การประยุกต์ใช้หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส (ทัชสกรีน) สำหรับระบบควบอัตโนมัติ
โดย : Admin

ปัจจุบันระบบควบคุมการผลิตแบบอัตโนมัติได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการผลิตอย่างแพร่หลาย

ทั้งในโรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ไปจนถึงโรงงานขนาดเล็ก หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส (ทัชสกรีน) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าเครื่องแต่ละเครื่องมักจะมีหน้าจอแสดงผลดังกล่าวติดมาด้วยเสมอ ทั้งหน้าจอขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก เป็นหน้าจอขาว-ดำ หรือหน้าจอสีบ้างแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งาน

 

หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส “MONITOUCH V8” เป็นอีกหนึ่งสายผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิ์ภาพการทำงานสูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไปอาจกล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้

1) Graphic User Interface เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลเชิงรูปภาพเป็นการง่ายแก่การเข้าใจของผู้ใช้งาน ทั้งนี้มักประกอบไปด้วย 2 วัตถุประสงค์คือ Monitoring และ/หรือ Controlling
 

  • Monitoring : สามารถ ใช้ภาพสัญลักษณ์หรือภาพถ่ายของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์จริงเพื่อให้สามารถ เข้าใจได้ทันที เนื่องจากผู้ใช้งานมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว
  • Controlling : สามารถ ออกแบบให้รับคำสั่งผ่านหน้าจอแสดงผลโดยการสัมผัส ตามลำดับขั้นตอนการทำงาน เพื่อเป็นการสะดวกรวดเร็วทั้งยังช่วยป้องกันความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานได้

ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์

ตัวอย่างการใช้ภาพถ่ายหรือไฟล์รูปภาพ


2) Alarm เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนถึงสภาวะการทำงานที่ผิดปกติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาทำการแก้ไขให้กลับมาสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับแผนกซ่อมบำรุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบรายละเอียดของสัญญาณผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้เร็วที่สุด

ตัวอย่าง Alarm Function


3) Trend Sampling เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับเก็บและแสดงค่าของข้อมูลที่เราสนใจและต้องการบันทึกไว้ เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป

ตัวอย่าง Trend Sampling (Graph Display)

ตัวอย่าง Trend Sampling (Bar Graph Display)


4) Recipe เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการตั้งค่าหรือเปลี่ยนแปลงค่าของพารามิเตอร์ต่างๆ สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ ทำให้การเลือกสูตรผลิตภัณฑ์มีความสะดวกรวดเร็ว ทั้งยังช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆ ให้ลดลง

ตัวอย่าง Recipe


5) Security เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับจำกัดสิทธิ์ในการใช้งาน โดยเฉพาะการสั่งการคำสั่งสำคัญๆ หรือการตั่งค่าเครื่องจักร ซึ่งอนุญาตเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น


6) Macro (Functional) เป็นการเขียนฟังก์ชั่นบนทัชสกีน เพื่อให้โอเปอร์เรเตอร์ใช้งานเครื่องที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ทั้งยังรองรับการคำนวณต่างๆเช่น ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ (SIN, COS, TAN) เป็นต้น

ในการนำหน้าจอแสดงผลแบบสัมผัสมาประยุกต์ใช้งานนั้นสิ่งสำคัญที่ขาดเสียมิ ได้ก็คือการสื่อสาร ทั้งนี้เนื่องมาจากเครื่องจักรหรือสายการผลิตมักจะถูกควบคุมด้วย PLC หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ เช่น Temperature Controller, Inverter, Servo เป็นต้น โดยจะทำการเชื่อมต่อทางพอร์ทสื่อสารซึ่งอาจจะเป็นแบบ Serial (RS232/RS422/RS485) หรือแบบ Ethernet

ตัวอย่างการเชื่อมต่อทาง Serial Ports

ตัวอย่างการเชื่อมต่อทาง Ethernet Ports

มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วยโปรโตคอ ลหรือไดรเวอร์ ทั้งนี้จะต้องทำการตั้งค่าคุณสมบัติของการสื่อสารระหว่างทัชสกรีนกับ PLC หรืออุปกรณ์ควบคุมให้มีค่าตรงกันด้วย เช่น Baud Rate (Speed), Data Length, Stop Bit, Parity, เป็นต้น

ตัวอย่างการเลือก Protocol/Driver และการตั้งค่าคุณสมบัติการสื่อสาร


ในกรณีการสื่อสารแบบ Serial จะต้องทำสายให้ตรงตาม Diagram ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Protocol/Driver และชนิดของสายสื่อสาร RS232 หรือ RS422 หรือ RS485 โดยจะมีรูปแบบการเดินสายไม่เหมือนกัน

ตัวอย่างการทำสายสื่อสาร


เพียงเท่านี้ก็สามารถทำการออกแบบหน้าจอแสดงผล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบ และเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับระบบได้แล้วล่ะค่ะ


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::

แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)