Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,631
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,048
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,363
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,322
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,834
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,947
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,916
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,181
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,968
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,747
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,686
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,889
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,205
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,631
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,075
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,962
17 Industrial Provision co., ltd 39,701
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,709
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,617
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,956
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,895
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,247
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,661
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,375
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,891
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,885
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,258
28 AVERA CO., LTD. 22,951
29 เลิศบุศย์ 21,975
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,743
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,637
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,245
33 แมชชีนเทค 20,239
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,496
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,460
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,208
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,884
38 SAMWHA THAILAND 18,656
39 วอยก้า จำกัด 18,311
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,887
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,734
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,663
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,650
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,583
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,511
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,507
47 Systems integrator 17,075
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,025
49 Advanced Technology Equipment 16,840
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,808
28/04/2553 14:08 น. , อ่าน 24,034 ครั้ง
Bookmark and Share
Machine Vision คือ อะไร
โดย : Admin

 

  โดย :   บุญลือ     บุญคง  

 

  

               ปัจจุบันการแข่งขันกันทางธุรกิจทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและราคาถูกเท่านั้นที่จะยืนต่อสู้ในสนามการแข่งขันได้ และยิ่งไปกว่านั้นยังมีมาตรการการกีดกันทางการค้า และระบบคุณภาพต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในทางธุรกิจ ปัจจุบันระบบคุณภาพที่เข้ามามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมอย่างมากได้แก่ ระบบคุณภาพ ISO (International Organization for Standardization) ซึ่งระบบคุณภาพ ISO นั้นได้ควบคุมคุณภาพตั้งแต่กระบวนการของการได้มาซึ่งวัตถุดิบตลอดไปจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ในอดีตผู้ผลิตหลายรายได้ใช้ระบบตรวจสอบคุณภาพแบบสุ่มเช็ค(Random) ซึ่งบางครั้งสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานอาจเล็ดลอดกระบวนการตรวจเช็คไปสู่ลูกค้าได้ทำให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจ ทั้งผู้ผลิตและลูกค้า บางรายอาจถึงขั้นเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่นก็มี

           ระบบวิชั่น (Vision System) หรือบางคนอาจเรียกว่า แมชชีนวิชั่น (Machine Vision) จึงเข้ามามีบทบาทในการตรวจเช็คคุณภาพ เนื่องจากระบบนี้สามารถตรวจเช็คได้ 100% ของผลิตภัณฑ์ และมีความละเอียดแม่นยำกว่าสายตามนุษย์ สามารถควบคุมคุณภาพได้สม่ำเสมอต่างจากสายตามนุษย์ที่อาจมีความเหนื่อยล้า เป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดเพี้ยนได้ นอกจากนี้ระบบนี้ยังสามารถตรวจเช็คคุณภาพชิ้นงานได้ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของกระบวนการผลิตซึ่งบางกระบวนการคนไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่นั้น ๆ ได้ ทำให้สามารถคัดแยกชิ้นงานที่เสียออกแต่เนิ่น ๆ ไม่ต้องปล่อยให้เสร็จสิ้นกระบวนการถึงจะมีการตรวจเช็ค เพราะถึงเวลานั้นชิ้นงานมีมูลค่าที่สูง

 

          ระบบวิชั่นใช้งานอะไรได้บ้าง

  • ตรวจเช็คตำแหน่งของวัตถุ เช่นตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆบนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ เป็นต้น
  • ตรวจสอบความผิดพลาดของชิ้นงาน เช่น รอยแตกร้าวที่ผิวชิ้นงาน, การติดฉลากบนภาชนะอาหาร-เครื่องดื่ม, ปริมาณหรือระดับของเครื่องดื่มที่บรรจุขวด,สีและขนาดของผลิตภัณฑ์ที่ผิดเพี้ยน, การพิมพ์รูปและตัวอักษร, ตรวจเช็คสิ่งปนเปื้อนที่ผิวชิ้นงาน เป็นต้น
  • วัดขนาดของชิ้นงาน
  • นำทางไห้หุนยนต์ เช่นในงานเชื่อมแนว ,งานยกของ, งานหยอดกาว

 

    รูปที่ 1 การประยุกต์ใช้งานระบบวิชั่น

           
    หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบวิชั่นมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงมีคำถามในใจมากมายเช่น ผลิตภัณฑ์ของตนจะใช้ระบบวิชั่นตรวจเช็คได้มั้ย? หากต้องการจะใช้ควรจะเริ่มต้นอย่างไร ? เทคโนโลยีใหม่นี้ยากง่ายแค่ไหนจะมีคนในองค์กรดูแลได้มั้ย ? หรือมีคนภายนอกที่ไหนจะให้คำปรึกษาได้บ้าง ? บทความต่อไปนี้จะช่วยท่านคลี่คลายคำถามเหล่านี้ อีกทั้งช่วยให้ท่านเข้าใจและมองภาพระบบวิชั่น ชัดเจนขึ้น


            ระบบวิชั่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่าระบบการมองเห็น แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอใช้ทับศัพท์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่คุ้นเคยและเข้าใจง่ายกว่า ระบบวิชั่นประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ สองส่วนคือ กล้องถ่ายรูป อาจจะเป็นแบบอะนาลอกหรือดิจิตอลก็ได้ และชุดประมวลผลสัญญาณภาพ ระบบวิชั่นที่เราคุ้นเคย และเห็นกันบ่อย ๆ เช่น โทรทัศน์วงจรปิดตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่าง ๆ ระบบนี้เป็นเพียงการจับสัญญาณภาพด้วยกล้องวีดีโอแบบอะนาลอกที่มีความละเอียดไม่มากนัก แล้วนำสัญญาณที่ได้แสดงออกหน้าจอ ในส่วนนี้ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงในรายละเอียด แต่จะกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของระบบวิชั่นที่ใช้งานในอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กล้องดิจิตอลที่มีความละเอียดสูงมีชุดประมวลผลที่สามารถโปรแกรมได้ เราสามารถแบ่งกล้องดิจิตอลที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามลักษณะโครงสร้างคือ

      1. Intelligent Digital Camera กล้องประเภทนี้จะมี CPU หรือชุดประมวลผล และ ชุดควบคุม ( Controller ) อยู่ในตัวกล้อง ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ตอนุกรม ( Serial Port ) เพื่อเขียนโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์แล้วโหลดโปรแกรมใส่ในหน่วยความจำของกล้อง ดังนั้นเวลาใช้งานจึงไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์ การใช้งานทำได้ง่ายมีฟังก์ชั่นไม่ซับซ้อน แต่จะมีข้อจำกัดกับงานที่ต้องการความละเอียดสูงๆ หรืองานที่ซับซ้อน และงานต้องเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
      2. Standard Digital Camera จะเป็นกล้องดิจิตอลธรรมดาทั่วไปการใช้งานผู้ใช้ต้องเชื่อมต่อกับชุดควบคุมอีกทีหนึ่งซึ่งชุดควบคุมนั้นอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) โดยติดตั้งการ์ดที่จะติดต่อกับกล้อง (Frame grabber ) เพิ่มเติม แบบนี้เรียกว่า PC Base Vision system ระบบนี้ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวประมวลและวิเคราะห์สัญญาณภาพทำให้มีประสิทธิภาพสูงผู้ใช้สามารถใช้ฟังก์ชั่นการใช้งานได้หลากหลาย ปัจจุบันมีซอท์ฟแวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณภาพที่มีประสิทธิภาพหลายโปรแกรม แต่ระบบนี้จะมีราคาแพง และการใช้งานค่อนข้างซับซ้อนจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดสูงและอัตราการประมวลผลเร็ว เช่นงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยา อีกแบบหนึ่งเป็นชุดควบคุมเฉพาะที่บริษัทผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นมา ลักษณะคล้ายกับ PLC การใช้งานจะคล้ายกับ Intelligent Digital Camera เพียงแต่เป็นการนำชุดประมวลผลมาไว้นอกตัวกล้อง


    (ก) 


    (ข)

    รูปที่ 2 ก) Intelligent Digital Camera    ข) Standard digital Camera และชุดควบคุมเฉพาะ

                   

     
    ระบบวิชั่นที่กำลังเข้ามามีบทบาทในงานตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้อาจเนื่องมาจากการแข่งขันกันมากขึ้น หรือถูกบังคับโดยระบบคุณภาพต่าง ๆ ก็ตาม แต่ความเป็นจริงแล้วผลประโยชน์ตกกับบริษัทผู้ผลิตเอง เช่น ของเสียลดลง นั่นหมายถึงต้นทุนการผิดลดลง ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพ ทำให้ขายผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นทั้งนี้ตัวเทคโนโลยีระบบวิชั่นเองไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนักซึ่งผู้ใช้สามารถศึกษาได้ทั่วไป ทั้งจากตำราและจากศูนย์ฝึกอบรมต่างๆนอกจากนี้ยังอาจ ขอคำปรึกษาจากผู้ที่มี ความรู้พอที่จะให้คำปรึกษาแนะนำได้ซึ่งในเมืองไทยก็หลายที่ เช่น ที่สถาบันไทย-เยอรมัน ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอมตะนคร จ. ชลบุรี ก็มีหลักสูตรการฝึกอบรมระบบวิชั่นซึ่งสามารถติดต่อขอคำปรึกษา ,เข้ารับการฝึกอบรม หรืออาจจะนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาทดลองว่ามีความเป็นไปได้ในการจะใช้ระบบวิชั่นหรือไม่ ทางสถาบันยินดีให้คำปรึกษา (โทร. (038) 215033 ต่อ 1311 )

                     

     

     

    ========================================================