มาริน่าบาร์ราจ เขื่อน 3 อิน 1 ของสิงคโปร์
โดย : Admin

เขื่อนนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อหลายปีก่อน และได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2551 

 

 จากแหล่งข่าวอ้างว่า  Marina Barrage คืออ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ โดยสร้างกั้นระหว่างอ่าว Marina Bay กับ น้ำทะเล เป็นระยะทางกว่า 350 เมตร

Marina Barrage นี้ใช้งบในการก่อสร้างประมาณ 5,200 ล้านบาทหรือประมาณ 226 ล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการด้วยกัน คือเป็นแหล่งเก็บน้ำจืดเพื่อใช้สำหรับการผลิตน้ำประปา    เป็นด่านหรือเขี่อนป้องกันน้ำท่วมกรณีเมื่อเกิดน้ำทะเลหนุนขึ้นสูง  นอกจากนั้นยังได้ออกแบบไว้เพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนและทำกิจกรรมทางน้ำอื่นๆอีกด้วย เช่น การเล่นวินเซิร์ฟ (windsurf) กีฬาพายเรือ Kayak และอื่นๆเป็นต้น


ภูมิทัศน์โดยรอบของ Marina Barrage  จัดว่าเป็นอะไรที่สวยงาม เจริญหูเจริญตาและเจริญใจ  ปัจจุนมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมกันไม่ขาดสายในแต่ละวัน  ซึ่งมีทั้งสนามหญ้าและสวนสาธารณะลอยฟ้าและพิธิภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติและเรื่องราวของอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งมีอะไรบ้างนั้น ขอแนะนำให้ดูรายละเอียดได้จากลิงคโปร์ต่อไปนี้


1) พาเที่ยวมุมพักผ่อนสวยๆที่เขื่อน marina barrage Singapore
2) Marina Barrage Singapore  (เน้นทางด้านเที่ยว)
3) Marina Barrage Singapore (เน้นข้อมูลทางด้านเทคนิค)
 

ส่วนคลิปด้านล่างนี้จะเป็นการอธิบายวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างและหลักการทำงานของของ Marina Barrage  ซึ่งจัดทำโดย PUB ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลและรับผิดชอบการก่อสร้างโครงการนี้




 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

สิงคโปร์ถือเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีความเป็นเกาะที่รายล้อมไปด้วยปริมาณน้ำจำนวนมหาศาล ดังนั้นระบบระบายนำ้ที่ดีจึงถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยการจัดการโดยหน่วยงานที่มีชื่อว่า PUB หรือ Public Utilities Board ที่เปิดให้องค์กรเอกชนเข้ามาดำเนินการ โดยมีวาระ 3-5 ปี เพื่อขีดความสามารถสูงสุดในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการควบคุมน้ำ ซึ่งผลงานชิ้นโบแดงของ PUB ที่ผ่านมา คือการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดยักษ์ที่มี ชื่อว่า Marina Barrage ปราการขนาดใหญ่ที่สามารถป้องกันพื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่าน้ำทะเลได้ และด้วยการออกแบบที่สวยงามของเขื่อนนี้ ทำให้มันได้รับการสนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของสิงคโปร์อีกต่างหาก นอกจากนี้ PUB ยังทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับตำรวจจราจร การขนส่งมวลชน กระทรวงสิ่งแวดล้อม และสถานีวิทยุ ในการจัดการและสื่อสารไปถึงประชาชนในยามที่เกิดอุทกภัยอีกด้วย ซึ่งเมื่อไหร่ที่น้ำถึงจุดที่น่ากังวล ระบบการระบายน้ำและระบบการเตือนภัยจะทำงานอัตโนมัติ ซึ่งจะมีหน่วยงานที่เฝ้าระวังระดับน้ำอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การรับมือกับน้ำท่วมเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีระบบแจ้งเตือนภัยทาง SMS ที่จะส่งคำเตือนไปถึงประชาชนผู้รับข่าวสารในทันทีที่ระดับนำ้ถึงจุดที่ตั้งค่าไว้ โดยมีเซ็นเซอร์อัจฉริยะคอยวัดระดับน้ำทุกๆ 2 นาที ซึ่งถือเป็นระบบเรียลไทม์ที่จะทำให้ประชาชนสามารถรับมือและป้องกันน้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)