Fuzzy กับ PID
โดย : Admin

โดยบริษัท เทคโนโลยี อินสตรูเมนท์ จำกัด

 

 

         Fuzzy เป็นทฤษฎีหนึ่งทางคณิตศาสตร์ คือ Fuzzy sets ซึ่งเป็นลักษณะของ ตัวเลขที่สามารถบ่งชี้ได้ถึงคุณภาพ (Quality) ไม่ใช่เพียงปริมาณ (Quanlity) เพียงอย่างเดียวเหมือนตัวเลขทั่วไปที่เป็น Crisp sets ลักษณะของ Fuzzy จะมีความใกล้เคียงภาษามนุษย์มากกว่าที่เป็นแค่ตัวเลขตายตัวค่าหนึ่ง เช่นหากเราจะสอนให้ใครคนหนึ่งขับรถให้จอดตรงไฟแดงพอดี เรามักบอกว่า ให้ค่อย ๆ เหยียบเบรค “ มากกว่า ที่จะบอกว่า ให้เหยียบเบรคด้วยอัตราหน่วง –3m/s2

            คำว่า Fuzzy แปลว่าคลุมเครือ,ไม่แน่ชัด คือเป็นคณิตศาสตร์ที่ไม่ได้ระบุเพียงแค่ใช่หรือไม่ใช่ แต่สามารถระบุ ความใกล้เคียงที่จะใช่หรือไม่ใช่ได้ นั่นคือช่วงตรงกลาง ระหว่างใช่ กับไม่ใช่ ซึ่งเป็นลักษณะของภาษามนุษย์ (Human Language) ที่มักใช้คำว่า ค่อย ๆ ,ค่อนข้าง, เล็กน้อย , เกือบ เป็นต้น

 

PID เป็นวิธีการควบคุมระบบแบบหนึ่ง ประกอบด้วยการคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ 3 ส่วน คือ Proportional ,Integral และ Derivative control โดยทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำหน้าที่หลักต่างกัน เพื่อช่วยกันส่งเสริมและชดเชยการควบคุม ให้มีเสถียรภาพที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม PID control ก็อ้างอิงสมการทางคณิตศาสตร์ที่ตายตัวเพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่มีความยืดหยุ่นพอที่จะควบคุม บางระบบที่มีความซับซ้อนหรือมีการกวนบ่อยๆ ได้ เช่น ระบบที่มีค่า Dead Time มากๆ ,เตาอบที่มีการเปิด-ปิด ประตูบ่อย เป็นต้น

            Fuzzy control เอาชนะข้อด้อยของ PID ได้ และสามารถควบคุมระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกรณีต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่แตกต่างกันไปเหมือนกับการบันทึกประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้ว Fuzzy control จะปรับแต่ง PID ทางอ้อม เพื่อให้สัญญาณควบคุม MV สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยืดหยุ่น และรวดเร็วตามกระบวนการ (Process) ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยวิธีนี้จะทำให้กระบวนการ เข้าสู่ค่าที่ตั้งไว้ หรือ set point ด้วยเวลาที่สั้นที่สุดและมี Overshoot ต่ำสุด (ค่าอุณหภูมิที่สูงเกินค่าที่ตั้งไว้ต่ำสุด) ภายใต้การรบกวนของ Disturbance จากภายนอก มีเสถียรภาพเหนือกว่าการควบคุม PID แบบดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด PID เป็นข้อมูลทางดิจิตอล Digital information ต่างจาก Fuzzy ที่เป็นข้อมูลทางแอนาลอก Language information

 

 

 ขอขอบคุณ บ. เทคโนโลยี อินตรูเมนท์ จำกัด เจ้าของบทความที่อนุญาตให้เรานำมาทำซ้ำและเผยแพร่ต่อไป

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)