กับดักฟ้าผ่า ( Lightning Arresters )
โดย : Admin

 

กับดักฟ้าผ่า ( Lightning Arresters : LA )

 

Lightning Arrester is ......" A Device Used on Power Systems  above 1000V to Protect other  Equipment from  Lightning andSwitching Surges" 

 

กรณีที่ไม่ได้ติดตั้งกับดักไฟฟ้า เมื่อเกิดฟ้าผ่าจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นหม้อแปลเกิดการเสียหายได้



หากระบบมีการติดตั้งกับดักไฟฟ้า เมื่อเกิดฟ้าผ่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ในวงจรด้านหลังจะปลอดภัย
 

 

 

กับดักฟ้าผ่าคืออะไร?

   กับดักฟ้าผ่าคือบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลาง ( Medium Voltage ) หรือ 1000 โวลท์ขึ้นไป เพื่อทำหน้าที่ป้องกันแรงดันเกิน ( Overvoltage ) ซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่า ( Lightning )  หรือการปิด-เปิดวงจรของอุปกรณ์ (Switching Surge ) 


การทำงานของ LA

  โดยทั่วไปในขณะแรงดันปกติ ตัว LA จะมีอิมพีแดนซ์สูงมาก และมีกระแสรั่วไหล ( Leakage Current ) น้อยมาก  แต่เมื่อเกิดแรงดันเกิน อิมพีแดนซ์ของ LA จะมีค่าต่ำและช่วยให้กระแสที่เกิดจากฟ้าผ่า( Lightning Current ) ไหลลงดินได้อย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์ต่างที่ต่ออยู่หลัง  LA  จะไม่ได้รับอันตรายและปลอดภัยจากแรงดันเกิน

 


 

 





วิดีโอตัวอย่างการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยจากฟ้าผ่าที่บริเวณสระน้ำที่สิงคโปร์
เมื่อมีสัญญาณฟ้าเกินจากระดับที่กำหนดระบบจะแจ้งเตือนและสั่งให้สมาชิกหยุดใช้สระน้ำ

 

 

 

LA ที่มีใช้อยู่อาจแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. Spark Gap Arrester :     LA นี้จะประกอบด้วยตัวต้านทานที่ขึ้นกับแรงดันแบบไม่เป็นเชิงเส้น ( Varistor ) ต่ออนุกรมกับ Spark Gap โดยปกติแล้ว Varistor มักทำจากสารซิลิคอนคาร์ไบด์ ( SiC ) LA เรียกว่า SiC-Arrester แต่เนื่องจาก LA แบบนี้เป็นแบบเก่าจึงนิยมใช้น้อยลง


2. Arrester Without Spark Gap :   LA แบบนี้ประกอบด้วยชั้นของตัวต้านทานโลหะออกไซด์ที่มีลักษณะขึ้นกับแรงดันแบบ ไม่เป็นเชิงเส้นอย่างมาก ( Strongly Non-linear Voltagedependent)   วัสดุโลหะออกไซด์ที่ใช้โดยทั่วไปคือออกไซด์ของสังกะสี ( Zinc
Oxide ; ZnO ) LA แบบนี้จึงนิยมเรียกว่า MO-Arrester หรือ ZnO Arrester  โดย LA แบบนี้เป็นแบบใหม่ และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น

 

การเลือกใช้งานโดยทั่วไปจะพิจารณาองค์ประกอบหลักดังนี้

1. ระดับแรงดันและลักษณะการต่อลงดิน
2. พิกัดกระแส Discharge


สำหรับระบบไฟฟ้าในประเทศไทยการต่อลงดินโดยตรง ( SolidlyGround ) เลือกพิกัดดังข้อมูลด้านล่าง
- แรงดันระบบ 11-12 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 9 kV
- แรงดันระบบ 22-24 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 21 kV
- แรงดันระบบ 33 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 30 kV
- แรงดันระบบ 69 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 60 kV

 พิกัดกระแส Discharge ของ LA ทั่วไปมี 2 แบบ คือ
1. LA ที่ใช้กับระบบจำหน่ายทั่วไป ( Distribution Type ) ใช้พิกัด 5 kA
2. LA ที่ใช้กับสถานีไฟฟ้าย่อย ( Substation Type ) ใช้พิกัด10 kA

 

 

นอกเหนือจากกับดักไฟฟ้าแล้วยังมีอุปกรณ์อะไรที่ทำหน้าที่คล้ายๆกันบ้างใหม?

     ในระบบไฟฟ้ากำลังยังมีอุปกรณ์อีกสองชนิดที่ทำหน้าที่คล้ายกันคือ

 

   1)  Surge Suppressor :   อุปกรณ์นี้โดยทั่วไปจะใช้ในระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ หรือต่ำกว่า 1000 โวลต์

   2)  TVSS  (Transient Voltage Surge Suppressor) :  อุปกรณ์นี้ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกันและใช้ในระบบที่มีแรงดันต่ำกว่า 1000 โวลต์ A

 

 
 


Surge Suppressor
ที่ใช้ทั่วไปในวงจรอิเลคทรอนิกส์

 

  
Surge Suppressor
ที่ใช้ทั่วไปในวงจรไฟฟ้ากำลัง  

    
TVSS  ที่นิยมใช้ในวงจรควบคุม
เช่นวงจร power supply สำหรับ PLC


 

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)