด
           ความผิดพร่องทางไฟฟ้า ดังรูปที่ 5 ทำให้แรงดันมีค่าลดลงเหลือ 0.2 pu. ของแรงดันปกติ (80% sag) ในช่วงเวลา 3 ไซเคิล และ
           รูปท ี่6 แรงดันมีค่าลดลงจากผลของการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งมอเตอร์อินดัคชั่นขณะสตาร์ทจะมีกระแสสูงสูงถึง 6-10 เท่า
           ของกระแสโหลดปกติ ผลทำให้อุปกรณ์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของแหล่งจ่ายไฟ มีการทำงานผิดพลาดหรือหยุดการ
           ทำงาน



รูปที่ 5 Voltage Sag จากสาเหตุการเกิดความผิดพร่องทางไฟฟ้าลงดิน




รูปที่ 6 Voltage Sag จากผลของการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดใหญ่

             2.2 แรงดันเกินช่วงสั้น (Voltage Swell)
              คือค่าแรงดัน rms มีขนาดเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.1-1.8 pu. ในช่วงเวลาระหว่าง 10 ms - 1min ดังรูปท ี่7   มีสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิด
             ขึ้นกับเฟสที่ไม่ได้เกิดความผิดพร่องทางไฟฟ้าโดยตรง หรืออาจเกิดจากการปลดโหลดขนาดใหญ่ออกจากระบบ หรือมีการต่อ
             คาปาซิเตอร์ขนาดใหญ่เข้าระบบ ผลทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย  หรือทำให้อุปกรณ์ ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ
             ของแหล่งจ่ายไฟมีการทำงานผิดพลาดหรือหยุดการทำงาน



รูปที่ 7 Voltage Swell จากสาเหตุการเกิดความผิดพร่องทางไฟฟ้าลงดิน

             2.3 ไฟดับช่วงสั้น (Voltage Interruption)
                 คือค่าแรงดัน rms มีค่าลดลงต่ำกว่า 0.1 pu. ในช่วงระหว่าง 10 ms - 1 min   มีสาเหตุเกิดจากสภาวะความผิดพร่องทางไฟฟ้า
           ในระบบ ทำให้อุปกรณ์ป้องกันมีการตัดวงจรแหล่งจ่ายไฟออก ดังรูปที่  8 แสดงการเกิดไฟดับช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1.8
           sec จากการทำงานของรีโคลสเซอร์ตัดวงจรแหล่งจ่ายออกจากระบบก่อนจะมีการต่อวงจรเข้าไปดังเดิมอีกผลทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า
            หยุดการงาน


รูป ที่ 8 ไฟฟ้าดับชั่วขณะจากสาเหตุรีโคลสเซอร์มีการทำงานเนื่องจากการเกิดความผิดพร่องทางไฟฟ้า

             3. การเปลี่ยนแปลงแรงดันช่วงระยะยาว (Long Duration Voltage Variation)
            คือการเปลี่ยนแปลงค่าแรงดัน rms ที่มีระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงค่าเกิน 1 นาที    มีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
          การทำงานโหลดขนาดใหญ่ ทำให้เกิดเหตุการณ์แรงดันตก (Undervoltage ) แรงดันเกิน ( Overvoltage ) และไฟดับ(Sustained
          Interruptions)

               3.1 แรงดันตก (Undervoltage )
                คือค่าแรงดัน rms มีขนาดลดลงระหว่าง 0.8-0.9 pu.ในช่วงเวลานานกว่า 1 min     มีสาเหตุเกิดขึ้นจากผลของการสวิตชิ่งโหลด
             ขนาดใหญ่เข้าระบบ หรือมีการปลดคาปาซิเตอร์ออกจากระบบ   ผลทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากเกิดการรับภาระ
              เกิน (Overload)

                3.2 แรงดันเกิน (Overvoltage )
                 คือค่าแรงดัน rms มีขนาดเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.1-1.2 pu.ในช่วงเวลานานกว่า 1 min   มีสาเหตุเกิดขึ้นจากผลของการปลดโหลด
              ขนาดใหญ่ออกจากระบบ หรือมีการสวิตชิ่งคาปาซิเตอร์เข้าระบบ หรือการปรับแทปหม้อแปลงไม่เหมาะสมกับระบบ   ผลทำให้
             อุปกรณ์ได้รับความเสียหายเนื่องจากแรงดันเกิน

                3.3 ไฟดับ (Voltage Interruption)
                คือค่าแรงดัน rms มีค่าลดลง 0.0 pu. ในช่วงเวลาเกินกว่า 1 min     มีสาเหตุเกิดจากสภาวะความผิดพร่องทางไฟฟ้าในระบบ
              ทำให้อุปกรณ์ป้องกันมีการตัดวงจรแหล่งจ่ายไฟออกถาวร ดังรูปที่ 9       แสดงการเกิดไฟดับช่วงระยะยาวจากการทำงานของ
              รีโคลสเซอร์ตัดวงจรแหล่งจ่ายออกจากระบบถาวร (Lockout) เมื่อสภาวะความผิดพร่องทางไฟฟ้ายังอยู่ในระบบ  เป็นผลทำให้
              อุปกรณ์ไฟฟ้าหยุดการทำงาน



รูปที่9 ขั้นตอนการทำงานรีโคสเซอร์ในระบบของ กฟภ.

              4.แรงดันไม่สมดุล (Voltage Unbalance)
             คือแรงดันของระบบ 3 เฟสมีขนาดแตกต่างกัน ( 0.5-2% ) หรือมีมุมเปลี่ยนไปจาก 120 องศา เกิดจากความไม่ สมดุลขนาด
          ของโหลดแต่ละเฟส สามารถกำหนดได้จากอัตราส่วนขององค์ประกอบลำดับลบ V2 ( Negative Sequence ) หรือองค์ประกอบ
          ลำดับศูนย์ V0 (Zero Sequence ) ต่อองค์ประกอบลำดับบวก V1 (Positive Sequence)ดังรูปที่10 ผลทำให้อุปกรณ์เช่นมอเตอร์
           หม้อแปลงไฟฟ้ามีอายุการใช้งานน้อยลงเนื่องจากผลความร้อนที่เกิดขึ้น



รูปที่10 แรงดันไม่สมดุลที่สายป้อนที่จ่ายไฟให้ที่พักอยู่อาศัย

                5.ความผิดเพี้ยนรูปคลื่น(WAVEFORM DISTORTION)
             การผิดเพี้ยนของรูปคลื่น คือ การเบี่ยงเบนในสภาวะคงตัวของรูปคลื่นไซด์ที่มีความถี่ทางกำลังไฟฟ้า และสามารถอธิบาย
            คุณลักษณะได้โดยแยกองค์ประกอบทางความถี่ออกมา

                การผิดเพี้ยนของรูปคลื่นแบ่งออกได้ 5 ชนิด
                      - องค์ประกอบไฟตรง (DC offset)
                      - ฮาร์มอนิก (Harmonic)
                      - อินเตอร์ฮาร์มอนิก (Interharmonic)
              &nb

========================================================