กรณีศึกษาเรื่องมอเตอร์สั่นอย่างรุนแรง
โดย : Admin

เรืองเล่าจากหน้างาน
เขียนโดย: พี่เสือ  เว็บมาสเตอร์นายเอ็นจิเนียร์

 

 

       ต้นเดือนมีนาคม 2510 ที่ผ่านมา ผมได้ถูกส่งไปช่วยงานเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของเครื่องจักรเกิดอาการสั่นอย่างรุนแรงขณะใช้งาน(สั่นเป็นเจ้าเข้า) ที่แท่นเจาะไอน้ำที่ประเทศฟิลิปปินส์  (เจาะไอน้ำจากใต้ภูเขาไฟที่ดับแล้ว  เพื่อนำมาใช้ปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) 

 


       เครื่องจักรนี้ทำหน้าที่ควบคุมหัวเจาะให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ซึ่งคล้ายกับเครนยกตู้สินค้า โดยใช้เอซีมอเตอร์ขนาดใหญ่ (2 * 850Kw.) สองตัวเป็นตัวขับเคลือนแบบขนานบนแกนเพลาเดียวกัน (parallel shaft) ผ่านระบบเกียร์ทดรอบ และควบคุมความเร็วด้วยอินเวอร์ ( Multi drives- ABB ACS800 )


     จากข้อมูลที่ได้รับรายงานจากเซอร์วิซเอ็นจิเนียร์ที่ถูกส่งประจำไชต์งาน   ทำให้ฝ่ายเทคนิคคอล ซัพพอร์ตและซูเปอร์ไวเซอร์โดยตรงของผมตั้งข้อสงเกตุว่าสาเหตุของอาการสั่นแบบเจ้าเข้าที่ว่านี้น่าจะมาจากเอ็นโค๊ดเตอร์ หรือไม่ก็มาจากการตัวไดร์ฟ    จึงทำให้ผมได้ถูกคัดเลือกให้ไปเป็นตัวช่วยอีกครั้ง   ในฐานะที่เคยทำงานเป็นเซอร์วิซเอ็นจิเนียร์เกี่ยวกับไดร์ฟยี่ห้อนี้มาก่อน  ( เคยร่วมงานกับบริษัทดังกล่าวที่สิงคโปร์ ในระยะเวลาสั้นๆ)

 

 

     ปัญหาเกิดจากสัญญาณปัอนกลับจากเอ็นโค๊ดเดอร์ใช่หรือไม่

         จากอาการเบื้องต้นที่ได้พบก็น่าจะทำให้เข้าใจได้ว่าบัญหาดูเหมือนน่าจะมาจากเอ็นโค๊ดเตอร์   ผมจึงได้ทำการวัดสัญญาณป้อนกลับด้วย Scope meter ยี่ห้อ Fluke  ซึ่งก็ได้ปัญญาณป้อนกลับจากเอ็นโค๊ดเดอร์ดังนี้

 

 

     
      


     จากภาพจะเห็นว่าสัญญาณจากเอ็นโค๊ดเดอร์นั้นค่อนข้างจะดูดีที่เดียว  สัญาณเป็นรูป sqare wave  และมี phase shift ระหว่าง A และ B  เป็น 90 องศา รวมถึงระดับแรงดันก็อยู่ในระดับมาตรฐาน   

 


   ปัญหามันคืออะไร ทำไมมันสั่นรุนแรงขนาดนี้ ?        

          จากข้อมูลที่ได้จึงสรุปได้ว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้มาจากระบบไดร์ฟค่อนข้างแน่นอน   จึงได้ส่งมอบหน้าที่ส่งต่อไปให้แมคคานิคอลเอ็นจิเนียร์เป็นผู้ดำเนินการตรวจเช็คระบบแมคคานิคส์ ต่อไป  

         หลังจากได้ทำการตรวจเช็คกลไกทางแมคคานิคส์ ปรากฏว่าได้พบสาเหตุที่ทำให้การสั่นแบบรุนแรงดังนี้

          1)  ระบบเกียร์ทดขาดน้ำมันหล่อลื่น เนื่องจากวาล์วน้ำมันหล่อลื่นได้ถูกปิดไว้ ซึ่งก็รู้ว่าใครเป็นคนปิดหรือทำการปรับตั้งใหม่ เนื่องจากตอน commissioning  ได้ทำการปรับตั้งไว้เรียบร้อย และทำงานปกติดี
          2)  พบว่าการอลายเม้นท์ (alignment)  ระบบเกียร์ทดรอบไม่ดีไม่ดี  (เปอร์เซ็นต์หน้าสัมผัสของการขบกันระหว่างเฟืองขับและเฟืองตาม ค่อนข้างน้อย)

 

        สรุป
                การหล่อลื่นทางแมคคานิคส์นั้นถือเป็นการบำรุงรักษาขั้นพื้นฐานที่สำคัญ    จากที่ผ่านมามักพบว่าระบบที่ละเลยเรื่องพื้นฐานเหล่านี้มักจะทำให้เกิดการเสียหายค่อนบ้างบ่อย    ดังนั้นเมื่อหากเกิดปัญหาขออย่าได้อย่าลืมหันกลับไปดูวิธีการบำรุงขึ้นพื้นฐานก่อน  ก่อนที่จะก้าวไปวิเคราห์หาสาเหตุในลำดับถัดไป

 

             

 

 

  

 

 

                

 

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://www.9engineer.com/)