การป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินในอาคารจากเหตุการณ์ฟ้าผ่า

ศักดิ์ชัย นรสิงห์
sakchai@pea.or.th


               บทนำ

                          ปัจจุบัน  ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องหรือมีการใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ในโรงงานอุตสากรรมและในอาคารสำนักงานต่างๆ
               เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สื่อสาร หรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมเครื่องจักรในระบบขบวนการผลิต เช่น ASD หรือ   PLC
               มักจะประสบปัญหาอุปกรณ์ดังกล่าว มีการ ชำรุดเสียหายบ่อยครั้ง ในขณะมีเหตุการณ์ฝนตกฟ้าผ่า หรือเกิดจากการผิดพร่อง
               ( fault )ในระบบไฟฟ้า ด้วยจากสาเหตุมี แรงดันไฟฟ้าเกินเข้ามา ในอาคารเกินกว่าที่อุปกรณ์สามารถที่จะทนได้     และมัก
               จะคิดว่าระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกไม่ดีพอหรือเป็นเหตุการณ์สุดวิสัยที่ไม่สามารถจะทำการป้องกันได้ ซึ่งโดยความจริงแล้ว
               จุดประสงค์ของการป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคารนั้น      เพื่อป้องกันความเสียหายทางกลกับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างจากฟ้าผ่า
               แต่ไม่สามารถป้องกันความเสียหายให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ภายในอาคารเนื่องจากเสิร์จได้   
 และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆในระบบ
               เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ รีเลย์ต่างๆ ไม่สามารถที่จะทำการป้องกันได้เช่นเดียวกันดังนั้นการป้องกันการชำรุด  ของอุปกรณ์
               ดังกล่าวควรต้องมีระบบป้องกันฟ้าผ่าภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกิน   ( Surge Protection
               Device : SPD ) มีการต่อประสานศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน การกำบัง ( Shielding ) และมีการต่อลงดิน ( Earthing ) ที่ถูกต้อง   จึงจะ
               สามารถป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ภายในอาคารชำรุดเนื่องจากแรงดันไฟฟ้าเกินได้
          
                การเข้ามาของแรงดันไฟฟ้าเกินในอาคาร


                     แรงดันไฟฟ้าเกินที่เข้ามาในอาคารที่เป็นสาเหตุทำให้อุปกรณ์เกิดการชำรุดนั้น ซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ฟ้าผ่า  สามารถ
               เข้ามาในอาคารได้ดังนี้
                 1. ทางสายตัวนำไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบงานคอมพิวเตอร์และสื่อสาร   ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่เสิร์จจะใช้เป็นทาง
               ผ่านเข้ามาในอาคารมากที่สุด โดยมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์ฟ้าผ่า การเกิดฟ้าผ่าอาจเกิดขึ้นโดยตรง   หรือใกล้ในระบบส่ง
               จ่ายหรือจำหน่ายไฟฟ้า ผลทำให้เกิดกระแสเสิร์จขนาดใหญ่วิ่งตามสายตัวนำไฟฟ้าเพื่อหาจุดลงดิน หรือมีเหตุการณ์ฟ้าผ่าที่
               ตำแหน่งล่อฟ้าใกล้กับตัวอาคาร ซึ่งด้วยผลของสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้น   ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำระหว่างกระแส
               ฟ้าผ่ากับสายตัวนำไฟฟ้า ทำให้เกิดเสิร์จที่สายดังกล่าวขึ้นและผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร  เป็นผลทำให้อุปกรณ์ชำรุดเนื่องจาก
               ได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินได้
                 2. ทางสายโทรศัพท์ สายนำสัญญาณและสายสื่อสารข้อมูล เป็นอีกทางหนึ่งที่กระแสเสิร์จเข้ามา   โดยเกิดจากการเหนี่ยวนำ
               เข้ามาของกระแสเสิร์จจากเหตุการณ์ฟ้าผ่า เช่นเดียวกับสายตัวนำไฟฟ้าจากสนามแม่เหล็กที่เกิดจากฟ้าผ่าเข้าไปเหนี่ยวนำ
               วงรอบ (Loop) ใดๆในอาคาร เช่น วงรอบระบบไฟฟ้าหรือระบบสื่อสาร เป็นผลทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเกินในอาคาร
                 3. จากระบบการต่อลงดิน ในกรณีระบบมีการต่อลงดินหลายจุด     เมื่อมีเหตุการณ์ฟ้าผ่าและมีกระแสฟ้าผ่าไหลลงระบบราก
               สายดินจุดหนึ่ง อาจก่อให้เกิดศักย์ไฟฟ้าของจุดลงดินสูงกว่าอีกจุดหนึ่ง  เป็นผลทำให้เกิดกระแสไหลวนขึ้นจากระบบดินจุด
               หนึ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆไปลงดินอีกจุดหนึ่ง เป็นผลทำให้อุปกรณ์ในระบบเกิดการเสียหายได้



รูปแสดง ทางเดินเสิร์จที่เข้ามาในอาคาร


                   สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันเสิร์จในอาคารที่ทั่วโลกนิยมใช้อ้างอิง คือมาตรฐาน IEC หรือ IEEE

                    มาตรฐาน IEC ที่เกี่ยวข้องคือ
                       -  IEC 61024-1 : 1990-03 : Protection of structures against lightning Part 1 : General principles
                       -  IEC 61312-1 : 1995-02 : Protection against lightning electromagnetic impulse Part 1 : General principles
                       -  IEC 61000-4-5 : 1995-02 : Electromagnetic compatibility (EMC) Part 4: Testing and measurement techniques
                                                                   Section 5 : Surge immunity test
                       -  IEC 60664-1 : 2000-04 : Insulation coordination for equipment within low voltage systems Part :1 Printciples
                                                               , Requirement and Tests

                    
 มาตรฐาน IEEE ที่เกี่ยวข้องคือ
                       - IEEE C62.41-1991 IEEE Recommended practice on Surge Voltage in Low-Voltage AC Power Circuit

                       -
IEEE C62.45-1992 IEEE Guide on Surge Testing for Equipment Connected to Low-Voltage AC Power Circuit
                   

                    และสำหรับประเทศไทยการป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินในอาคาร ได้มีมาตรฐานดังกล่าวแล้วคือการป้องกันแม่เหล็กไฟฟ้า
                  จากฟ้าผ่า ของ " สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์"

            
                 อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ (Surge Protection Device :SPD)
                       
อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จในอาคารมีไว้เพื่อลดหรือขจัดกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าเกินชั่วครู่ ตามมาตรฐาน IEC และ
                   IEEE มีการแบ่งประเภทของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ    ตามลักษณะการทดสอบ    โดยจำลองคลื่นอิมพัลส์ในรูปกระแส และ
                   แรงดันแตกต่างกันออกไป ( สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงมาตรฐาน IEC เป็นส่วนใหญ่ ) ดังเช่น

                       มาตรฐาน IEC 1312 - 1 - 1995 [ 1 ] ได้กำหนดย่านการป้องกันแรงดันเกินไฟฟ้าจากฟ้าผ่า ( Lightning Protection Zone
                 : LPZ ) ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ภายในอาคาร และในแต่ละย่านการป้องกันจะมีการต่อประสานแต่ละย่านการป้องกัน    ( ตามรูป
                 ที่ 1 ) เพื่อการลดทอนของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic field ) และทำให้ศักย์ไฟฟ้าในแต่ละย่านการป้องกันเท่ากัน
                 ซึ่งการกำหนดย่านการป้องกันต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ และการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จให้เหมาะสมกับ
                 ขนาดของเสิร์จที่ผ่านเข้ามา การแบ่งโซนดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้ คือ

                    LPZ 0A   คือ โซนที่มีโอกาสที่จะถูกฟ้าผ่าโดยตรงดังนั้นจึงรับกระแสฟ้าผ่าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเต็มที่
                    LPZ 0B   คือ โซนที่ไม่มีโอกาสรับฟ้าผ่าโดยตรง แต่ยังได้รับผลของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า        โดยยังไม่มีการลดทอนจากผล
                                   ของแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว
                     LPZ 1     คือ โซนที่มีการสวิตชิ่งของอุปกรณ์ภายใน หรือจากการรับกระแสเสิร์จของการเหนี่ยวนำจากฟ้าผ่าเข้า มาตามสาย
                                   ตัวนำไฟฟ้า และสายสัญญาณต่าง ๆ และจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเนื่องจากก ระแสฟ้าผ่าที่เข้ามาเหนี่ยวนำวงรอบ
                                   ที่อยู่ในอาคาร เช่น    วงรอบระหว่างระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร           ซึ่งสามารถลดทอนสนามแม่เหล็กดังกล่าว
                                   ได้ด้วยวิธีการต่อประสาน ( Bonding ) และการกำบัง( Shielding ) ภายในอาคาร
                    LPZ 2 คือ โซนที่มีการลดกระแสและสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากกว่าโซนดังกล่าวข้างต้น



รูปที่ 1 การแบ่งโซนการป้องกันแรงดันเกินจากฟ้าผ่า

                                 มาตรฐาน IEC มีการแบ่งประเภทของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จตามลักษณะการทดสอบ
(ตามรูปที่ 2)



รูปที่ 2 การแบ่งประเภทของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จตามลักษณะการทดสอบ

                ตามมาตรฐาน IEC 60664 - 1 [ 3 ] ได้ระบุว่า ในแต่ละย่านการป้องกันฉนวนของอุปกรณ์ควรจะทนแรงดันไฟฟ้าเกินใน
                ภาวะชั่วครู่ได้ในระดับกี่ KV เช่น ในย่าน 1 ฉนวนของอุปกรณ์ควรจะทนได้ 6 KV และลดลงตามลำดับย่านการป้องกัน
                การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับแต่ละย่านจึงควรเลือกให้จำกัดค่าแรงดันไม่ให้เกินค่าที่กำหนดตามมาตรฐาน
                 



รูปที่ 3 แสดงการแบ่งประเภทแรงดันไฟฟ้าเกินตามความสัมพันธ์ทางฉนวน( Insulation Coordination )
                                      โดยควบคุมแรงดันแต่ละประเภทการติดตั้ง( Installation Category)

               
                 อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน


                  คือ อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จทางด้าน Power และด้าน Communication และแบ่งตามย่านการติดตั้งใช้งานได้เป็น 2 ชนิด คือ
                 1. Lightning Current Arrester    คุณสมบัติมีความสามารถ Discharge กระแสฟ้าผ่าบางส่วนที่มีขนาดพลังงานมากโดยที่ตัว
                  มันเองหรืออุปกรณ์ป้องกันเสิร์จตัวอื่น ๆ ไม่ได้รับความเสียหาย ตำแหน่งติดตั้งอยู่ระหว่างย่าน LPZOB   กับ   LPZO1 จะ 
                 ถูกทดสอบด้วยกระแสอิมพัลส์ 10 / 350 ms
                 2. Surge Arrester    คุณสมบัติเพื่อจำกัดแรงดันไฟฟ้าเกิน     เพื่อไม่ให้เกินค่าที่จะทำความเสียหายกับอุปกรณ์ในอาคาร
                 ตำแหน่งติดตั้งจะอยู่หลังย่าน LPZO1 ลงมาจะถูกทดสอบด้วยกระแสอิมพัลส์ 8 / 20 ms   และแรงดันอิมพัลส์ 1.2 / 50 ms


              อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จทางสายตัวนำไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ

                1) Air Spark Gap    เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จแบบ  Lightning current arresters         จะติดตั้งที่ตำแหน่งหน้าตู้เมนเซอร์กิต
                เบรกเกอร์ โดยคุณสมบัติการทำงานของอุปกรณ์เสิร์จดังกล่าวต้องมีความสามารถรับกระแสฟ้าผ่าบางส่วน ( partial lightning
                current )  จากย่าน  LPZOB  และ  LPZO1   และมีความสามารถดับอาร์คซึ่งเกิดจาก    main follow current    ของระบบด้วย
                และลดแรงดันเกินที่เกิดจากเสิร์จให้เหลือน้อยจนกระทั่งอุปกรณ์ป้องเสิร์จตัวถัดไป (Overvoltage Arrester ) สามารถทนต่อ
                แรงดันเสิร์จได้และไม่เกิดความเสียหาย        ซึ่งในขณะที่อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จดังกล่าวทำงานจะมีกระแสบางส่วนจากระบบ
                ไฟฟ้าไหลลงดิน      ซึ่งถ้าปล่อยให้ไหลเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการลัดวงจรที่มีพลังงานมากและเซอร์กิตเบรกเกอร์อาจจะ
                ทริปได้    ดังนั้นการออกแบบที่ดีจึงจำเป็นต้องควบคุม Spark gap  ให้สามารถดับอาร์คได้ในระดับหนึ่ง      หรือต้องติดฟิวส์
                ป้องกัน ที่ตำแหน่งหน้าอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จดังกล่าว
                2) MOV ( Metal Oxide Varistor )    จะติดตั้งที่ตำแหน่งหน้าตู้เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือแผงเมนย่อยไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์
                ป้องกันเสิร์จ แบบ Overvoltage Arrester ประกอบด้วย  Zinc - oxide - varistor ( ZnO )     ทำหน้าที่จำกัดแรงดันไฟฟ้าเกิน
                ไม่ให้เกินค่าที่อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จตัวถัดไปทนได้ หรือเกินค่าที่อุปกรณ์ ( ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ) ทนได้  จะติดตั้งในย่าน
                LPZO1   และ   LPZO2     และในกรณีเมื่อมีการเสื่อมของ  ZnO    จะมีกระแสรั่วไหลผ่านอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จดังกล่าวลงสู่
                สายดิน หรือในกรณีที่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จแบบ    Lightning current arrester        เมื่อเกิดเสิร์จเข้ามาจนทำให้
                เกิดการ  Overload    ขึ้นที่ ZnO จากทั้งสองกรณีข้างต้น       อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จดังกล่าวจะต้องมี  Thermal disconnected
                switch      เพื่อทำหน้าที่ตัดออกจากระบบบางครั้งมีการออกแบบให้เป็นชนิด   plug - in module     หรือมี     free - contact
                เพื่อส่งสัญญาณบอกสถานะ แสดงว่าอุปกรณ์ ป้องกันเสิร์จต้องทำการเปลี่ยนได้แล้ว
                3) อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ แบบ Hybrid Solid Stage Device    จะประกอบด้วย  Zener Diode, Gas Tube   และอาจจะมี Filter
                รวมอยู่ด้วยโดยจะติดตั้งอยู่ที่หน้าอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร

                การเลือกขนาดอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ
                   การเลือกขนาดอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ต้องคำนึงถึง ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดกระแสฟ้าผ่า (kA) และความสำคัญของอุปกรณ์ที่
                ต้องการป้องกัน เพื่อการออกแบบสำหรับเลือกอุปกรณ์ป้องกันฯที่เหมาะสมทางด้านเทคนิคและด้านเศรษฐศาสตร์

                   ซึ่ง
ตามมาตรฐาน IEC 1312 - 1  โดยกำหนดกระแสฟ้าผ่าสูงสุดมีค่าถึง 200 kA ที่รูปคลื่น10 / 350 ms และมาตรฐาน IEC
                1024 - 1   ได้มีการแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีฟ้าผ่า ต่อสิ่งปลูกสร้างขึ้นกระแสฟ้าผ่า  50 %  จะกระจายสู่ระบบลงดินส่วนที่เหลือ
                จะกระจาย เข้าสู่ระบบต่าง ๆ ในอาคาร  เช่นระบบไฟฟ้า    ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบสื่อสาร (ตามรูปที่ 4)

                  




รูปที่ 4 กระแสฟ้าผ่าที่กระจายไปตามระบบต่าง ๆ

                         เมื่อพิจารณาระบบไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงานต่าง จะมีการต่อลงดินเป็นแบบระบบ TN-CS
              ดังนั้นโอกาสกระแสฟ้าผ่าสูงสุดที่ไหลเข้าสู่ภายในอาคารแต่ละเฟสจะมีค่าเท่ากับ 100 kA / 3 เท่ากับ 33 kA   และเนื่องจาก
             กระแสฟ้าผ่าอาจมีโอกาสเข้าสู่ระบบมากกว่า50 % ของกระแสฟ้าผ่า  ดังนั้นการเลือกใช้ อุปกรณืป้องเสิร์จเพื่อใช้สำหรับติดตั้ง
             ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินทางสายไฟจากภายนอกอาคารก่อนเข้าตู้เมนไฟฟ้าสำหรับโอกาสที่เกิดฟ้าผ่ารุนแรงอาจเลือกขนาด
            ไม่น้อยกว่า 50 kA ต่อเฟส เป็นอย่างต่ำ ทั้งนี้ในทางปฎิบัติการเลือกขนาดของอุปกรณ์ป้องกันดังกล่าว         ต้องมีการคำนึงถึง
             ความสำคัญของอุปกรณ์ที่ต้องการจะป้องกัน  อาจเพิ่มขนาดของอุปกรณ์ป้องกัน (kA) ให้มีค่าสูงขึ้น   เพื่อระดับการป้องกันที่ดีขึ้น
             และทำการเปรียบเทียบราคาที่ระดับ (kA) ต่างๆ           โดยพิจารณาทางด้านการลงทุนด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันแรงดัน
             ไฟจากภายนอกอาคารและทางสายสัญญาณ  จำเป็นต้องทราบรายละเอียดข้อกำหนด ( Spec )  ของอุปกรณ์ป้องกันแรงดันเกิน
             แต่ละตัว  เพื่อความสามารถในการทำงานของตัวอุปกรณ์ป้องกันและความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่ถูกป้องกันตามที่ออกแบบ
             ไว้   โดยมีข้อพิจารณาดังนี้คือ

             - Norminal Voltage
               คือ ค่าแรงดันของระบบ เช่น 120 V, 230 VAC เป็นต้น
            - Rate Voltage
              คือ ค่าแรงดันสูงสุดต่อเนื่องก่อนที่ตัวอุปกรณ์ป้องกัน ฯ จะมีการทำงาน เช่น 250 V, 275 V เป็นต้น
            - Norminal Discharge Current
              คือ ค่ากระแสทดสอบรูปคลื่น 8 / 20 ms ที่ไหลผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกัน ฯ เช่น 2.5 kA, 15 kA เป็นต้น
            - Maximum Norminal Discharge Current
              คือ ค่ากระแสทดสอบรูปคลื่น 8 / 20 ms ที่ไหลผ่านตัวอุปกรณ์ป้องกัน ฯ ที่ตัวมันเองไม่ได้รับความเสียหาย เช่น 25 kA,
              40 kA เป็นต้น
            - Lightning Impulse Current
              คือ ค่าความสามารถของตัวอุปกรณ์ป้องกัน ฯ ดิสชาร์จกระแสอิมพัลส์ ทดสอบรูปคลื่น 10 / 350 ms    ที่ตัวมันเองไม่ได้รับ
              ความเสียหายเช่น 60 kA, 75 kA, 100 kA เป็นต้น
            - Protection level up ( Maximum residual voltage )
              คือ ค่าแรงดันที่หลังจากอุปกรณ์ป้องกัน ฯ มีการทำงาน เช่น <2.5 kV, <4 kV เป็นต้น
             - Response Time
              คือ ค่าการตอบสนองการทำงานของอุปกรณ์ป้องกัน ฯ เช่น <25 nS, <100 mS เป็นต้น


                และอุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินทางสายสัญญาณจากภายนอกอาคาร ต้องมีการพิจารณาถึงข้อกำหนด (Spec ) ดังนี้
                     -  แรงดันของระบบ เช่น 5, 12, 24, 48, 60 และ 110 Vdc
                     -  กระแสของสัญญาณ เช่น 10, 100 mA
                    -  ช่วงความถี่ เช่น VHF, UHF, Microwave
                    -  พิกัดการส่งสำหรับสายสัญญาณดิจิตอล เช่น 2 Mbit / sec
                    -  ค่าความต้านทานของสาย เช่น 2.2 W


                การต่อประสาน ( Bonding )

                    มาตรฐาน IEC 1024 - 1 [ 2 ] กล่าวถึง การต่อประสานเพื่อลดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างชิ้นส่วนโลหะและระบบภายใน
               บริเวณที่จะป้องกันจากฟ้าผ่า  ในการประสานนั้น ส่วนที่เป็นโลหะจะประสาน  ( Bond )            เข้ากับแท่งตัวนำต่อประสาน
               ( Bonding Bar ) ส่วนที่เป็นสายตัวนำไฟฟ้าหรือสายสัญญาณสื่อสารต่าง ๆ จะประสานโดยอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จของแต่ละโซน
               ป้องกัน สำหรับแท่งตัวนำต่อประสานเหล่านี้จะต้องเชื่อมต่อกับระบบรากสายดิน ( Earth termination system ) ภายในอาคาร
               และระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคารด้วย
  
                การกำบัง ( Shielding )


                   สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เข้ามาภายในอาคารจากฟ้าผ่าสามารถลดทอนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวลงได้ด้วยการกำบังห้อง
               หรืออาคาร ด้วยวิธีตาข่าย ( Mesh ) เป็นการเชื่อมต่อส่วนเหล็กโครงสร้างเข้าด้วยกันทั้งพื้น  ผนัง  เพดาน   บางครั้งอาจเพิ่ม
               เติมลวดตาข่ายบนหลังคาแล้วต่อเชื่อมเข้ากับระบบการต่อลงดิน ผลการลดทอนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวจะมากหรือน้อย
               ขึ้นอยู่กับขนาดความถี่ของตาข่าย ถ้าตาข่ายมีความถี่มากการลดทอนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะลดเพิ่มขึ้นด้วย

              การจัดเดินสายตัวนำและสายสัญญาณ

                    การจัดการเดินสายที่เหมาะสมสามารถลดผลกระทบจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เข้ามาภายในอาคารได้ ซึ่งการเดินสาย
               ตัวนำไฟฟ้ากับสายสัญญาณสื่อสารของคอมพิวเตอร์ที่ลักษณะเป็น Loop เมื่อมีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เข้ามาทำให้เกิดวงรอบ
              การเหนี่ยวนำขึ้นระหว่างสายตัวนำไฟฟ้าและสายสัญญาณสื่อสาร ผลทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเกินเกิดขึ้นที่สายตัวนำไฟฟ้า
              และสายสัญญาณสื่อสาร การแก้ไข ต้องพยายามจัดการเดินสายต่าง ๆ ภายในอาคารไม่ให้มีลักษณะเป็น Loop  

                การต่อลงดิน


                   การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคาร ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายในอาคาร อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง
               ส่วนที่เป็นโลหะที่อยู่ภายในอาคาร ระบบการลงต่อดิน ควรมีการเชื่อมต่อถึงกัน  เพื่อทำให้ศักย์ไฟฟ้าในระบบเท่ากันตาม
               หลักการ Equipotentail bonding
              
                 สรุป

                    ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงกระแส และแรงดัน เกิดการ
              ชำรุด เสียหายจากแรงดันไฟฟ้าเกินที่เกิดขึ้นจากเสิร์จ     ซึ่งวิธีการป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคารนั้นไม่สามารถที่จะป้องกัน
              การชำรุดของอุปกรณ์ภายในอาคารจากฟ่าผ่าได้ ต้องมีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าภายในอาคารเพิ่มเติม  ซึ่งประกอบด้วย
              อุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกิน ( Surge Protection Device : SPD )    มีการต่อประสานศักย์ไฟฟ้าเท่ากัน        การกำบัง
              (Shielding) และมีการต่อลงดิน (Earthing)  ที่ถูกต้อง จึงจะสามารถป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ชำรุดเนื่องจากแรงดันไฟฟ้าเกินได้
               เอกสารอ้างอิง

               [ 1 ]  IEC 1312 - 1 / 1995 : Protection Against Lightning Electromagnetic Impuls, Part 1 General Principles
               [ 2 ]  IEC 1024 - 1 / 1990 : Protection Against Lightning Electromagnetic Impulse
               [ 3 ]  IEC 664 - 1 / 1992 : Insulation Coordination for Equipment within Low Voltage System, Part 1 Requirements
                        and Test