Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,631
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,048
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,363
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,322
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,834
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,947
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,916
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,181
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,968
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,747
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,686
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,889
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,205
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,631
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,075
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,962
17 Industrial Provision co., ltd 39,701
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,709
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,617
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,956
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,895
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,247
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,661
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,375
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,891
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,885
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,258
28 AVERA CO., LTD. 22,951
29 เลิศบุศย์ 21,975
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,743
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,637
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,245
33 แมชชีนเทค 20,239
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,496
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,460
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,208
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,884
38 SAMWHA THAILAND 18,656
39 วอยก้า จำกัด 18,311
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,887
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,734
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,663
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,650
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,583
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,511
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,507
47 Systems integrator 17,075
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,025
49 Advanced Technology Equipment 16,840
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,808
01/04/2553 13:38 น. , อ่าน 16,393 ครั้ง
Bookmark and Share
Programmable Logic Controller
โดย : Admin

 


   ประวัติความเป็นมาของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
  

     โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์หรือชื่อย่อๆที่ใช้เรียกขานทัพศัพท์ กันในเชิงพานิชย์ทั่วๆไปก็คือพี-แอล-ซี(PLC,Programmable Logic Controller) ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ 1968 โดยกลุ่มวิศวกร Hydramatic division ของบริษัท General Motors Corporationsเนื่องจากมีความต้องการที่จะสร้างอุปกรณ์ควบคุมมาทด แทนการใช้รีเลย์ในการ ควบคุมสำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งจะต้องสามารถรองรับการประกอบรถยนต์ รุ่นใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา



    ลักษณะของอุปกรณ์ควบคุมที่สร้างขึ้นมา มีจุดเด่นดังนี้:
1)  ใช้การเขียนโปรแกรมในการสร้างฟังก์ชั่นการทำงานแทนการใช้สายไฟฟ้าในการสร้าง ฟังก์ชั่นเพื่อควบคุมการทำงานของระบบดังนั้นจึงเหมาะกับงานที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือ แก้ไข ฟังก์ชั่นการควบคุม อยู่ตลอดเวลา
2)  มีประสิทธิภาพในการควบคุม และมีขนาดเล็กกว่า เมื่อเทียบกับการใช้ รีเลย์ในการควบคุม
3)  การดูแลรักษา และ การซ่อมบำรุง ทำได้ง่าย และค่าใช้จ่ายต่ำ
4 )  ราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้รีเลย์

     

ใน
ระยะแรกได้มีการพัฒนานำเอาอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เข้ามาใช้ในการสร้าง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ 1970 จึงได้มีการพัฒนานำเอาไมโครโปรเซสเซอร์ มาใช้ในการประมวลผล ทำให้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์มีความสามารถและขอบเขตการใช้งานมากขึ้น เช่น การประมวลผลฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์สามารถที่จะทำการควบคุมอุปกรณ์ ที่มีลักษณะเป็นสัญญาณแอนะลอก(Analog Signal) และสามารถทำการสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้และจากการพัฒนาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี ค.ศ 1975 ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และ ซอร์ฟแวร์ มาใช้กับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ทำให้ความสามารถในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น เช่น มีหน่วยความจำเพิ่มขึ้น สามารถติดต่อกับอินพุทและเอ้าท์พุทแบบระยะไกล (Remote input/output) สามารถใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัว (Multi-processor) ร่วมกันประมวลผลโปรแกรม สามารถทำการควบคุมโดยใช้โมดูลแบบพิเศษ (Intelligent module) และนอกจากนั้นในปัจจุบัน โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ยังสามารทำการติดต่อสื่อสารข้อมูลเป็นโครงข่ายผ่าน Ethernet Protocal, Profibus และ ASI-bus เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่า เราสามารถที่จะนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตมาใช้ในการตัดสินใจ และสามารถที่จะควบคุมการผลิตตามแผนการที่กำหนดโดยผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วผ่านการสื่อสารแบบต่างๆและนอกจากนั้นยังทำให้สามารถ ที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ผลิตมาจากบริษัทต่างๆกันได้



ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งาน PLC และระบบรีเลย์ในการควบคุม

คุณลักษณะ

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์(PLC)

รีเลย์ (Relays)

ราคาค่าใช้จ่าย(ต่อการทำงานที่มีการใช้รีเลย์มากกว่า 20 ตัวขึ้นไป) ต่ำกว่า สูงกว่า
ขนาดเมื่อทำการติดตั้ง กระทัดรัด มีขนาดใหญ่กว่า
ความเร็วในการปฏิบัติการ มีความเร็วสูงกว่า ช้ากว่า
ความทนทานต่อการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า ดี ดีมาก
การติดตั้ง ง่ายในการติดตั้งและโปรแกรม ใช้เวลามากกว่าในการ ออกแบบและติดตั้ง
ความสามารถในการปฏิบัตการฟังก์ชั่นที่มีซับซ้อน สามารถกระทำได้ ไม่สามารถกระทำได้
ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงลำดับการควบคุม สามารถกระทำได้ง่าย สามารถกระทำได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก
การซ่อมบำรุง และตรวจสอบแก้ไข ไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก   และง่ายในการตรวจสอบแก้ไขใน กรณที่เกิดปัญหาภายในระบบควบคุม ต้องการการดูแลในส่วนของคอล์ย และหน้าสัมผัส และยากในการตรวจสอบและ แก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา

 

โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ( PLC )  และโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์  ( PC ) แตกต่างกันอย่างไร ?

       
กคำนิยามของ "โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์" ตามมาตรฐานของ IEC 1131, PART1 "ระบบปฏิบัติการทางด้านดิจิตอลออกแบบมาให้ใช้งานในอุตสาหกรรม ซึ่งใช้หน่วยความจำที่สามารถโปรแกรมได้ในการเก็บคำสั่งที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น (User Program) เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดฟังก์ชั่นหรือเงื่อนไขในการทำงานเช่น การทำงานแบบลอจิก, การทำงานแบบซีเควนซ์, การใช้งานไทม์เมอร์, การใช้งานเคาน์เตอร์ และฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์ดิจิตอลอินพุทและเอ้าท์พุท หรือแอนะลอก อินพุท และเอ้าท์พุท ของเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตต่างๆ นอกจากนั้น ทั้งระบบ PLC และอุปกรณ์ภายนอกที่ใช้งาน จะต้องสามารถเชื่อมต่อหรือสื่อสารกับระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม, เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ และใช้งานร่วมกันได้ง่าย" 

PLC:  Programmable Logic Controller

PC: Programmable Controller

PBS:
Programmable Binary System

SPS: Speicher  Programmierbare Steuerung

 แสดงลักษณะของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ idec FA-2

    

  ใ
อดีต โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ( PLC )จะเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตต่างๆที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบลอจิก (Logic control system) หรือแบบซีเควนซ์ (Sequence control system) เท่านั้นซึ่งเซนเซอร์และอุปกรณ์ทำงาน (Actuator)ที่ควบคุมการทำงานภายในเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตต่างๆเหล่านั้น มีลักษณะของสัญญาณอินพุทและเอ้าท์พุท เป็นสัญญาณ ไบนารี่ (Binary Signal) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ทำให้สามารถทำการวัดและควบคุม สัญญาณอินพุทและเอ้าท์พุทที่เป็นมีลักษณะแอนะลอก(Analog Signal) การควบคุมตำแหน่ง (Positioning control) การควบคุมแบบ PID และ รวมถึงการติดต่อสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าความหมายของชื่อเดิม คือโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ไม่ครอบคลุม ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมที่พัฒนาขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดชื่อของอุปกรณ์ควบคุมนี้ว่า โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ( Programmable Controller ) เพื่อให้ความหมายกว้างขึ้น และ ครอบคลุม ความสามารถในการทำงาน มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในเอกสารเล่มนี้ ก็ยังคงใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ หรือ PLC แทนอุปกรณ์ควบคุมที่เราพัฒนาขึ้นมา เพราะเป็นที่คุ้นเคย และหลีกเลี่ยงความสับสนระหว่าง คำว่า PC : Personel computer

  
   
 ความรู้พื้นฐาน พีแอลซี
ติตตามได้ดังลิงค์ต่อไปนี้

 

========================================================