เขียนคำถามที่นี่เลยครับ


หัวข้อ/Topic*
ผู้ถาม/Name*
Email*

 

คำถาม/Question*


     ทำไมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต้องคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าด้วย
          คิดเฉพาะค่าพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวได้หรือไม่
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 


                       จริง ๆ แล้วอัตราค่าไฟฟ้ารัฐบาลโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.)
                 เป็นผู้กำหนด     โดยกำหนดตามหลักเกณฑ์สากล   คือ ค่าไฟฟ้า ต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ค่าไฟฟ้า
                 ส่วนหนึ่งสะท้อนต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า  , สายส่งแรงสูงสถานีไฟฟ้า     และระบบจำหน่ายซึ่งต้อง
                 ออกแบบก่อสร้างให้มีขนาดเพียงพอ    เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชน    ค่าไฟฟ้า
                 ส่วนนี้เรียกว่าความต้องการพลังไฟฟ้า                 ซึ่งคิดจากกิโลวัตต์สูงสุดในการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟ                  โดยขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เปิดใช้งานร่วมกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที
                 ค่าไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งสะท้อนต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีค่าเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส, น้ำมัน, ถ่านหิน
                 เป็นต้นทุนหลักเรียกว่าค่าพลังงานไฟฟ้า ซึ่งคิดจากจำนวนหน่วยที่ใช้      หรือจำนวนกิโลวัตต์ - ชั่วโมง
                 ในแต่ละเดือน    โดยขึ้นกับชั่วโมงการใช้งานของเครื่องจักร  และอุปกรณ์ไฟฟ้า    เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
                 ขอเปรียบเทียบกับกรณีเช่ารถยนต์       ซึ่งผู้เช่าต้องเสียค่าเช่าเป็นรายวันหรือเป็นเดือนให้แก่เจ้าของ
                 และเสียค่าน้ำมันเอง   โดยอัตราค่าเช่าขึ้นอยู่กับประเภท        และขนาดของรถยนต์ซึ่งคล้ายกับค่าความ
                 ต้องการพลังไฟฟ้า ส่วนค่าน้ำมันก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่ามากน้อยแค่ไหนซึ่งคล้ายกับค่าพลังงานไฟฟ้านั่นเอง


     เครื่องดับเพลิงที่สามารถฉีดดับเพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า
           เป็นประเภทใด
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
      ใช้เครื่องดับเพลิงฉีดดับเพลิงนั้นต้องรู้ลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ก่อนซึ่งโดยทั่วไปเพลิง
           แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. เพลิงประเภท A คือ เพลิงที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทั่วไป เช่น กระดาษ ไม้
2. เพลิงประเภท B คือ เพลิงที่เกิดจากไอระเหยของสารเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน, ก๊าซ
3. เพลิงประเภท C คือ เพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า
4. เพลิงประเภท D คือ เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงประเภทโลหะติดไฟ เช่น แมกนีเซียม

 ดังนั้น การดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าต้องพยายามตัดวงจรไฟฟ้าก่อนเพื่อลดอันตรายลงหรือ
ใช้เครื่องดับเพลิงต้องใช้เครื่องดับเพลิงประเภท C ที่ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น ฮาลอน,
คาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงเคมีแห้ง ไม่ควรใช้น้ำฉีดดับเพลิงประเภทนี้เพราะอาจเกิดอันตรายได้


     ช่วยอธิบายหลักการทำงานของ เครื่องตัดไฟรั่ว ว่าทำงานได้อย่างไร  จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
     เครื่องตัดไฟรั่วมีหลายแบบ และมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกันแต่ก็จะมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน       เครื่องตัดไฟรั่ว
อาจมีชื่อเรียกต่างกันเช่น  เครื่องตัดไฟเมื่อมีกระแสรั่วลงดิน , Earth Leakage Circuit Breaker   (ELCB), Ground  Fault
Circuit Interrupter (GFCI) และ Residual Current Device (RCD)




รูปแสดงการทำงานของเครื่องตัดไฟรั่ว

                             เครื่องตัดไฟรั่ว   จะทำงานโดยอาศัยหลักการกระแสไหลเข้ากับกระแสไหลออกต้องมีค่าเท่ากัน
                    ซึ่งเป็นสภาพการใช้งานปกติ (กระแสไฟในเส้น L และ N มีค่าเท่ากัน)  ในสภาพเช่นนี้สนามแม่เหล็ก
                    ในแกนเหล็กจะมีค่าเป็นศูนย์   ซึ่งจะไม่มีสัญญาณในวงจรขยาย  เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน  หรือ
                    ไฟดูด คนกระแสส่วนหนึ่งจะไหลผ่านคนและกลับไปทางพื้นดินหรือสายดินแล้วแต่กรณี     เป็นผลให้
                    กระแสที่ไหลผ่านเครื่องตัดไฟรั่วทั้ง 2 เส้น มีค่าไม่เท่ากัน        จะทำให้มีสนามแม่เหล็กในแกนเหล็ก
                    วงจรขยายจะจับสัญญาณได้         และจะขยายสัญญาณให้สูงพอที่จะทำให้ทริปคอยล์มีแรงดูดให้เครื่อง
                    ปลดวงจรทำการปลดวงจรได้     เครื่องตัดไฟรั่วก็จะทำงานปลดวงจรทันที      ค่ากระแสที่เครื่องตัดไฟ
                    รั่วทำงานนี้สามารถปรับตั้งได้    ปกติจะอยู่ที่ค่าประมาณ 5 ถึง 30 มิลลิแอมแปร์      ข้อสำคัญในการใช้
                    งานเครื่องตัดไฟรั่ว ต้องติดตั้งให้ถูกต้องด้วย     เพราะอาจอาจจะมีผลเสียมากกว่าไม่ติดตั้งเสียเลยอีก
                     เนื่องจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง เครื่องจะไม่ทำงานปลดวงจรเมื่อมีไฟดูดคน         แต่คนที่ติดตั้งคิดว่า
                     เครื่องยังทำงานได้ตามปกติทำให้ความระมัดระวังลดลง



รูป 1 แสดงการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในวงจรที่ถูกวิธี



รูป 2 แสดงการติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วในวงจรที่ผิดวิธี

                         การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วที่ผิดวิธีตามรูปที่ 2 จะเห็นว่าเมื่อมีไฟรั่วหรือดูดคน เครื่องตัดไฟรั่วจะวัดไม่ได้
                      เพราะกระแสที่ไหลเข้าและไหลออกที่เครื่องตัดไฟรั่วมีค่าเท่ากัน อาจเกิดอันตรายได้
      สายไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มสามารถจับต้องได้โดยปลอดภัยหรือไม่
           อย่างไร
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
  เมื่อจะจับต้องสายไฟฟ้าต้องระลึกอยู่เสมอว่าสายไฟฟ้านั้นยังคงมีไฟฟ้าอยู่ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
สำหรับสายไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มนั้นอาจแยกได้ดังนี้

1. ในระบบไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้กันตามบ้านหรือใช้กันโดยทั่วไปเราสามารถจับต้องสายไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มได้
โดยตรงแต่ก็ควรตรวจดูว่าฉนวนสายไฟฟ้านั้นไม่มีจุดที่แตกร้าว หรือถูกของมีคมบาด โดยเฉพาะสายไฟฟ้า
ที่เดินหรือใช้นอกบ้านซึ่งตากแดด ตากฝนฉนวนอาจชำรุด ก็ไม่ควรจับต้องโดยตรง   ให้ใช้วัสดุที่เป็นฉนวน
ห่อหุ้มก่อนการจับต้อง

2. ในระบบไฟฟ้าแรงสูงซึ่งอยู่ภายนอกอาคาร เช่น ตามถนน หรือบางบริเวณในโรงงานหากพบเห็นสายไฟฟ้า
แม้ว่าจะมีฉนวนหุ้มก็ห้ามจับต้องโดยตรง เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้     เนื่องจากสายส่วนใหญ่ฉนวนที่
ห่อหุ้มไม่ใช่ฉนวนแบบเต็มพิกัดจึงอาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมาดูดได้ซึ่งสายพวกนี้เวลาเดินสาย หรือพาดสาย
ต้องติดตั้งอยู่บนฉนวนเช่น ลูกถ้วย, แร็ค, หรือสเปเซอร์ ไม่สามารถพาด    หรือเกาะไปกับสิ่งก่อสร้างโดยตรง
แต่ถ้าเป็นสายที่มีฉนวนหุ้มเต็มพิกัด (Full Insulated Cable)     ซึ่งสายพวกนี้นอกจากจะมีฉนวนที่ดีแล้ว
ที่ใต้เปลือกจะมีแผ่นโลหะหรือตาข่ายที่เรียกว่า Shield ต่อลงดินเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้ารั่วออกมาได้
จึงสามารถจับต้องได้โดยตรง สรุปว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงแล้วไม่ควรจับต้องโดยตรง    เพราะยากที่จะแยก
แยะว่าสายใดจับได้ หรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความชำนาญโดยตรง

      ทำไมกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงมักเกิดไฟกระพริบ,
           ไฟตก, ไฟดับบ่อยเกิดจากสาเหตุอะไร และจะมีวิธีการแก้ไขป้องกัน
           อย่างไร
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   ไฟกระพริบ หมายถึง การเกิดขัดข้องในระบบผลิต, ระบบสายส่ง หรือระบบจำหน่าย มีผลทำให้ไฟฟ้าในระบบดับเป็นเวลาไม่เกิน 1 นาที

       ไฟดับ หมายถึง การขอดับไฟเพื่อทำงาน หรือเกิดการขัดข้องในระบบผลิต, ระบบสายส่ง หรือระบบจำหน่าย มีผลทำให้ไฟฟ้าในระบบดับเป็นเวลานานกว่า 1 นาที ขึ้นไป

        เนื่องจากระบบจำหน่ายแรงสูงของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคส่วนใหญ่เป็นสายเปลือยพาดบนเสาไฟฟ้า   โดยมี
ลูกถ้วยปอร์ซเลน เป็นฉนวน จึงมีโอกาสเกิดปัญหาการลัดวงจรได้ง่าย โดยมีสาเหตุจากต้นไม้, คน, สัตว์, มลภาวะ และภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ลมพายุ    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรให้สั่งเปิดวงจร แล้วสั่งปิดกลับวงจรคืนเพื่อจ่ายไฟฟ้าตามปกติโดยอัตโนมัติ ได้ 1 ถึง 3  ครั้ง   ภายในช่วงเวลา 0.3  ถึง 30  วินาที เพื่อป้องกันรักษาระบบจำหน่ายให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตามปกติ     ในกรณีที่เกิดการลัดวงจรแบบชั่วคราวทำให้
เกิดไฟกระพริบ  และจะไม่สั่งปิดวงจรเข้าไปอีกเมื่อครบจำนวนครั้งที่ตั้งไว้     ถ้าเป็นการลัดวงจรแบบถาวรทำให้
ไฟดับ

       วิธีการแก้ไขป้องกันไฟดับ, ไฟกระพริบ สามารถทำได้โดยการพาดสายไฟฟ้าด้วยสายหุ้มฉนวน เช่น     สาย
เคเบิลอากาศ, สายเคเบิลใต้ดิน หรือใช้ลูกถ้วยซึ่งมีมาตรฐานฉนวนทนระดับแรงดันไฟฟ้าได้สูงกว่าระดับแรงดัน
ปกติ ติดตั้งสาย Overhead Ground Wire (OHGW) เพื่อป้องกันฟ้าผ่า และหมั่นตรวจสอบบำรุงรักษาสายส่ง     สาย
จำหน่าย และอุปกรณ์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ      ทั้งนี้ปัญหาไฟฟ้าดับอาจเกิดจากแหล่งผลิตระบบส่งของการไฟฟ้า
ฝ่ายผลิต และจากอุปกรณ์ภายในของผู้ใช้ไฟด้วย

       ปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก โดยปกติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะมี
การเปลี่ยนแปลงไม่เกิน + 5% ในระบบแรงดัน 22, 33, 69 และ 115 กิโลโวลท์   โดยหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่สถานี
ไฟฟ้า สามารถปรับแรงดันไฟฟ้าด้านจ่ายออกให้คง ที่โดยอัตโนมัติภายในเวลาที่ตั้งไว้ สำหรับแรงดันไฟฟ้าตกใน
ระบบแรงดัน 22, 33 เควี อาจสืบเนื่องมาจากผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ห่างจากสถานีฯ เป็นระยะทางไกล และมีผู้ใช้ไฟจำนวน
มากทำให้เกิด Voltage Drop ระหว่างทาง แต่โดยปกติแล้วการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะติดตั้ง AVR   เพื่อเพิ่มแรงดัน
ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคือ + 5%

       ปัญหาแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะ (Voltage Dip) เกิดจากในขณะที่เกิดการลัดวงจรในระบบจำหน่าย, สายส่ง เมื่อ
อุปกรณ์สั่งเปิดวงจรตัดระบบฯ ที่มีการลัดวงจรออกไป  ทำให้ระบบฯ วงจรข้างเคียงที่รับไฟจากสถานีไฟฟ้าเดียวกัน
หรือสถานีไฟฟ้าอื่น ๆ ได้รับผลกระทบทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะ (Voltage Dip) ซึ่งมีค่ามากน้อย ขึ้น อยู่กับ
ค่ากระแสลัดวงจรแล้วกลับคืนสู่ระดับปกติ เมื่ออุปกรณ์ป้องกันตัดระบบที่มีปัญหาออกไปแล้ว

 

      แรงดันไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟรายใดรายหนึ่งได้รับมีขนาดคงที่ตลอดวัน
           หรือไม่ เพราะเหตุใด
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
      ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายมาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีค่าไม่คงที่ตลอดวัน ช่วงที่มีคนใช้ไฟฟ้า
       ไม่มาก แรงดันไฟฟ้าตกในสายก็น้อยทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ( โดยเฉพาะที่อยู่ปลายทางของสายซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่
       ได้รับ ขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้าตกในสายที่ต้นทาง) ได้รับแรงดันไฟฟ้าสูง ช่วงที่มีคนใช้ไฟฟ้ามาก     แรงดัน
       ไฟฟ้าตกในสายก็มาก    ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับแรงดันไฟฟ้าต่ำในบ้านของท่านอาจมีแรงดันไฟฟ้าไม่เท่ากัน
       ตลอดทั้งวัน ช่วงดึกมาก ๆ ที่ชาวบ้านนอนกันหมด       แรงดันไฟฟ้าหนึ่งเฟสในช่วงนั้นอาจสูงถึง  235  โวลต์
       แต่พอวัดแรงดันไฟฟ้าตอนหนึ่งทุ่ม  ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้ามาก       ช่วงนั้นแรงดันไฟฟ้าอาจต่ำลงมาเป็น 225 โวลต์
       เป็นต้น ถ้าเป็นย่านโรงงานอุตสาหกรรม จะมีแรงดันไฟฟ้าต่ำในช่วงกลางวัน เพราะโรงงานทุกแห่งใช้ไฟฟ้า
       พร้อมกันหมด ในเวลานั้น แต่ในเวลาตอนเย็น        แรงดันไฟฟ้าที่แปรเปลี่ยนไปนี้ ในย่านโรงงานมีความ
      รุนแรง มากกว่าย่านที่อยู่อาศัย ทั้งนี้เนื่องจากโรงงานมีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากนั่นเอง      ที่กล่าวมาแล้วนั้น
      ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ปลายสาย หรือห่างจากหม้อแปลงมากในกรณีที่ใช้ไฟฟ้าแรงต่ำ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะ
      จะได้รับแรงดันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งวัน ถ้าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าต้นทางที่อยู่ใกล้หม้อแปลงมาก     ก็ได้รับผล
      กระทบ น้อยกว่าเนื่องจากได้รับผลกระทบจากแรงดันตกในสายน้อยกว่า อย่างไรก็ตามถ้าได้รับแรงดันไฟฟ้า
      จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป ก็สามารถที่จะแจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค   มาช่วยเหลือ
      หรือแก้ไข ให้อยู่ในย่านที่ใช้งานได้ปกติ

 

     หากรับกระแสไฟจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และติดตั้ง Generator
          โดยใช้ double-pole/double-trow switch เป็น transfer switch
          ถือว่าเป็นระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก (separately derive system)
          หรือไม่ และต้องติดตั้งสายต่อฝากระหว่างสายนิวทรัลกับสายดิน
          (Neutral-to-ground หรือไม่
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
                      

                                       รูปการ
ติดตั้ง Generator  โดยใช้ double-pole/double-trow switch เป็น transfer switch


         การติดตั้งดังกล่าวไม่ใช่ระบบที่มีตัวแยกจ่ายต่างหาก เนื่องจากระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก สายเฟส สายนิวทรัล
    และสายดิน ต้องไม่มีการต่อถึงกันโดยตรงกับสายจ่ายไฟจากระบบอื่น

         และเนื่องจากการติดตั้งดังกล่าวไม่ใช่ระบบที่มีตัวแยกจ่ายต่างหาก ดังนั้นห้ามติดตั้งสายต่อฝากระหว่างสายนิวทรัล
กับสายดิน หากติดตั้งอาจจะเกิดไฟฟ้าแบ่งไหลผ่าน Generator ดังรูปได้

                      

     ไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร อะไรคือสาเหตุ
           ที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และผลของกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
           เป็นอย่างไร
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   กระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่าไฟฟ้าลัดวงจร
          คือ
การที่จุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้า หรือส่วนของวงจรไฟฟ้าซึ่งมีศักดาไฟฟ้าต่างกัน (มีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน) มาแตะ
หรือสัมผัสกัน หรือมีตัวนำซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำ ๆ มาสัมผัสกันระหว่าง 2 จุดนั้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลระหว่าง 2
จุดนั้นจำนวนมาก (เกิดการถ่ายเทพลังงานกัน) เรียกว่าเกิดก
ระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น


        สาเหตุที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรดังนี้
         1. เกิดจากฉนวนสายไฟฟ้าเสื่อมชำรุด หรือพันเทปจุดต่อสาย หรือจุดต่าง ๆ ในวงจรไม่ดี ทำให้ส่วนของวงจรมา
             แตะกันหรืออยู่ใกล้กันมาก ๆ หรือมีสื่อไฟฟ้ามาแตะจึงเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรดังกล่าวแล้ว

         2. เกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าไม่ถูกวิธี เช่น ฉนวนสายไฟฟ้าใกล้แหล่งที่มีความร้อน ถูกของหนักกดทับถูกของมี
             คมบาด เกิดการเสียดสี เกิดการหักพับบ่อย ๆ หรือใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำลังที่สายไฟฟ้าจะรับได้เช่นใช้เครื่องใช้
            
ไฟฟ้าหลายเครื่องที่เต้ารับอันเดียว หรือต่อไฟฟ้าจากจุดเดียวไปใช้หลาย ๆ จุด ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้จะทำให้ฉนวนสาย
            ไฟฟ้า เสื่อม ชำรุด เกิดการลัดวงจรดังกล่าว

         3. เกิดจากสายไฟฟ้าที่เปลือย (ไม่มีฉนวนหุ้ม) ซึ่งเดินบนฉนวนเช่นลูกรอกลูกถ้วยแกว่งมาใกล้กันหรือแตะกันหรือ
             มีสิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้ามาแตะระหว่างสายไฟฟ้านั้น
         4. เกิดจากสายไฟฟ้าขาดและส่วนที่เป็นตัวนำของสายไฟฟ้าซึ่งยังมี แรงดันไฟฟ้าไปแตะสายในวงจรอื่น หรือแตะ
              พื้นดินทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร แต่ถ้าสิ่งที่ไปแตะนั้นมีค่าความต้านทานไฟฟ้ามากก็จะเกิดกระแสไฟฟ้า
              รั่วไปยังสิ่งนั้น ยังไม่เกิดการลัดวงจร หากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่นานก็อาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรตามมาได้


             การเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจะทำให้เกิดผลดังนี้
        1. เกิดความร้อน เกิดประกายไฟขึ้นที่จุดหรือบริเวณที่เกิดการลัดวงจร ซึ่งหากมีสิ่งที่ติดไฟได้อยู่ใกล้ก็อาจเป็นเหตุให้ 
            เกิดอัคคีภัยขึ้นซึ่งเราก็เคยได้ยินบ่อย ๆ ในเรื่องนี้
        2. ทำให้ฉนวนของสายไฟฟ้าหรือฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าบริเวณจุดที่ลัดวงจรเสื่อมหรือชำรุด         เนื่องจากกระแสไฟฟ้า
            ลัดวงจรมีปริมาณมากกว่าปกติมาก เป็นเหตุให้เกิดความร้อนในสายและจุดลัดวงจรมาก ถ้าอุปกรณ์ตัดตอนกระแส
            ไฟฟ้า  เช่น เบรคเกอร์ขัดข้องไม่ทำงานหรือฟิวส์ไม่ขาดจะทำให้เกิดการลัดวงจรอยู่นานซึ่งนอกจากฉนวนดังกล่าว
            จะเสื่อมชำรุดแล้วยังอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้
       3.  ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดหรือเสียหาย หากเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่ภายในอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้
             ไฟฟ้าอันเนื่องมาจากความร้อน และประกายไฟที่เกิดขึ้นดังกล่าว
       4.  ทำให้สูญเสียไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ลัดวงจรไม่ใช่กระแสไฟฟ้าปกติ
             ในวงจรแต่เป็นกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่สูญเปล่าไปในรูปความร้อนซึ่งทำให้เกิดผลเสียดังกล่าว โดยเครื่องใช้ไฟฟ้า
             ไม่ได้รับประโยชน์จากกระแสไฟฟ้าส่วนนี้เลย แต่กลับทำให้แรงดันไฟฟ้าตก และอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย
             ได้เช่น มอเตอร์
       5.  ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ใกล้หรืออยู่ในจุดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยอาจถูกประกายไฟลวก     หรือกระเด็นเข้าตา
             หรืออาจ ถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้หากมีส่วนของร่างกายที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ นอกจากนี้ในบางครั้ง อาจทำให้เกิด
             การระเบิดเป็น อันตรายได้ เช่น เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรภายในหม้อแปลงที่ระบายความร้อนด้วยของเหลว   หรือ
            ภายในคาปาซิเตอร์ ที่บรรจุของเหลวภายใน

      กระแสไฟฟ้ารั่วเกิดจากอะไร มีผลหรือเกิดอันตรายได้อย่างไร
           จะตรวจสอบได้อย่างไรว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว และจะป้องกันอันตราย
           จากกระแสไฟฟ้ารั่วได้อย่างไร
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
  กระแสไฟฟ้ารั่วเกิดจาก
                                         ฉนวนที่ใช้ห่อหุ้ม ใช้พัน ใช้รองหรือใช้คั่นส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิดชำรุด หรือเสื่อมสภาพ
      หรือค่าความเป็นฉนวนไม่มากพอ (ค่าความต้านทานไฟฟ้าไม่เพียงพอ) ทำให้จุดเหล่านั้นมีไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า
      จึงเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหลขึ้น นอกจากนี้กระแสไฟฟ้ารั่วอาจเกิดจากส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้า      ซึ่งไม่มีสิ่งห่อหุ้มหรือ
      ปกปิดไปอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับสื่อไฟฟ้าก็เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้เช่นกัน



       การเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วมีผลและอันตรายดังนี้

       1. ผู้ที่ไปจับต้องหรือสัมผัสส่วนที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วจะทำให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
           เว้นแต่ว่าผู้ที่จับต้องส่วนที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วจะอยู่บนพื้นฉนวน เช่น ไม้แห้งและไม่มีส่วนใด ของร่างกาย
           สัมผัสกับส่วนที่เป็นสื่อไฟฟ้าที่ลงดินได้ ก็อาจจะไม่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด
       2. ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์และเกิดอัคคีภัยขึ้นได้         เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วจะ
           พยายามไหลไปตามสิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้าเพื่อลงดิน (ทำให้ครบวงจร) จึงเป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าในส่วนนี้และ
           บริเวณหรือจุดที่เกิด กระแสไฟฟ้ารั่วจะเกิดความร้อนขึ้น (โดยเฉพาะเมื่อไฟฟ้ารั่วอยู่นานหรือมีปริมาณมาก)
            ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้
       3.  หากเป็นการรั่วของกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าแรงสูงรั่วเข้าระบบไฟฟ้าแรงต่ำ ก็จะทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้
            ไฟฟ้าในบ้านเสียหาย และเป็นอันตรายต่อผู้ที่ไปจับต้องอุปกรณ์นั้นเช่นกัน


     การตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว
                                           
หรือไม่นั้นสามารถทำได้ง่ายหากเป็นระบบไฟฟ้าแรงต่ำ (แรงดันไม่เกิน 750 โวลท์)
      ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าที่เราใช้กันในบ้านอยู่อาศัย โดยใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบโดยให้จับที่ด้ามไขควง และนำ
      ปลายไขควงไปแตะจุดที่ต้องการตรวจสอบ หากเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้แตะที่ผิวที่โครง      ซึ่งเป็น
      โลหะของอุปกรณ์นั้นๆถ้าพบ ว่าหลอดไฟที่ด้ามไขควงสว่างขึ้นแสดงว่าจุดที่ตรวจสอบหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
      ที่ตรวจสอบเกิดไฟฟ้ารั่ว ควรระวังอย่าไปแตะต้อง ส่วนการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ในบ้าน     รวมถึงสายไฟว่ามี
      กระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่นั้นคงต้องให้ช่างหรือผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นผู้ตรวจสอบ      เพราะต้องใช้เครื่องมือ
      ที่เรียกว่าเมกเกอร์(Meger)   วัดค่าความต้านทานของฉนวนของระบบไฟฟ้า    หรือของสายไฟฟ้าที่จะตรวจสอบ
      หากวัดแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด (ไม่ต่ำกว่า 0.5 เมกะโอห์ม) ถือว่าถูกต้องและปลอดภัยต่อการใช้งาน      และ
      สามารถนำค่าที่วัดได้มาคำนวณหาค่ากระแสไฟฟ้ารั่วได้

   การป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ
                                               

    1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าโดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะของสิ่ง
         ดังกล่าว และควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนพื้นที่เปียกแฉะ
    2. หากจำเป็นต้องสัมผัสกับสิ่งดังกล่าวให้ใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบจุดที่จะสัมผัสก่อน   เมื่อพบว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วจึง
        สัมผัสหรือจับต้อง
    3. ใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าปูพื้นเช่นแผ่นไม้แห้ง, แผ่นยาง, แผ่นพลาสติก เป็นต้น     และให้ยืนบนฉนวนนั้น
        เมื่อต้องสัมผัสหรือ จับอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้า     และในขณะจับต้องระวังอย่าให้ส่วนของ
        ร่างกายไปสัมผัสกับสิ่งที่เป็นสื่อไฟฟ้าซึ่งทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงดินได้
    4. ใช้ระบบวงจรไฟฟ้าที่มีสายดิน โดยสายไฟฟ้าที่ใช้จะเป็นแบบ 3 สาย  มีสายดินเพิ่มขึ้นอีก 1 เส้น      และจะใช้
         สัญลักษณ์เป็นสายสีเขียว   ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเป็นแบบ 3 รู หรือ 3 ขา        ซึ่งจะช่วยป้องกัน
         อันตรายจากกระแส ไฟฟ้ารั่วได้โดยกระแสไฟฟ้ารั่วจะไหลลงสายดิน และลงดิน

      แรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลย์ในระบบ 3 เฟส มีผลกระทบต่อการทำงาน
           ของมอเตอร์ 3 เฟส ที่ต่ออยู่กับระบบไฟฟ้าอย่างไร
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   แรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลย์ คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่เท่ากัน และ/หรือ มุมของแต่ละเฟสห่างกันไม่เท่ากับ120 องศา
เกิดจากการต่อโหลดหนึ่งเฟสในระบบจำหน่ายสามเฟสทำให้ขนาดแรงดันไม่เท่ากัน และการต่อโหลดคาปาซิเตอร์ 1 เฟส
ทำให้มุมเฟสของแรงดันผิดเพี้ยนไป ผลกระทบกระเทือนต่อมอเตอร์สามเฟสที่เกิดจากแรงดันไม่สมดุลย์ พอสรุปได้ดังนี้

1. กระแสไฟฟ้าไม่สมดุลย์ ในกรณีมอเตอร์ใช้โหลดเต็มที่ กระแสไฟฟ้าไม่สมดุลย์จะมีค่า 6-10 เท่าของแรงดันไฟฟ้า
    ไม่สมดุลย์ทำให้มอเตอร์ร้อนเกินและไหม้ชำรุด

2. อุณหภูมิเพิ่ม แรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลย์เพียง 4% จะทำให้อุณหภูมิของมอเตอร์เพิ่มขึ้นถึง 25%

3. กระแสตรึงตัวหมุน (Lock motor current) จะเพิ่มขึ้น และมีความไม่สมดุลย์ เช่นเดียวกับแรงดันไฟฟ้าไม่สมดุลย์
    ทำให้แรงบิดและความเร็วลดลง

     ปัจจุบันทางการไฟฟ้าได้มีการออกกฏระเบียบหรือกฏข้อบังคับ
           ควบคุมฮาร์มอนิกแล้วหรือยัง และถ้ามีแล้ว มีหลักเกณฑ์อย่างไร
  ถามโดย คุณสุจิรา   ตอบโดย sakchai@pea.or.th

  
    ปัจจุบันการไฟฟ้าได้มีการนำข้อกำหนดกฎเกณฑ์ฮาร์มอนิกเกี่ยวกับไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรซึ่งจัดทำโดย
คณะทำงานปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าของสามการไฟฟ้ามาบังคับใช้กับผู้ใช้ไฟประเภทธุรกิจแลอุตสาหกรรม
ที่ทำสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว คือข้อกำหนดกฎเกณฑ์ฮาร์มอนิกเกี่ยวกับไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม
PRC-PQG-01-1998 ซึ่งสามารถสรุปได้ 3 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนที่1
                 อุปกรณ์ที่สามารถนำเข้าระบบได้โดยไม่พิจารณาในส่วนฮาร์มอนิก
                1.1 อุปกรณ์ 3 เฟส ชนิด Convertor หรือ A.C.Regulator ไม่เกินหนึ่งตัว และมีขนาดไม่เกินตามตารางที่ 1
                     แต่ถ้ามีหลายตัวให้ไปพิจารณาในขั้นตอนที่ 2

                                                                               ตารางที่ 1
                                 ขนาดสูงสุดของอุปกรณ์ประเภท Convertor และ A.C. Regulator แต่ละตัว

ระดับแรงดันไฟฟ้า
ที่จุดต่อร่วม (kV)
Convertors ชนิด 3 เฟส (kVA)

A.C. Regulator ชนิด 3 เฟส (kVA)
3-Pulse
6-Pulse
12-Pulse
6-Thyristor
3-Thyristor /3-Diode
0.400
8
12
-
14
10
11 and 12
85
130
250
150
100


1.2 อุปกรณ์ 1 เฟส
      1.2.1  ต้องผลิตตามมาตรฐาน IEC-1000-3-2 ซึ่งเป็นมาตรฐานกำหนดขีดจำกัดฮาร์มอนิกที่ปล่อยจากอุปกรณ์ขนาดไม่เกิน
               16 แอมป์ต่อเฟส (หรือสามารถดูได้จาก ข้อกำหนดกฎหนดเกณฑ์ฮาร์มอนิกที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน                ซึ่งจัดทำโดยโดยคณะทำงานปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าของสามการไฟฟ้า)
      1.2.2  อุปกรณ์ Convertor หรือ A.C.Regulator แรงดัน 230 โวลท์ เพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมที่ไม่สร้างกระแส                 ฮาร์มอนิกอันดับคู่ มีขนาดไม่เกิน5 kVA โดยติดตั้งไม่เกินหนึ่งตัวต่อเฟส
      1.2.3  ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งตัวต่อหนึ่งเฟสให้พิจารณาตามขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่2  
        อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านข้อกำหนดในขั้นตอนที่1 สามารถนำเข้าระบบได้เมื่อ
       2.1 อุปกรณ์ 3 เฟส
       2.1.1 ค่ากระแสฮาร์มอนิกที่จุดต่อร่วมต้องไม่เกินค่าขีดจำกัดในตารางที่ 2

                                                                                ตารางที่ 2
                                           ขีดจำกัดกระแสฮาร์มอนิกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดๆที่จุดต่อร่วม

ระดับแรงดันไฟฟ้า
ที่จุดต่อร่วม (kV)
MVAsc
Base
อันดับฮาร์มอนิกและขีดจำกัดของกระแส (A rms)
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
0.400
10
48
34
22
56
11
40
9
8
7
19
6
16
5
5
5
6
4
6
11 and 12
100
13
8
6
10
4
8
3
3
3
7
2
6
2
2
2
2
1
1
22 , 24 and 33
500
11
7
5
9
4
6
3
2
2
6
2
5
2
1
1
2
1
1
69
500
8.8
5.9
4.3
7.3
3.3
4.9
2.3
1.6
1.6
4.9
1.6
4.3
1.6
1
1
1.6
1
1
115 and above
1,000
5
4
3
4
2
3
1
1
1
3
1
3
1
1
1
1
1
1

      2.1.2  หากค่า MVAsc ต่ำสุด ณ จุดต่อร่วมมีค่าแตกต่างจากค่า MVAsc Base ที่ระบุในตารางที่ 2                 ยอมให้ปรับค่ากระแสฮาร์มอนิกที่ยอมให้ไหลเข้าสู่ระบบด้วยสมการ

                                                                   

            Ih = กระแสฮาร์มอนิก(A) ลำดับที่ h ที่ยอมให้ไหลเข้าสู่ระบบ เมื่อค่า MVAsc เป็น MVAsc1

            Ihp = กระแสฮาร์มอนิก(A) ลำดับที่ h ที่กำหนดในตารางที่ 2

            MVAsc1 = ค่าMVAsc ต่ำสุด ณ จุด PCC มีค่าไม่เท่ากับค่า MVAscBase

            MVAscBase = ค่า MVAscBase สำหรับค่ากระแสฮาร์มอนิกตามตารางที่ 2

                                                                             ตารางที่ 3
                                ขีดจำกัดความเพี้ยนฮาร์มอนิกของแรงดันสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดๆที่จุดต่อร่วม

ระดับแรงดันไฟฟ้า
ที่จุดต่อร่วม (kV)
ค่าความเพี้ยนฮาร์มอนิกรวม
ของแรงดัน (%THDv)
ค่าความเพี้ยนฮาร์มอนิกของแรงดัน
แต่ละอันดับ (THDv%)
อันดับคี่
อันดับคู่
0.400
5
4
2
11,12,24, and 24
4
3
1.75
33
3
2
1
69
2.45
1.63
0.82
115
1.5
1
0.5

ขั้นตอนที่3
อุปกรณ์ไม่เป็นเชิงเส้นที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนที่ 2 ผู้ใช้ไฟอาจสามารถเชื่อมต่อโหลดดังกล่าวกับระบบไฟฟ้าได้ ถ้ามีการศึกษาทำการวิเคราะห์คำนวณจากคุณลักษณะระบบ และพฤติกรรมฮาร์มอนิก ของโหลดอย่างละเอียด โดยผลของแรงดันฮาร์มอนิกที่ได้ต้องไม่เกินขีดจำกัดตามตารางที่ 3

ซึ่งรายละเอียดของข้อกำหนดฯ ดังกล่าวสามารถดูได้จาก Website htpp://www.pea.or.th และ  htpp://www.mea.or.th

 

       จะแก้ไขปัญหา Voltage Dip ในส่วนของการไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟ
            ได้อย่างไร
จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 
        แนวทางการลดปัญหา Voltage Dip ในส่วนของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีดังนี้
        1. พยายามหลีกเลี่ยงการเกิดฟอลต์ โดยเฉพาะในรัศมี 5 - 10 ก.ม. จากหน้าสถานีไฟฟ้า
        2. ลดระยะเวลาการทำงานของรีเลย์ให้เร็วขึ้น
        3. ลดระยะเวลาการปิดกลับวงจร (Reclosing) ของเซอร์กิตเบรคเกอร์ หรือรีโคลเซอร์ให้เร็วขึ้น
        4. ติดตั้ง Neutral Grounding Resister (NGR) ที่จุด Neutral ของหม้อแปลงเพาเวอร์ที่สถานีไฟฟ้า
            เพื่อลดค่ากระแสลัดวงจรลงดิน แต่จะต้องพิจารณาปรับปรุงอุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติม เช่น พิกัด
             ล่อฟ้า รีเลย์ และปัญหาแรงดันไฟฟ้าสูงเกินด้วย

             แนวทางการลดปัญหา Voltage Dip ในส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า มีดังนี้
           1. จัดรูปแบบการจ่ายไฟภายในโรงงาน โดยแยกจ่ายไฟฟ้าภาคกำลังออกจากภาคควบคุม
           2. กำหนดค่าการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันให้สัมพันธ์กับของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค    และควรติดตั้ง
               รีเลย์แรงดันผิดปกติเพิ่มเติม โดยตั้งการทำงานของ Undervoltagr Relay ไว้ที่ 85%, Overvoltage
               ที่ 110%, Unbalance Voltage ที่ 10% และประวิงเวลาตั้งแต่ 1.5 - 3 วินาที
           3. ติดตั้งเครื่องไฟฟ้าสำรอง เช่น UPS, MG Set, AVS, DVR เป็นต้น
           4. ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่มีการต่อ Connection ทางด้านแรงต่ำแบบ Unground หรือต่อลงดิน
                ผ่าน NGR
        ฮาร์มอนิกมีผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าอย่างไร
             และมีการแก้ไขอย่างไร
ถามโดย คุณโกศล ตอบโดย sakchai@pea.or.th
            ฮาร์มอนิกที่ทำให้เกิดผลกระทบต่ออุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า สามารถสรุปได้ออกเป็น 2 กรณีคือ

                1. ทำให้อุปกรณ์ในระบบมีการทำงานผิดพลาดด้วยผลของค่าแรงดันและกระแส ฮาร์มอนิกที่มีขนาด
                   และรูปคลื่นสัญญาณไซน์ผิดเพี้ยนไป   ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ไวต่อการ
                   เปลี่ยนแปลงของกระแสหรือแรงดัน เช่น รีเลย์ หรือ PLC เป็นต้น

                2. ทำให้อุปกรณ์ในระบบมีอายุการใช้งานน้อยลงหรือเกิดการชำรุดเสียหาย เนื่องจากมีค่า rms ของ
                    แรงดันหรือกระแสสูงขึ้นที่เกิดจากค่าฮาร์มอนิก เช่นเกิดความร้อนที่สายนิวตรอล       เนื่องจาก
                    กระแสฮาร์มอนิกลำดับที่ 3 หรือมีการขยายของแรงดัน และกระแสฮาร์มอนิกที่เกิดจากฮาร์มอนิก
                    เรโซแนนซ์ทำให้คาปาซิเตอร์เกิดการชำรุดเสียหายการแก้ไขปัญหาฮาร์มอนิกที่เกิดขึ้นในระบบ
                    ไฟฟ้า

                    สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาฮาร์มอนิก ข้อสำคัญต้องเข้าใจคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งจ่าย
               ของฮาร์มอนิกและคุณลักษณะของระบบโดยละเอียด จึงสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และได้ผล
               ในการแก้ไขปัญหาฮาร์มอนิกที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไปคือ   การควบคุมฮาร์มอนิกในบริเวณที่เป็นแหล่งจ่าย
                ฮาร์มอนิกทำได้ 2  วิธีหลักคือ        
                  -  โดยวิธีการลดกระแสฮาร์มอนิกจากตัวอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งจ่ายกระแสฮาร์มอนิกเอง เช่น วิธี
                Multipulse Methods and Transformers โดยอาศัยหลักการ Phase Shift ของคุณลักษณะการต่อหม้อแปลง
                ของโหลดฮาร์มอนิก เพื่อให้กระแสฮาร์มอนิกบางลำดับหักล้างกันเอง  หรือโดยวิธีการนำ Choke Inductor
                มาต่อเข้าทางด้าน out put  ของอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งจ่ายกระแส ฮาร์มอนิก เพื่อลดกระแสฮาร์มอนิก
                  -  การใช้ฟิลเตอร์เพื่อลดหรือกำจัดฮาร์มอนิกให้หมดไปจากระบบ เช่น Passive Filter หรือ Active
                Filter 
      ตัวประกอบโหลด ( Load Factor : LF ) มีความสัมพันธ์อย่างไรกับ
          อัตราค่าไฟฟ้า   และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ไฟ
          อย่างไร
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   ปกติอุตสาหกรรมโดยทั่วไปจะถูกกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าเป็น 2 ส่วน คือ ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด
         (Demand charge) และพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปในรอบเดือน (Energy charge)    โดยในส่วนของความ
         ต้องการพลังไฟฟ้า สูงสุด จะหมายถึงการใช้กำลังไฟฟ้า (kW) เฉลี่ยใน 15 นาที ที่มีค่าสูงสุดในรอบเดือน
         (แม้เพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็จะคิดค่าไฟฟ้าในส่วนนี้เท่ากัน) ดังนั้นวิธีการควบคุมค่าความต้องการ
         กำลังไฟฟ้าสูงสุดให้เหมาะสมพิจารณาได้จากตัวประกอบโหลด (Load factor) ที่ใช้วัดความสม่ำเสมอของ
         การใช้พลังงานคือ

         LF (%) = (จำนวนหน่วยที่ใช้ในรอบ 1 เดือน (kWh) x 100 % ) /
                      (ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด x จำนวนชั่วโมงที่ทำงานในเดือนนั้น)

            ดังนั้น หากมีการปรับปรุงค่า LF ให้สูงขึ้นจะพบว่าค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยลดลงสำหรับค่า LF ที่เหมาะสม
         จะขึ้นกับชั่วโมงการปฏิบัติงานในแต่ละวัน เช่น โรงงานที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชม.   จะมีค่า LF ที่เหมาะสม
         ประมาณ 80 % โรงงานที่ปฏิบัติงาน 8 ชม. จะมีค่า LF ทีเหมาะสมประมาณ 26.67 % เป็นต้น ดังนั้นการหาค่า
        ความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบเดือนที่เหมาะสมก็สามารถกำหนดได้จากค่า LF ที่เหมาะสมจากสมการ
        ข้างต้นนั่น คือ

         ความต้องการพลังไฟฟ้าที่เหมาะสม = (จำนวนหน่วยที่ใช้ในรอบ 1 เดือน x 100 % ) /
                                                                 (จำนวนชั่วโมงที่ทำงานในเดือนนั้น x LF ที่เหมาะสม)

เมื่อได้ค่าของกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่เหมาะสมแล้ว จึงวางแผนดำเนินการเพื่อควบคุมค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดให้ได้ตามต้องการโดยพิจารณาจาก
1. พิจารณาว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าใดสามารถเปลี่ยนเวลาใช้งานเป็นเวลาอื่น ขณะที่มีการใช้พลังงานสูงสุด
2. ควรมีสิ่งเตือนหรืออุปกรณ์ควบคุมระบบการผลิตในช่วงที่มีการใช้กำลังไฟฟ้าสูงสุด
3. พิจารณาปรับเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีขนาดการใช้พลังงานน้อยลงแต่ให้เพิ่มช่วงเวลาของการทำงาน
4. เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อควบคุมการใช้กำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อมกันในเวลา 15 นาที
5. พิจารณาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการประหยัดพลังงานแทนระบบการผลิตเดิม
6. สนับสนุนให้มีการประหยัดพลังงานในช่วงที่มีความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด

      ในวงจรที่ติดตั้ง GFCI (Ground-Fault Circuit-Interrupter)
            หากมีคนคนหนึ่งจับสายเฟส และสายนิวทรัลพร้อมกัน GFCI
            จะทริปหรือไม่
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   เนื่องจาก GFCI จะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันไฟฟ้าดูด ไฟฟ้ารั่วจากสายที่มีไฟ หรือโครงโลหะเท่านั้น
       โดยใช้หลักการตรวจจับกระแสที่ไหลในสายเฟส และสายนิวทรัล       เช่น    ในระบบ 1 เฟส 2 สาย
       กระแสจะไหลจากสายเฟสไปยังโหลดแล้วไหลย้อนกลับในสายนิวทรัล หากมีการรั่วกระแสที่ไหลไป
       และกลับก็จะต้องไม่เท่ากันค่ากระแสที่ไม่เท่ากันตั้งแต่ 5 mA           จะทำให้กลไกของ GFCI สั่งทริป
       ปลดวงจรออก ดังนั้นหากมีคนไปจับสายเฟส และสายนิวทรัลพร้อมกันในวงจรที่ติดตั้ง GFCI ก็จะไม่
        ทำ ให้ GFCI ทริป เนื่องจากการจับสายเฟส และสายนิวทรัลไม่ได้     ทำให้กระแสที่ไหลไปและกลับ
        แตกต่างกัน

      สวิตช์ตัดตอนแรงสูง (High voltage disconnect switch) สามารถ
           ตัดวงจรในกระแสเรเดียล    และลูป (Radial and loop) ได้สูงสุด
           เท่าใด  ผมเคยติดต่อผู้ผลิตสวิตช์ แต่เขาตอบเลี่ยง ๆ และแนะนำ
          ให้ใช้สวิตช์ตัดโหลด (Load-breakswitch ) หรือใช้เครื่องมือตัดโหลด
          ( Load-break tool ) จากประสบการณ์ของผม โหลดน้อย ๆ ในวงจร
          เรเดียล และโหลดค่อนข้างมากในวงจรลูป สามารถตัดวงจรได้เสมอ
           โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามบางครั้ง ก็เกิดการวาบไฟ
          หรือแฟลชโอเวอร์       ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากทราบว่ากระแสเท่าใด
           ที่สวิตช์ตัดตอนสามารถตัดได้อย่างปลอดภัย
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   สวิตช์ตัดตอนไม่มีพิกัดการตัดกระแสสูงสุดเพราะไม่ได้ออกแบบไว้ให้ทำงานอย่างนั้น วัตถุประสงค์หลักของสวิตช์
       เหล่านี้ก็คือทำหน้าที่ตัดตอนเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ทางด้านโหลดของสวิตช์ตัดขาดจากแหล่งจ่ายไฟแรงสูงแล้ว
       จริงอยู่สวิตช์ตัดตอนอาจปลดโหลดได้บ้าง แต่เป็นวิธีปฎิบัติที่อันตรายมาก การที่ผู้ผลิตแนะนำให้คุณใช้สวิตช์ตัด
       โหลดหรือเครื่องมือตัดโหลด เป็นการแนะนำที่ถูกต้องอย่างยิ่ง      อย่าปลดสวิตช์ตัดตอนขณะมีโหลดโดยเด็ดขาด
       ต้องปลด เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือสวิตช์ตัดโหลดก่อนเสมอ

        เมื่อเร็ว ๆ นี้โรงงานแห่งหนึ่งของเราได้รับความเสียหายมาก
            บัสเวย์ส่วนหนึ่งขันสลักเกลียวไว้ไม่แน่น หลังจากใช้งาน 2-3
            เดือน บัสบาร์ทองแดงร้อนไหม้อย่างรุนแรง เราหาความผิดพร่อง
            ไม่พบจนกระทั่งเกิดความเสียหายนี้ขึ้น    อยากทราบว่า มีวิธีการ
            ทดสอบเพื่อตรวจวัด และแก้ไขข้อบกพร่องก่อนเกิดการชำรุด
            อย่างไร
จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   การขันสลักเกลียวของข้อต่อต่าง ๆ ต้องใช้แรงขันพอเหมาะซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุ และขนาดของสลักเกลียว
       เมื่อใช้งานไปแล้วระยะหนึ่ง ควรมีการตรวจสอบบัสเวย์ตามวาระเพื่อป้องกันความบกพร่อง การทดสอบ
       นี้ทำได้หลายวิธี เช่นวัดแรงดันที่ปลายทั้งสองข้างของบัสเวย์ ผลต่างของแรงดันจะเป็นค่าแรงดันไฟฟ้าตก
       (IR) ซึ่งสามารถนำมาคำนวณค่าความต้านทานของบัสเวย์ได้        แต่ถ้าความต้านทานต่อหน่วยความยาว
       ไม่ตรงกับข้อมูลของผู้ผลิต ก็จะต้องขันสลักเกลียวให้แน่นอย่างเพียงพอการหาความต้านทานของบัสเวย์อาจ
       ใช้เครื่องมือวิดสโตนบริดจ์วัดบัสบาร์แต่ละอัน และเปรียบเทียบระหว่างบัสบาร์ด้วยกัน

      การใช้อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ (Variable Speed Drive) สามารถ
           ช่วยประหยัดพลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างไร
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
   อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ (VSD) จะเป็นตัวควบคุมความถี่ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อปรับการหมุน
       ให้ได้ตามความต้องการ โดยรับสัญญาณควบคุมทางไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับความต้องการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในขณะนั้น
        เปรียบเทียบกับระดับที่กำหนดไว้ การใช้ VSD จะเหมาะสมกับมอเตอร์ที่มีลักษณะการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงตาม
        สัดส่วนภาระการทำงานเกือบตลอดเวลา เช่น เครื่องสูบน้ำ หรือเครื่องอัดอากาศที่ต้องการความดันหรืออัตราการ
        ไหลที่ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา โดย VSD จะถูกใช้แทนที่การควบคุมแบบเก่า เช่น   การควบคุมแบบใช้คัน
        บังคับ(Throttling) การควบคุมแบบทางเบี่ยง (By-pass)  หรือการควบคุมแบบเปิด-ปิด (On/Off)       การใช้ VSD
        สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 10-30% ของระบบการควบคุมเดิม ตัวอย่างของหลักการทำงานที่ใช้ VSD ควบคุม
        คือ เครื่องสูบน้ำโดย VSD จะควบคุมความเร็วจากสัญญาณที่แสดงความต้องการใช้งานเครื่องสูบน้ำ (ความดัน)
        เปรียบเทียบกับระดับที่กำหนดไว้ หากมีความแตกต่าง VSD จะปรับความเร็วรอบของเครื่องสูบน้ำให้มีความเร็ว
         รอบที่ Full load และจะลดการทำงานลงเมื่อถึงระดับที่กำหนดไว้

      ค่าFt มีวิธีการคิดอย่างไร เนื่องจากมีค่าเปลี่ยนแปลง
            ทุกเดือน
จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

   
   ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) จะมีการคำนวณ และใช้เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในทุก 4 เดือน
          โดยค่า Ft  จะแยกตามกิจการต่าง ๆ  ได้แก่ กิจการผลิต  (Generation)  กิจการระบบส่ง   (Transmission)  กิจการ
           ระบบจำหน่าย (Distribution) และกิจการค้าปลีก (Retail) โดยมีรายละเอียดของการคำนวณดังนี้


   1.  Ft = FGt + FTt + FDt + FRt

           โดยที่
            FGt  =  ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติของกิจการผลิต (Generation)
            FTt =  ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติของ กิจการระบบส่ง (Transmission)
            FDt =  ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติของ กิจการระบบจำหน่าย (Distributuon)
            FRt =  ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติของ กิจการค้าปลีก (Retail)

 2. Ftk = FACtG(only) + FXtk + DNFtk + MRtk + AFt-1k + DCt-1k

Ftk = ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติของกิจการ k

FACtG(only) = การเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิง (น้ำมันเตา, น้ำมันดีเซล, ก๊าซธรรมชาติ, ลิกไนต์และ ถ่านหินนำเข้า) ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPPs, SPPs) และค่าซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, มาเลเซีย และอื่นๆ) ของกิจการผลิตในเดือนที่ t

FXtk = ผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนในการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยต่างประเทศของกิจการ k ในเดือนที่ t

DNFtk = ต้นทุนในการดำเนินงานของกิจการ k ในเดือนที่ t ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอัตราเงินเฟ้อฐาน (ในอัตราร้อยละ 2.83) และยอดขายที่แตกต่างจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้ากรณี เศรษฐกิจฟื้นตัวปานกลาง (MER)

MRtk = รายได้ที่เปลี่ยนแปลงไปของกิจการ k ในเดือนที่ t เนื่องจากราคาขายเปลี่ยนแปลงไปจากที่ประมาณการไว้ (เฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก ภายหลังการประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้การไฟฟ้ามีรายได้สอดคล้องกับโครงสร้าง อัตราค่าไฟฟ้าใหม่เพื่อให้การไฟฟ้ามีรายได้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาขายปลีกที่ลดลง (ร้อยละ 2)

AFt-1k = ค่าสะสมที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างค่าที่คำนวณได้กับค่าที่เรียกเก็บจริงของกิจการ k ในเดือนที่ t-1

DCt-1k = จำนวนเงินที่กิจการ k เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือมากกว่าค่าที่เกิดขึ้นจริงในเดือนที่ t-1

      ไฟกระพริบหรือไฟดับบ่อยๆ ทำให้ค่า Demand
            ขึ้นสูงหรือไม่ เมื่อมอเตอร์ต้องเริ่มเดินเครื่องใหม่
 ถามโดย  คุณสมศักดิ์
 ตอบโดย
 sakchai@pea.or.th
          


      การอธิบายว่าค่าดีมานด์จะสูงมากหรือไม่ เมื่อมอเตอร์เริ่มเดินเครื่องนั้น มีหลักการคิด
           และหลักการทำงานเบื้องต้นที่ควรทราบไว้ก่อน ดังนี้

                               

                                                          รูปแสดงตัวอย่างของลักษณะการใช้ไฟ

                                                   ________   ค่าพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงที่เวลาต่างๆ
                                                   ________   ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา15 นาที ที่เวลาต่างๆ

                1. การคิดค่าดีมานด์หรือค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด การคิดค่าดีมานด์หรือค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด จะคิดจาก
"ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที" ที่สูงที่สุด "ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที" จะมีค่ามาก
หรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้ไฟฟ้า ตามตัวอย่างดังนี้
ี้
                                 ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที
                                  = [ ผลรวมของ ( ค่าพลังไฟฟ้า x เวลา) ในช่วงเวลา 15 นาที ] / 15

                                จากรูปค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที (0 - 15 นาที)
                                  = (10 x 5) + (20 x 5) + (30 x 5) / 15 = 20 kW

                               ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที ต่อไป (16 - 30 นาที)
                                  = (20 x 14) + (60 x 1) / 15 = 22.67 kW

                 2. การวัดค่าดีมานด์หรือค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด       การวัดค่าดีมานด์หรือค่าพลังไฟฟ้าสูงสุดใช้
ดีมานด์มิเตอร์เป็นเครื่องวัด ดีมานด์มิเตอร์    จะวัดค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของทุกๆช่วงเวลา 15 นาทีอย่าง
ต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน ในหนึ่งเดือนจะวัด  "ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที"     ได้ ประมาณ
2,880 ค่า    (จำนวนวันใน 1 เดือน x จำนวนชั่วโมงใน 1 วัน x จำนวนช่วงเวลา 15 นาที ใน 1 ชั่วโมง)
แล้วดีมานด์มิเตอร์ จะแสดง "ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที" ที่สูงที่สุด เป็นค่าดีมานด์  หรือ
ค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งใช้ในการคิดค่าไฟฟ้า

             3. ค่าดีมานด์ของมอเตอร์ขณะเริ่มเดินเครื่อง    มอเตอร์จะใช้เวลาในการเดินเครื่อง ประมาณ
10 วินาที      และในช่วงเวลาดังกล่าว มอเตอร์จะใช้กระแสไฟฟ้าสูงกว่าขณะเดินเครื่องประมาณ 6 เท่า
แต่จะมี ตัวประกอบพลังไฟฟ้าฟ้า (PF. ) ต่ำกว่าเดินเครื่องปกติประมาณ 5 เท่า ขณะเริ่มเดินเครื่องมีค่า
ประมาณ 0.15 - 0.2 ขณะปกติมีค่าประมาณ 0.87 จากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถคำนวณหาพลังไฟฟ้าของ
มอเตอร์ขณะเริ่มเดินเครื่องได้ดังนี้
     
        จากสูตร พลังไฟฟ้า = V x I x COSq
        พลังไฟฟ้าขณะเริ่มเดินเครื่อง = V x 6I x 1/5 COSq = 1.2 เท่าของพลังไฟฟ้า ขณะ ปกติ

      เมื่อนำค่าพลังไฟฟ้าขณะเริ่มเดินเครื่อง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 วินาที มาเฉลี่ยกับพลังไฟฟ้าขณะปกติ
จะได้ "ค่าพลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที" ดังนี้

        สมมุติว่า พลังไฟฟ้าขณะปกติ = 1
        พลังไฟฟ้าขณะเริ่มเดินเครื่อง = 1.2
        พลังไฟฟ้าเฉลี่ยของช่วงเวลา 15 นาที
         = (1.2 x (10/60)) + (1 x 14 + (50/60)) / 15= 1.0022 เท่า

  ข้อสรุป มอเตอร์ขณะเริ่มเดินเครื่อง จะมีผลทำให้ค่าดีมานด์สูงกว่าขณะเดินเครื่องปกติเพียงเล็ก
   น้อยเท่านั้น

      ค่าไฟฟ้าแบบ TOD และ TOU มีความแตกต่างกัน
           อย่างไร และแบบใดถูกกว่ากัน
  ถามโดย คุณยุทธพงศ์   ตอบโดย sakchai@pea.or.th

  
    TOD และ TOU เป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่กำหนดให้ราคาแตกต่างกันตามช่วงของเวลาเหมือนกัน
             แต่มีรายละเอียดในการคิดต่างกัน ดังนี้
                 1. อัตรา TOD ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์) แตกต่างกันเป็น 3    ช่วงเวลาของวัน
             และเหมือนกันทุกวัน คือ ช่วง On Peak (P) หมายถึง เวลา 18.30 - 21.30 น. ช่วง Partial Peak
             (PP) หมายถึงเวลา 08.00 - 18.30 น. และ ช่วง Off Peak (OP) หมายถึง เวลา 21.30 - 08.00 น.
             แต่จะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะกิโลวัตต์ที่ใช้ในช่วง  Peak     และ     Partial Peak
             (คิดเฉพาะส่วนที่เกิน Peak) สำหรับค่าพลังงานไฟฟ้า(หน่วย) เท่ากันตลอดทั้งวัน
                2. อัตรา TOU ค่าพลังงานไฟฟ้าต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้       คือ ช่วง P หมายถึงเวลา
            09.00 - 22.00 น.ของวันจันทร์-ศุกร์ และ ช่วง OP หมายถึง เวลา 22.00 - 09.00 น.        ของวัน
            จันทร์-ศุกร์  และวันเสาร์   อาทิตย์    วันหยุดราชการตามปกติ   (ยกเว้นวันหยุดชดเชย) ทั้งวัน
            แต่ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าคงที่ โดยคิดเฉพาะกิโลวัตต์ที่ใช้ในช่วง P   การคิดค่าไฟฟ้าแบบ
            TOD และ TOU แบบใดจะถูกหรือแพง       ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเอง
           แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องพยายามลดการใช้ไฟฟ้าในช่วง P และใช้ไฟฟ้าในช่วง OP ให้มากที่สุด
            เพราะราคาค่าไฟฟ้าในช่วง P สูงกว่า OP

      การปรับปรุงเพิ่มค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์จะสามารถลดค่าไฟฟ้า
           ได้ใช่หรือไม่
 จาก หนังสือ ปัญหาทางเทคนิคและวิศวกรรมที่พบบ่อยครั้ง
                                     ( กฟภ.)
 

  
      ถ้าจะตอบคำถามนี้แต่เพียงว่าสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งก็ถูกต้องแต่ไม่ทั้งหมด  เพราะยังมีดีอีกเยอะ
            อุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนที่ใช้งาน อยู่ในกิจการต่าง ๆ จะเป็นชนิดต้องการกำลังงานรีแอกตีฟจากแหล่งจ่าย
            กำลังไฟฟ้า   มีเพียงเครื่องจักรกลซิงโครนัส  (Synchronous machines)          และคาปาซิเตอร์กำลัง
            (power capacitor) เท่านั้น   ที่สามารถจ่ายกำลังงานรีแอกตีฟให้กับแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าหรืออุปกรณ์
            ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังงานรีแอกตีฟได้ ดังนั้นการติดตั้งคาปาซิเตอร์กำลัง     ไม่ว่าจะเป็นคาปาซิเตอร์

            กำลังที่ใช้ กับระบบไฟฟ้าแรงต่ำ (แรงดันไม่เกิน 1,000โวลต์) หรือระบบไฟฟ้าแรงสูง เพิ่มเติมเข้าไป
            ในระบบไฟฟ้า จึงเป็นวิธีการที่ประหยัดที่สุดในการปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ของระบบไฟฟ้าให้
            ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้าที่กำลังใช้งานอยู่และมีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ต่ำ  การปรับปรุงค่า
            เพาเวอร์แฟกเตอร์ของระบบไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นจะมีผลดีต่อระบบไฟฟ้าหลายประการ เช่น

            1.   ลดกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในวงจรตั้งแต่แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าจนถึงตำแหน่งที่ติดตั้งคาปาซิเตอร์กำลัง
            2.  ลดกำลังงานสูญเสียในระบบไฟฟ้าลง ซึ่งจะมีผลดีต่ออุปกรณ์จ่ายกำลังไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า
                 สายเคเบิล สวิตช์ ฯลฯ
            3.  ลดแรงดันไฟฟ้าตกในระบบไฟฟ้าลง ทำให้ระดับของแรงดันไฟฟ้ามีความมั่นคงมากขึ้น แรงดันไฟฟ้า
                 ที่ตำแหน่งปลายสุดของสายป้อนไม่ตกมาก   ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
            4.  เพิ่มขีดความสามารถในการรับหรือจ่ายกำลังไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าให้สูงขึ้น ทำให้สามารถขยายการใช้
                 ไฟฟ้า หรือเพิ่มโหลดได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์รับจ่ายกำลังไฟฟ้า
            5.  ผลพลอยได้อีกอย่าง คือ ลดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้าฯ อยู่ทุกเดือน     อย่างเช่นของการไฟฟ้า
                 ส่วนภูมิภาคซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน  คือ        ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า (Demand Charge)
                 ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge)         เฉพาะส่วนที่เป็นพลังงานสูญเสียที่ลดลง และค่าปรับเพาเวอร์
                 แฟกเตอร์ เมื่อมีค่าต่ำกว่า 0.85       อย่างไรก็ตามการติดตั้งคาปาซิเตอร์กำลังเข้าไปในระบบไฟฟ้านั้น
                 นอกจากจะมีผลดีแล้ว ก็อาจจะเกิดผลเสียได้ถ้าไม่ได้ทำการพิจารณากันอย่างรอบคอบ เช่น      อาจเกิด
                 ปัญหาแรงดันไฟฟ้าเกินพิกัด (Over Voltage) เนื่องจากผลของฮาร์มอนิกที่มีอยู่ในระบบ    หรือเกิดการ
                 ขยายของกระแสฮาร์มอนิกในสภาวะเกิดเรโซแนนซ์แบบขนานขึ้น     ก่อให้เกิดผลเสียหายต่ออุปกรณ์
                 และระบบไฟฟ้าได้ เป็นต้น ดังนั้นการติดตั้งตัวคาปาซิเตอร์กำลังเข้ากับระบบไฟฟ้าเพื่อการปรับปรุงค่า
                 เพาเวอร์แฟกเตอร์จึงต้องพิจารณาทั้งขนาดที่ใช้ ตำแหน่งที่ติดตั้งตลอดจนการต่อวงจร    และขนาดของ
                 อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ