11/03/2546 07:54 น. |
ผมสงสัยว่า ทำไมมอเตอร์ 1 เฟส จึงต้องใช้คาปาซิเตอร์ <br>ไม่ใช้ได้หรือไม่ คาปาซิเตอร์ มีประโยชน์อย่างไร <br>การเลือกค่าคาปาซิเตอร์ที่เหมาะสม พิจารณาอย่างไร<br><br> |
19/03/2550 10:31 น. |
ผมก็หาไม่เจอ |
18/07/2550 16:11 น. |
ช่วยหาเว็บ วง จรการต่อ มอเตอร์แบบสามเฟสและแบบ1เฟสให้หน่อยคับ อยากต่อวงจรมอเตอร์เป็นครับขอบคุณครับใจดีจังเลบ<br>ช่วยตอบไปหาเมล์ผมด้วยนะครับ<br>ที่ <a href="mailto:preecha181@hotmail.com" Target="_BLANK">preecha181@hotmail.com</a> |
16/08/2550 13:19 น. |
มอเตอร์เฟสเดียวส่วนมากเป็นขนาดเล็ก (กำลัง) มันเริ่มหมุนด้วยตัวเองไม่ได้ จึงต้องมีคาปา ที่จริงแล้วมีอีกหลายชนิดวิธี |
20/08/2550 20:14 น. |
จากที่รู้มา มันช่วยลดกระแสตอนที่เริ่มสตาทเพราะตอนเริ่มเครืองจะมีแรงบิดมากจึงลดกระแสลงเพื่อป้องกันวงจรควบคุมให้สามารถทนกำลังตอนเริ่มเดินเครื่อง |
27/08/2550 11:08 น. |
คุณ all motor ครับ ผมอยากได้รายละเอียดที่คุณแจ้งน่ะครับ พอดีผมทำโปรเจคอยู่น่ะครับ เป็น อินเวอร์เตอร์สามเฟส จะนำมาขับ capacitor motor น่ะครับ อย่างไร ก็เมลลมาก็ได้นะครับ <a href="mailto:anek44@hotmail.com" Target="_BLANK">anek44@hotmail.com</a> |
04/01/2551 15:17 น. |
มอเตอร์ 1hp เท่ากันแต่ทําไหมcap.ของไม่เท่ากัน |
04/04/2551 14:38 น. |
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับคาปาซิสเตอร์มอเตอร์(Capacitor motor) <br> คาปาซิสเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มาก<br>ต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมาทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์<br>คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่1/20 แรงม้าถึง10 แรงม้ามอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มนํ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ ตู้เย็น ฯลฯ<br><br> ส่วนประกอบของคาปาซิสเตอร์มอเตอร์<br>โครงสร้างของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เหมือนกับแบบสปลิทเฟส<br>เกือบทุกอย่าง คือ <br> 1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก<br> 2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน<br> 3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง ( Bush )<br>หรือตลับลูกปืน ( Ball bearing )สำหรับรองรับเพลา<br> 4. คาพาซิสเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser) <br><br> 1. โรเตอร์์เป็นแบบกรงกระรอก <br><br> 2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน <br><br> <br> 3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง( Bush )<br>หรือตลับลูกปืน( Ball bearing ) สำหรับรองรับเพลา <br><br> 4. คาปาซิสเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser)<br> ที่ใช้กับมอเตอร์แบบเฟสเดียวมี 3 ชนิดคือ<br>1. แบบกระดาษหรือPaper capasitor<br>2. แบบเติมนํ้ามันหรือ Oil -filled capasitor<br>3. แบบนํ้ายาไฟฟ้าหรือElectrolytic capasitor <br> <br><br>ชนิดของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ <br><br> คาปาซิเตอร์มอเตอร์แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ<br><br> 1.คาปาซิสเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )<br> 2..คาปาซิสเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor )<br> 3.คาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor ) <br><br>หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ <br><br> ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ท<br>พันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส และพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัว<br>คาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีูุนย์กลาง<br>ตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร <br><br>1.คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )<br> <br> การทำงานของคาพาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ เหมือนกับแบบสปลิทเฟสมอเตอร์แต่เนื่องด้วยขดลวด<br>ชุดสตาร์ทต่ออนุกรมกับคาปาซิเตอร์ ทำให้กระแสที่ไหลเข้าในขดลวดสตาร์ทถึงจุดสูงสุด<br>ก่อนขดลวดชุดรันจึงทำให้กระแสในขดลวดสตาร์ทนำหน้าขดลวดชุดรันซึ่งนำหน้ามากกว่า<br>แบบสปิทเฟสมอเตอร์ คาปาซิสเตอร์มอเตอร์จึงมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงมากสำหรับมอเตอร์<br>์ชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์หลังจากสตาร์ทแล้วมอเตอร์หมุนดด้วยความเร็วรอบถึง 75เปอร์เซ็นต์ของความเร็วสูงสุดสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีจากศูนย์กลาง คาปาซิเตอร์จะถูกตัดจากวงจร<br>ดังแสดงรูปวงจรการทำงาน <br><br> <br>รูปที่3.1 แสดงการทำงานวงจรคาปาซิสเตอร์สตาร์ทมอเตอร์(คลิกดูขขนาดใหญ่) <br><br> 2.คาปาซิสเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor ) <br> ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาพาซิสเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ท <br>แต่ไม่มี สวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิสเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลา ทำให้ค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น และโดยที่คาปาซิสเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะทำงานดังนั้นคาปาซิเตอร์ประเภทน้ำมัน<br>หรือกระดาษฉาบโลหะ<br> แต่สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิสเตอร์รัน คาปาซิเตอร์จะต่ออยู่นวงจรตลอดและเนื่องจากขดลวดชุด<br>สตาร์ทใช้งานตลอดเวลา การออกแบบจึงต้องให้กระแสผ่านขดลวดน้อยกว่าแบบคาปาซิสเตอร์สตาร์ท <br>โดยการลดค่าของคาพาซิสเตอร์ลง ดังนั้นแรงบิดจึงลดลงกว่าแบบคาพาซิสเตอร์สตาร์ทแต่ยังสูงกว่า<br>แบบสปลิทเฟสมอเตอร์<br><br> <br>รูปที่3.3 แสดงวงจรการทำงานคาปาซิสเตอร์รันมอเตอร ์(คลิดดูขนาดใหญ่) <br><br>3.คาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor ) ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์2ตัว<br>คือคาปาซิสเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิสเตอร์รัน คาปาซิสเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยง<br>หนีศูนย์กลางหรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ ส่วนคาปาซิสเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา <br>คาปาซิสเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้ง สองนั้มีค่าแตกต่างกัน<br> มอเตอร์แบบคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรัน ได้มีการออกแบบมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงขึ้นโดย<br>คาพาซิสเตอร์รันต่อขนานกับคาปาซิสเตอร์สตาร์ทเมื่อมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนไปได้ความเร็วรอบ 75เปอร์เซ็นต์ของความเร็วรอบสูงสุดส่วนคาปาซิสเตอร์รันต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลา<br>จึงทำให้มอเตอร์ที่มีกำลังสตาร์ทสูงและกำลังหมุนดีด้วยดังแสดงรูปวงจรการทำงาน<br><br> <br>รูปที่3.4 แสดงวงจรการทำงานคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและคาปาซิสเตอร์รัน (คลิกดูขนาดใหญ่) <br><br>TOP <br><br>การกลับทางหมุน <br><br> การกลับทางหมุนการกลับทางหมุนของคาปาซิสเตอร์มอเตอร์คือ กลับขดลวดขดใดขดหนึ่ง<br>ขดสตาร์ทหรือขดรันเช่นเดีวยกันกับสปลิทเฟสมอเตอร์ <br><br> <br>รูปที่3.5 แสดงการกลับทางหมุนของคาปาซิสเตอร์มอเตอร์ <br> |
04/04/2551 14:48 น. |
1. การลดแรงดันขณะสตาร์ทแบบสตาร์เดลต้า <br><br>การสตาร์ทมอเตอร์ 3 เฟสที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 5 กิโลวัตต์นั้นไม่สามารถใช้วิธีการสตาร์ตรงได้<br>(Direc Staart) ได้ เนื่องจากกระแสสตาร์ทสูงมาก(ปกติค่ากระแสสตาร์ทสูงประมาณ 5 - 7 เท่า<br>ของค่ากระแสตามปกติของค่ากระแสตามปกติ ของค่าพิกัดมอเตอร์)จึงต้องการอาศัยเทคนิค<br>การสตาร์ทมอเตอร์ ที่สามารถลดกระแสขณะสตาร์ทมอเตอร์ได้มิฉะนั้นแล้วการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดใหญ่<br>จะทำให้เกิดผลเสียแก่ ระบบไฟฟ้าหลายประการเช่น<br> 1.ทำให้เกิดไฟแสงสว่างวูบหรือกระพริบ<br> 2.ทำให้อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าตกทำงาน<br> 3.อาจเกิดโอเวอร์โหลดแก่ระบบจ่ายไฟเข้าโรงงาน เช่นหม้อแปลงไฟฟ้า<br> 4.อาจทำให้ฟิวส์แรงสูงที่ระบบจ่ายไฟฟ้าขาด<br> 5.กระทบต่อการทำงานของมอเตอร์ตัวอื่นๆในโรงานที่ทำงานในสภาวะโอเวอร์โหลด<br>อาจดับหรือหยุดทำงานได้เพราะไฟตก<br>ดังนั้นมอเตอร์ที่มีขนาดสูงกว่า 5 กิโลวัตต์ต้องใช้เทคนิคการสตาร์ทมอเตอร์แบบลดกระแสซึ่งมีอยู่ 3 วิธี<br> 1.การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า<br> 2.การสตาร์ทแบบลดกระแสแบบตัวต้านทาน <br> 3.การสตาร์ทโดยใช้หม้อแปลงลดแรงดัน<br>ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้าเท่านั้น<br> การสตาร์-เดลต้าหมายถึง ขณะสตาร์ทมอเตอร์เป็นแบบสตาร์และเมื่อมอเตอ์ืหมุนไปด้วยความเร็ว 75%ของความเร็วพิกัด มอเตอร์จะต้องหมุนแบบเดลต้า <br> <br> การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า สามารถทำได ้2 วิธี<br> 1.ใช้สตาร์-เดลต้าสวิตช์<br> 2. ใช้คอนแทคเตอร์<br><br> 2. การะสตาร์ทแบบสตาร์เดลต้า <br> <br><br>สตาร์-เดลต้า-สวิตช์เป็นสวิตช์ลักษณะของดรัม หรือ โรตารี่ แคมสวิตช์ คล้ายกับสวิตช์กลับทางหมุน<br>มอเตอร์แต่โครงสร้างต่อภายใน เปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมกับหลักการสตาร์ทแบบนี้ รูปของโรตารี่ <br>แคมสวิตช์ทำหน้าที่เป็น สตาร์-เดลต้า <br><br>อุุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม<br><br> 1.สวิตช์ปุ่มกดสีแดงปกติปิด 1 ตัว = S1<br>(Push Button switch N.C. ) <br><br> 2.สวิตช์ปุ่มกดสีเขียวปกตเิปิด 1 ตัว =S2<br>(Push Button switch N.O. ) <br><br><br> 4.คาร์ทริคฟิวส์ วงจรกำลัง 3 ตัว = F1 <br>(Power Fuse) <br><br> 5.คาร์ทริคฟิวส์วงจรควบคุม1 ตัว = F2 <br>(Controlr Fuse) <br><br> 6.โอเวอร์โหลดรีเลย์ 3 เพส2 ตัว=F3<br>(Thermal Over Load Relay 3 Phase ) <br><br> 7. แมคเนติคคอนแทคเตอร์2N.O. 2N.C. 3 ตัว= K1,K2,K3<br>(Magnetic contactor 3 phase ,2N.O. 2N.C. ) <br><br><br> 9.มอเตอร์ 3 เฟส=M1 ( 3 Phase Induction Motor) <br><br> ความหมายสัญญลักษณ์อักษรกำกับวงจร <br><br><br>สัญญลักษณ์ ความหมาย <br>S1 สวิตช์ปุ่มกดหยุดเดินมอเตอร์ (Push Button Stop) <br>S2 สวิตช์ปุ่มกดเดินมอเตอร์(Push Button Start) <br>F1 ฟิวส์ป้องกันวงจรกำลัง (Power Fuse) <br>F2 ฟิวส์ป้องกันวงจรควบคุม (Control Fuse) <br>F3 สว่นป้องกันมอเตอร์ทำงานเกินกำลัง (Overload Relay) <br>K1 แมคเนติคคอนแทคเตอร์ต่อไฟเข้ามอเตอร์ (Line Contactor) <br>K2 แมคเนติคคอนแทคเตอร์ต่อขดลวดมอเตอร์แบบสตาร์ (Star Contactor) <br>K3 แมคเนติคคอนแทคเตอร์ต่อขดลวดมอเตอร์แบบเดลต้า (Delta Contactor) <br>K4T รีเลย์หน่วงเวลา (Timer Delay Relay) <br>M1 มอเตอร์3เฟส ( 3 Phase Induction Motor) <br><br> 3.วงจรและหลักการทำงานของการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า<br><br> วงจรกำลัง(Power Circuit)<br><br>วงจรกำลังของการสตาร์ทมอเตอร์ <br> แบบสตาร์- เดลต้านั้นการสตาร์ท<br>จะต้องเรียงกัน ไปจากสตาร์ไปเดลต้า <br>และคอนแทคเตอร์สตาร์ <br> กับคอนแทคเตอร์เดลต้าจ ะต้องมี Interlock<br> ซึ่งกนและกัน การควบคุมมี 2 อย่างคือ <br> เปลี่ยนจากสตาร์ไปเดลต้าโดยการกด <br> Pushbutton <br> กับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติด้วยการใช้<br> รีเลย์ตั้งเวลาการควบคุมแบบอัตโนมัติมี 2 วิธี<br> 1. ต่อจุดสตาร์ด้วย K2 ก่อนจ่ายไฟเข้า K1<br> 2. จ่ายไฟด้วย K1 ก่อนต่อจุดสสตาร์ด้วย K2 <br> <br><br> วงจรควบคุม( Control Circuit)<br><br>วงจรควบคุมสตาร์ทมอเตอร์สตาร์-เดลต้าแบบ<br>อัตโนมัติโดยใช้รีเลย์ตั้ง<br><br>ลำลับขั้นตอนการทำงาน<br> 1. กด S2ทำให้คอนแทคK2ทำงานต่อแบบ<br>สตาร์และรีเลย์ตั้งเวลาK4T ทำงานคอนแทค<br>ปิด ของK2ในแถวที่ 4ตัดวงจรK3 และคอนแทค<br>ปกติปิดในแถวที่ 2 ต่อวงจรให้เมนคอนแทค K1<br> 2.หลังจากที่K1ทำงานและปล่อยS2 ไปแล้ว<br>หน้าสัมปกติเปิด(N.O.)ของK1ในแถวที่ 3ต่อวงจร<br>ให้คอนแทคเตอร์ K2และตัวตั้งเวลา K4Tจะทำงาน<br>ตลอดเวลาขณะนี้มอเตอร์หมุนแบบสตาร์(Star) <br> 3. รีเลย์ตั้งเวลาK4Tทำงานหลังจากเวลาที่ตั้งไว้<br>คอนแทคเตอร์K2จะถูกตัดออกจากวงจรด้วย<br>หน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)ของ รีเลย์ตั้งเวลาK4T<br>ในแถวที่1และหน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)ของK2<br>ในแถวที่4 กลับสู่สภาวะเดิมต่อวงจรให้กัน<br>คอนแทคเตอร์K3ทำงาน และหน้าสัมผัสปกติปิด(N.C.)<br>ของ K3 ในแถวที่ 1 จะตัดคอนแทคเตอร์ K2<br>และรีเลย์ตั้งเวลาK4T ออกจากวงจร จะคงเหลือคอนแทคเตอร์K1และK3<br>ทำงานร่วมกันมอเตอร์หมุนแบบ เดลต้า(Delta)<br> 4.เมื่อต้องการหยุดการทำงานของมอเตอร์<br>ให้กดสวิตช์ S1(Stop)<br><br><br><br> <br> <br><br>หมายเหตุ<br><br> 1. ในขณะที่มอเตอร์สตาร์ทแบบสตาร์คอนแทคเตอร์ K1 กับK2 จะทำงาน <br> 2. เมื่อรีเลย์ตั้งเวลาได้เวลาที่ตั้งไว้มอเตอร์จะรันแบบเดลตต้าคอนแทคเตอร์K1กับ K3 ทำงาน<br> 3. คอนแทคเตอร์ K1กับ K2 จะทำงานพร้อมกันไม่ได้เพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจร<br><br> |
15/06/2551 12:25 น. |
หาไม่เจอ |
24/06/2551 17:02 น. |
ดูดี |
14/09/2551 15:17 น. |
ดีมากกกกกกกก<br><br> |
16/10/2551 10:21 น. |
อาราย<br> |
31/10/2551 18:48 น. |
วงจรควบคุมของมอเตอร์ 3 เฟส ที่สตาร์ทแบบสตาร์และเดลต้าอัตโนมัติ |
09/01/2552 11:52 น. |
ขอวิธีตรวจสอบมอเตร์ของพัดลมเพดานหน่อย |
28/01/2552 12:09 น. |
อยากทรบว่าทำไมเวลาสตาทมอเตอร์5แรงไปซักพักแล้วฟิวส์ขาดเปนเพราะสาเหตูอะไรครับ |