Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,770
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,550
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,817
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,446
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,516
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,682
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,137
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,206
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
13/09/2552 11:04 น. , อ่าน 89,437 ครั้ง
Bookmark and Share
วิศวกรรมอุตสาหการคืออะไร จบมาแล้วทำงานเกี่ยวข้องกับอะไร
โดย : Admin

 

 วิศวกรรมอุตสาหการ คืออะไร

 
 
 
 
  โดย อ.ชัยวัฒน์ 
www.thai.net/ieclub/about001.htm
  
  
 
 
 

   

        วิศวกรรมอุตสาหการ คือสาขาหนึ่งซึ่งได้เจริญเติบโตขึ้นมาและแยกตัวออกมาจากวิศวกรรมเครื่องกล คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความไว้ดังต่อไปนี้ Encyclopaedia Americana คำว่า “วิศวกรรมอุตสาหการ คือ การวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงการใช้งานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับคน วัตถุดิบเครื่องจักรและอุปกรณ์ในองค์การวิศวกรรมอุตสาหการจะต้องทำการวิเคราะห์เพื่อให้องค์การสามารถเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไรและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน”หนังสือ Encyclopaedia Britannica กล่าวว่า“งานของวิศวกรรมอุตสาหการปกติจะรู้จักภายใต้ชื่อของการศึกษาการเคลื่อนไหว การศึกษาเวลาในการทำงาน การวางแผนและควบคุมการผลิต การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน การออกแบบระบบงาน การควบคุมคุณภาพ การประเมินคุณค่าของตำแหน่งการวิเคราะห์องค์การ การศึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน”

 

          ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคำกล่าวและความเข้าใจของบุคคลทั่วๆ ไปเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการ ส่วนวิศวกรรมอุตสาหการมองตนเองอย่างไรนั้นอาจทราบได้จากคำจำกัดความในหนังสือ Industrial Engineering Handbook ดังนี้
        “วิศวกรรมอุตสาหการเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การปรับปรุง และการจัดตั้งระบบผสมผสานระหว่างคน วัสดุ และเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งในการนี้จะต้องใช้ความชำนาญในด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และสังคมศาสตร์ร่วมกันไป โดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีวิเคราะห์ทางวิศวกรรมศาสตร์มาใช้ออกแบบ ระบุ ทำนาย และประเมินผลการทำงานของระบบดังกล่าว"
 
 
 
 

    งานหลักของวิศวกรรมอุตสาหการ

        กล่าวกว้างๆ ได้ว่าวิศวกรรมอุตสาหการทำงานทั่วๆ ไปของวิศวกรรมเครื่องกลได้ ยกเว้นงานพิเศษบางอย่างซึ่งต้องอาศัยความรู้ทาง thermodynamics  , heat transfer หรือ fluid machine ชั้นสูง แต่วิศวกรอุตสาหการจะมีความชำนาญพิเศษเฉพาะด้านของตนในงานหลัก ซึ่งเป็นหน้าที่ของวิศวกรรมอุตสาหการ ซึ่ง  American Institute of Industrial Engineering ได้ระบุไว้ดังนี้
 

 

1. การเลือกกระบวนการ และวิธีการประกอบชิ้นส่วนสินค้า
 
2. การเลือกใช้และการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์
 
3. การออกแบบและการวางผังอาคารโรงงาน การวางผังติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ อุปกรณ์เก็บวัตถุดิบ หรือเก็บสินค้า
 
4. การออกแบบหรือปรับปรุงการวางแผนและควบคุมการจ่ายสินค้า หรือบริการการผลิต การเก็บสินค้าในคลัง การควบคุมคุณภาพ การซ่อมบำรุงรักษาและควบคุมโรงงานและหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านนี้
 
5. การพัฒนาระบบความคุ้มต้นทุน เช่น การควบคุมงบประมาณ การวิเคราะห์ต้นทุน การจัดตั้งระบบต้นทุนมาตรฐาน
 
6. การพัฒนาผลผลิต
 
7. การออกแบบและจัดตั้งระบบคำนวณคุณค่าการใช้งานและ ระบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม
 
8. การออกแบบและจัดตั้งระบบข่าวสารเพื่อการบริการ
 
9. การพัฒนาและจัดตั้งระบบค่าแรงงานจูงใจ
 
10 การพัฒนาวิธีวัดผลงานและมาตรฐานในการทำงาน รวมทั้งการวัดผลงานและประเมิน ค่าผลงาน
 
11. การพัฒนาและจัดตั้งระบบประเมินคุณค่าของตำแหน่งงาน
 
12. การประเมินผลเกี่ยวกับความไว้วางใจได้ (reliability) และประสิทธิภาพในการทำงาน
 
13. การวิจัยปฏิบัติการ (operations research) ซึ่งครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ การจำลองแบบของระบบโปรแกรมเชิงเส้นตรง (linear programming) และทฤษฎีของการตัดสินใจ
 
14. การออกแบบและติดตั้งระบบวิเคราะห์ข้อมูล
 
15. การจัดระบบสำนักงาน วิธีการทำงานและนโยบาย
 
16. การวางแผนองค์กร
 
17. การสำรวจที่ตั้งโรงงาน โดยยึดถือตลาดแหล่งวัตถุดิบ แหล่งโรงงาน แหล่งเงินทุน และภาษีต่างๆ มาประกอบการพิจารณา
 

 
  
 
   งานวิศวกรอุตสาหการซึ่งควบคุมโดยกฎหมายในประเทศไทย
         การจะนำเอาสภาวะของสหรัฐอเมริการมาใช้ในเมืองไทยโดยมิได้ปรับปรุงอย่างขนาดใหย่ย่อม จะเป็นผลสำเร็จไปไม่ได้ ประเทศไทยยังเป็นประเทศไม่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากนัก และมีกำลังคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังวิศวกรจำกัดมาก จึงย่อมไม่สามารถจะกำหนดลักษณะ งานวิศวกรรมอุตสาหการให้เหมือนกับสหรัฐอเมริกาได้ ในเมืองไทยนั้นกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ได้กำหนดงานซึ่งอยู่ลักษณะ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมอุตสาหการไว้ดังนี้

 
        
         
1.  งานออกแบบและคำนวณงานอุตสาหกรรมของโรงงานที่ใช้ลูกจ้าง ตั้งแต่สิบคนขึ้นไป หรือโรงงานที่ต้องลงทุนตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป
 
2. งานควบคุมการสร้าง หมายถึง การอำนวยการควบคุมดูแลการสร้าง ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ให้เป็นไปถูกต้องตามหลักวิชาการ แบบรูป และข้อกำหนดสำหรับงานอุตสาหกรรมของโรงงานที่ใช้ลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป หรือของโรงงานที่ต้องลงทุนตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป
 
3. งานพิจารณาตรวจสอบ หมายถึง การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบหรือการหาข้อมูล และสถิติต่างๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบ วินิจฉัยงานในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
 
4. งานวางโครงสร้าง หมายถึง การวางแผนผังหรือการวางแผนงาน การสร้างหรือประกอบสิ่งใดๆ ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สำหรับโครงการ ที่มีวงเงินตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป
 
5.  งานควบคุมการผลิตวัตถุประสงค์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป งานหลอมโลหะ งานหล่อโลหะ งานรีดโลหะ งานเคลือบโลหะ หรืองานอบชุบ งานชุบ หรืองานแปรรูปโลหะไม้หรือวัสดุอื่นๆ สำหรับงานอุตสาหกรรม ของโรงงานที่ใช้ลูกจ้างตั้งแต่ ห้าสิบคนขึ้นไป หรือขนาดของโรงงานที่ต้องลงทุนตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป
 
6. งานควบคุมการถลุงแร่และงานทำโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณผลิตดังต่อไปนี้
  • ดีบุก  ตั้งแต่วันละสองตันขึ้นไป
  • ตะกั่ว สังกะสี ทองแง หรือพลวง  ตั้งแต่วันละห้าตันขึ้นไป
  • เหล็ก หรือเหล็กกล้า  ตั้งแต่วันละสิบตันขึ้นไป
     
7. งานให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ข้อแนะนำและ/หรือการตรวจสอบที่ เกี่ยวข้องกับงานในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ตาม 1,2,3,4,5 หรือ 6 ตามกฎกระทรวง นี้ยังแบ่งวิศวกรอุตสาหการผู้ที่จดทะเบียนกับคณะกรรมการควบคุมการควบคุม การประกอบอาชีพวิศวกรรม (ก.ว) เป็น 3 ประเภท คือภาคีสมาชิก สามัญสมาชิก และวุฒิสมาชิก ซึ่งมีขอบเขตความสามารถในการรับผิดชอบต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาคีวิศวกร สามารถทำงานออกแบบและคำนวณงานอุตสาหกรรม ของโรงงานที่ใช้ ลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน แต่ไม่เกิน 150 คน หรือโรงงานที่ต้องลงทุนตั้งแต่ 50 คน แต่ไม่เกิน 300 คน หรือโรงงานที่ต้องลงทุนตั้งแต่ 5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท ส่วนวุฒิวิศวกรนั้นไม่มีขอบเขตจำกัดขนาดของโรงงานที่จะรับผิดชอบ
 

    นิยามวิศวกรรมอุตสาหการในฉบับอังกฤษ

        Industrial engineers determine the most effective ways to use the basic factors of production people, machines, materials, information, and energy to make a product or to provide a service. They are the bridge between management goals and operational performance. They are more concerned with increasing productivity through the management of people, methods of business organization, and technology than are engineers in other specialties, who generally work more with products or processes. Although most industrial engineers work in manufacturing industries, they may also work in consulting services, healthcare, and communications.
 

      To solve organizational, production, and related problems most efficiently, industrial engineers carefully study the product and its requirements, use mathematical methods such as operations research to meet those requirements, and design manufacturing and information systems. They develop management control systems to aid in financial planning and cost analysis and design production planning and control systems to coordinate activities and ensure product quality. They also design or improve systems for the physical distribution of goods and services. Industrial engineers determine which plant location has the best combination of raw materials availability, transportation facilities, and costs. Industrial engineers use computers for simulations and to control various activities and devices, such as assembly lines and robots. They also develop wage and salary administration systems and job evaluation programs. Many industrial engineers move into management positions because the work is closely related.
The work of health and safety engineers is similar to that of industrial engineers in that it deals with the entire production process. Health and safety engineers promote worksite or product safety and health by applying knowledge of industrial processes, as well as mechanical, chemical, and psychological principles. They must be able to anticipate, recognize, and evaluate hazardous conditions as well as develop hazard control methods. They also must be familiar with the application of health and safety regulations.
 
 

ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข่าว
 

========================================================