Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,631
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,048
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,363
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,322
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,834
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,947
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,916
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,181
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,968
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,747
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,686
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,889
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,205
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,631
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,075
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,962
17 Industrial Provision co., ltd 39,701
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,709
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,617
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,956
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,895
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,247
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,661
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,375
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,891
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,885
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,258
28 AVERA CO., LTD. 22,951
29 เลิศบุศย์ 21,975
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,743
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,637
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,245
33 แมชชีนเทค 20,239
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,496
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,460
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,208
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,884
38 SAMWHA THAILAND 18,656
39 วอยก้า จำกัด 18,311
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,887
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,734
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,663
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,650
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,583
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,511
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,507
47 Systems integrator 17,075
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,025
49 Advanced Technology Equipment 16,840
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,808
24/01/2553 16:02 น. , อ่าน 21,440 ครั้ง
Bookmark and Share
ระบบควบคุมแบบเครือข่าย
โดย : Admin

ระบบควบคุมแบบเครือข่าย
( A network based control system )

           

รูปที่ 1 ระบบควบคุมแบบ NCS
 
       ด้วยเหตุนี้เอง ปัจจุบันจึงมีบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดได้พัฒนาระบบควบคุมอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาซึ่งมีชื่อเรียกว่า
A network based control system ( NCS )ที่มีความสามารถในการติดต่อกับเน็ตเวิร์คและอุปกรณ์ผ่านระบบเน็ตเวิร์คได้ โดยมีความสามารถที่หลากหลาย ระบบควบคุมแบบนี้ยีงเพิ่มความสามารถในการทำงานแบบ SCADA เข้าไปด้วย ทำให้มีความยืดหยุ่นและตรงกับความต้องการของระบบควบคุมในปัจจุบัน ทำให้วิศวกรไม่ต้องหาโซลูชั่นเองในการ Integrated ระบบ DCS เข้ากับอุปกรณ์ควบคุมอื่น ๆ

     
         หัวใจของระบบควบคุมแบบใหม่ซึ่งเป็นส่วนควบคุมนี้คือตัวคอนโทรเลอร์ของระบบ NCS ซึ่งเปิดโอกาสให้วิศวกรสามารถควบคุมและแสดงผลการทำงานของระบบควบคุมผ่านระบบเน็ตเวิร์คทั้งแบบ Ethernet และ Internet สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ ERP ของฐานข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ ติดต่อกับอุปกรณ์และคอนโทรเลอร์เช่น PLC
ในระบบเน็ตเวิร์คและอุปกรณ์ควบคุมอื่น ๆ ได้
 
  

แนวคิดหลักของระบบ Network Based Control System ( NCS )  จึงสามารถสรุปได้ดังนี้     
   สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ควบคุม คอนโทรเลอร์ และระบบควบคุมอื่น เพื่อเพิ่มศักยภาพให้การจัดการด้าน Manufacturing
 รักษาเสถียรภาพของระบบและอุปกรณ์ควบคุมให้ทำงานได้อย่างเรียบร้อยตามกำหนด
 ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการตลาด การส่งสินค้า สต็อก แผนงาน ค่าพารามิเตอร์ของคอนโทรลเลอร์ในระบบ เป็นต้น ได้อย่างฉับไว เพื่อการดำเนินงานที่สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง แม่นยำของระบบรวม
  

ความแตกต่างระหว่าง NCS และ PLC

          
นั้นส่งสัญญาณมายัง PC (ผ่านซอร์ฟแวร์ SCADA) โดยที่เราต้องระบุ Address โดยตรงของ PLC ไม่สามารถระบุชื่อแบบ User defined ได้ เช่นต้องระบุว่าต้องการติดต่อกับ Address X123 เป็นต้น ในขณะที่ NCS สามารถส่งติดต่อกับ PC ผ่าน SCADA ของระบบเองโดยสามารถติดต่อกับค่าสัญญาณด้วยชื่อแบบ User defined เช่น Temp1 เป็นต้นได้ และที่สำคัญค่าที่ส่งมานั้นยังเป็นค่าที่ Integrated กับฟังก์ชั่นบล็อกของ Controller นั่นคือแทนที่เราจะทราบค่าสัญญาณเพียงค่าเดียว เรากลับทราบพารามิเตอร์และค่าที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นบล็อกใน Controller
PLC
อีกด้วย


รูปแสดงความแตกต่างระหว่าง NCS กับ DCS


 

          DCS เป็นระบบดั่งเดิมที่ใช้ในงานควบคุมที่มีขนาดใหญ่ และต้องการเสถียรภาพสูง เช่น งาน oil refineries ซึ่งต้องมีการ Monitoring และการควบคุมอย่างต่อเนื่อง  จึงไม่สนใจเรื่องความยืดหยุ่นในการติดต่อกับระบบและอุปกรณ์ภายนอกอื่น ๆ เพราะเน้นเรื่องเสถียรภาพและความต่อเนื่องของงานเป็นหลัก แต่สำหรับ NCS นั้นเหมาะกับงานที่มีวัตถุประสงค์ต่างออกไป ที่มุ่งเน้นด้านความยืดหยุ่นของการขยายระบบและติดต่อระบบควบคุมกับ Information Technology ในระบบเครือข่าย เพื่อความรวดเร็ว และเปิดกว้าง ซึ่ง ระบบนี้บริษัทผู้ผลิตอย่างเช่น YOGOKAWAใช้มาตรฐานการโปแรแกมมิ่ง IEC61131-3 programming language ใช้การสื่อสารแบบ Ethernet เป็นบัสมาตรฐาน ใช้คอนโทรลเลอร์ที่มีขนาดกะทัดรัด และใช้ไคลเอ็นท์แบบ Thin-HMI Client นอกจากนี้ยังมี Web function เพื่อการทำงานผ่าน Web ดังนั้นจึงทำให้ A network based control system มีความเหมาะสมมากกว่า DCS ในงานระดับ Mid-size ที่มีความเปิดกว้างทางเทคโนโลยีและต้องการความยืดหยุ่นเพื่อการควบคุมและแสดงผลแบบรีโมทในระบบเครือข่ายกับระบบควบคุมอัตโนมัติ และแน่นอนว่า NCS มีคุณสมบัติด้านเสถียรภาพที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องเสถียรถาพในการทำงาน

         A network based control system เป็นทางเลือกใหม่นอกจาก DCS สำหรับงานอุตสาหกรรมและวิศวกรรม เพื่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เลือกใช้ระบบ SCADA ที่ประกอบไปด้วย PLC + SCADA Software ทำให้ NCS เป็นโซลูชั่นที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อระบบที่มีทั้ง ความมีเสถียรภาพ ความรวดเร็ว และเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปิดกว้าง

หากจะพูดถึง DCS วิศวกรระบบทุกคนต่างรู้จักว่านั่นคือ Distributed Control System  ซึ่งเป็นระบบควบคุมและเครื่องมือวัดคุมที่มีสเถียรภาพดีมาและเป็นระบบที่มีใช้มานานกว่า 85 ปี และนิยมเลือกใช้งานในวงการอุตสาหกรรมและวิศวกรรมมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น DCS เป็นระบบที่มีข้อด้อยอย่างหนึ่งคือ การที่ไม่เปิดโอกาสให้ติดต่อกับระบบเน็ตเวิร์คอื่น ๆ จึงทำให้เราต้องเลี่ยงมาใช้เทคนิคอื่นในการติดต่อกับ DCS เช่น เชื่อมต่อผ่าน OPC Server ไปยัง SCADA Software อีกที เราจึงสามารถส่งข้อมูลที่ได้จาก DCS เพื่อนำไปวิเคราะห์ และควบคุม DCS ผ่านระบบเน็ตเวิร์คได้ บางครั้งเรานำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นเงื่อนไขเพื่อสั่งงาน PLC ในเน็ตเวิร์คอีกที ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งเพื่อเชื่อมโยง DCS ให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในเน็ตเวิร์ค แต่ก็ยังมีฟังก์ชั่นการทำงานของ DCS อีกหลายประการที่เราไม่สามารถติดต่อได้โดยตรง เช่น Loop control ต่าง ๆ  นอกจากนั้นยังเป็นความไม่เหมาะสมในการ Integrated ระบบต่าง ๆ เข้ากับ DCS ที่เป็นระบบแบบปิด
ขอขอบคุณ  EDA Instrument & System (www.EDA.co.th) ที่ร่วมส่งบทความเผยแพร่ความรู้สู่สังคมอุตสาหกรรมไทย

 

========================================================